อุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์
อุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์
ที่ตั้งจังหวัดบามียัน, อัฟกานิสถาน
เมืองใกล้สุดแยคอว์แลงก์, บามียัน
พิกัด34°50′23″N 67°13′51″E / 34.83972°N 67.23083°E / 34.83972; 67.23083พิกัดภูมิศาสตร์: 34°50′23″N 67°13′51″E / 34.83972°N 67.23083°E / 34.83972; 67.23083
พื้นที่61,330 ha
จัดตั้ง2009

อุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์ (เปอร์เซีย: بند امیر‎) เป็นอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ในจังหวัดบามียันทางตอนกลางของอัฟกานิสถาน[1] เป็นทะเลสาบสีน้ำเงินเข้ม 6 แห่ง คั่นด้วยเขื่อนธรรมชาติที่สร้างจากหินทราเวอร์ทีน ทะเลสาบตั้งอยู่ในเทือกเขาฮินดูกูชที่ระดับความสูงประมาณ 3000 เมตร ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระพุทธรูปแห่งบามียัน

ถูกสร้างขึ้นโดยน้ำที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ไหลออกมาจากรอยเลื่อนและรอยแตก ไปสะสมเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ที่ตกตะกอนเป็นกำแพงจากทราเวอร์ทีน ที่กักเก็บน้ำของทะเลสาบเหล่านี้ไว้ แบนเดแอมีร์เป็นหนึ่งในทะเลสาบธรรมชาติไม่กี่แห่งในโลกที่สร้างขึ้นโดยระบบทราเวอร์ทีน แบนเดแอมีร์ถูกเรียกว่าเป็นแกรนด์แคนยอนของอัฟกานิสถานและดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายพันคนต่อปี[2] แม่น้ำเป็นส่วนหนึ่งของระบบของแม่น้ำบัลคฮ์

ประวัติศาสตร์[แก้]

ชื่อแบนเดแอมีร์หมายถึง "เขื่อนของผู้บังคับบัญชา" ซึ่งบางคนเชื่อว่าเป็นการอ้างอิงถึงอาลี เคาะลีฟะฮ์ที่สี่ของชาวมุสลิม พื้นที่นี้ถูกครอบคลุมโดยชาวแฮซอเร ซึ่งคาดว่าเป็นประชากรประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของอัฟกานิสถาน[3]

ในปี 2004 แบนเดแอมีร์ได้รับการเสนอให้เป็นมรดกโลก ความพยายามในการทำให้แบนเดแอมีร์เป็นอุทยานแห่งชาติเริ่มขึ้นในปี 1970 แต่ถูกระงับเนื่องจากสงคราม[4]ในที่สุดในเดือนเมษายน 2009 แบนเดแอมีร์ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของอัฟกานิสถาน[5] ในปี 2013 นักท่องเที่ยวท้องถิ่นประมาณ 6,000 คนมาเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์ทุกปี[2]

ภูมิศาสตร์[แก้]

แบนเดแอมีร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 75 กิโลเมตรจากเมืองเก่าบามียัน ใกล้กับเมืองแยคอว์แลงก์ เมื่อรวมกับหุบเขาบามียัน อาณาเขตนี้เป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวของอัฟกานิสถาน ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายพันคนทุกปี ทะเลสาบแบนเดแอมีร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเป็นหลัก เนื่องจากตอนกลางของฮะซาระฮ์จาตในอัฟกานิสถานมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว โดยมีอุณหภูมิต่ำถึง -20C อุทยานแห่งนี้ มีทะเลสาบถึงหกแห่ง ได้แก่

  • ทะเลสาบแห่งทาส (Band-e Gholaman)
  • ทะเลสาบแห่งทาสของคาลิฟ อาลี (Band-e Qambar)
  • ทะเลสาบใหญ่ (Band-e Haibat)
  • ทะเลสาบชีส (Band-e Panir)
  • ทะเลสาบสะระแหน่ (Band-e Pudina)
  • ทะเลสาบพระขรรค์อาลี (Band-e Zulfiqar)

เขื่อนหินทราเวอร์ทีนสีขาวที่เกิดจากเส้นรอยเลื่อน ซึ่งพบได้ทั่วไปในหุบเขาแบนเดแอมีร์ทำให้เกิดแนวกั้นระหว่างทะเลสาบ แบนเดแฮอีแบตเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดและลึกที่สุดโดยมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 150 เมตร

สภาพปัจจุบัน[แก้]

เขตสงวนนก[แก้]

พื้นที่ 41,000 เฮกตาร์ที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่ของอุทยาน ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตสงวนนก (IBA) โดยเบิร์ดไลฟ์อินเตอร์เนชันนัล เนื่องจากพื้นที่นี้พบนกสโนว์คอกหิมาลัย, นกฮุมส์ลาร์กขาสั้น, นกสโนว์ฟินช์ปีกขาว, นกสโนว์ฟินช์อัฟกัน และนกฟินช์ยูเรเซียปีกแดง[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Afghans get first national park". BBC News. 22 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2012-10-21.
  2. 2.0 2.1 "Afghanistan's 'Grand Canyon' drawing tourists, money". CBS. 25 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-06-16.
  3. "Why Are The Taliban Attacking Hazaras In Afghanistan?". RFE/RL. สืบค้นเมื่อ 18 November 2018.
  4. "Oasis from the ruins: Afghanistan opens first national park". CNN. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.
  5. Leithead, Alastair (2008-07-15). Getting tourists to Afghanistan's 'Grand Canyon'. BBC News. Retrieved on 2008-07-15 from http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/7506146.stm.
  6. "Bande Amir". BirdLife Data Zone. BirdLife International. 2021. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]