อุทยานธรณีแห่งชาติจางเย่

พิกัด: 38°54′55.98″N 100°7′59.52″E / 38.9155500°N 100.1332000°E / 38.9155500; 100.1332000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานธรณีแห่งชาติเมืองจางเย่
ที่ตั้งเขตปกครองตนเองชนชาติยู่กู้ ซู่หนานและเทศมณฑลหลินเจ๋อ
เมืองใกล้สุดเมืองจางเย่
พิกัด38°54′55.98″N 100°7′59.52″E / 38.9155500°N 100.1332000°E / 38.9155500; 100.1332000
พื้นที่322 km2 (124 sq mi)
จัดตั้ง27 ธันวาคม 2548 (อุทยานธรณีระดับจังหวัด)

อุทยานธรณีแห่งชาติเมืองจางเย่ (จีน: 张掖国家地质公园) ตั้งอยู่ระหว่างเขตปกครองตนเองชนชาติยู่กู้ ซู่หนานและเทศมณฑลหลินเจ๋อในเมืองจางเย่ มณฑลกานซู่ ประเทศจีน อุทยานแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 322 ตารางกิโลเมตร (124 ตารางไมล์) พื้นที่นี้จัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัด ในวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 กระทรวงทรัพยากรและที่ดินจัดตั้งเป็น "อุทยานธรณีแห่งชาติเมืองจางเย่" (Zhangye National Geopark) สถานที่แห่งนี้เริ่มเป็นที่รู้จักเนื่องจากมีการก่อตัวของหินที่มีสีสันสวยงาม และได้รับการลงคะแนนจากสื่อมวลชนจีนว่าเป็นสถานที่ที่สวยงามแห่งหนึ่งในประเทศจีน

ที่ตั้ง[แก้]

ชั้นหินภายในอุทยาน

อุทยานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของของเทือกเขาฉีเหลียน (Qilian Mountains) ในระหว่างเขตปกครองตนเองชนชาติยู่กู้ ซู่หนานและเทศมณฑลหลินเจ๋อ เมืองจางเย่ มณฑลกานซู่ โดยพื้นที่หลักของอุทยานแห่งนี้อยู่ในเขตเมือง Kangle และ Baiyin [1]

ภูมิประเทศ[แก้]

ภูมิทัศน์ของอุทยานธรณีแห่งชาติเมืองจางเย่

อุทยานแห่งนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "เขาสายรุ้งตันเสีย" ซึ่งเรียกตามแนวเขาสูงที่มีลวดลายเป็นริ้วสีธรรมชาติสีสดใส ซึ่งสีเหล่านี้มาจากสีของหินทรายและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเมื่อ 24 ล้านปีก่อนประกอบกับการที่โดน ลม และฝนกัดเซาะเป็นเวลานับพันปีจนทำให้มันมีลวดลายเรียงตัวกันเป็นชั้นเหมือนเค้ก[2]

สื่อและการท่องเที่ยว[แก้]

ในปี พ.ศ. 2548 ภาพของอุทยานแห่งนี้ได้รับการโหวตจากสำนักข่าวรายใหญ่กว่า 34 สำนักว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ ๆ สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน

ในปี พ.ศ. 2552 นิตยสาร CNG ของจีนนั้นได้เลือกอุทยานแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 6 สถานที่มีภูมิประเทศสวยที่สุดในประเทศจีน[1]

สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของเมืองจางเย่ และได้มีการสร้างทางเดินเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมลายหินได้อีกด้วย[2] ในปี 2557 ได้มีการลงทุนกว่า 100 ล้านหยวนเพื่อเพิ่มและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยาน[3]

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 GSJW 2013.
  2. 2.0 2.1 Chapple & Rex 2014.
  3. Yong 2014.

บรรณานุกรม[แก้]

  • GSJW (2013-06-17). 张掖丹霞国家地质公园 [Zhangye Danxia National Geological Park] (ภาษาจีน). Gansu Provincial Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.
  • Yong, Cao (2014-08-04). "张掖丹霞国家地质公园冰沟丹霞景区正式揭牌" [Binggou Danxia Scenic Area of Zhangye Danxia National Geological Park inaugurated]. Lanzhou Morning News (ภาษาจีน). Phoenix New Media.
  • Chapple, Amos (18 Sep 2012). "Picture gallery: Colourful rock formations in the Zhangye Danxia Landform Geological Park". The Telegraph. Rex Features. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]