อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474
ศาลากลางเมืองHankou ในช่วงน้ำท่วมปี 1931 | |
วันที่ | กรกฎาคม - พฤศจิกายน 2474 (ขึ้นอยู่กับแม่น้ำแต่ละสาย) |
---|---|
ที่ตั้ง | ภาคกลางและภาคตะวันออกของจีน |
เสียชีวิต | 422,499-4,000,000[1] |
อุทกภัยในประเทศจีน พ.ศ. 2474 เป็นอุทกภัยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายครั้งทางตอนกลางของประเทศจีน โดยเกิดน้ำท่วมตลิ่งแม่น้ำสามสายหลัก ทั้งแม่น้ำหวง (หวงเหอ) แม่น้ำแยงซี (แยงซีเกียง) และแม่น้ำหวย (หวยเหอ) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2474 มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ประมาณการตั้งแต่ 145,000 คน [2] ถึง 4 ล้านคน [3][4][5] ได้รับการบันทึกว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดที่มีการบันทึกไว้ และร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 [6]
ก่อนเกิดน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2474 ได้เกิดภาวะแห้งแล้งยาวนานทางตอนกลางของประเทศจีนตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ถึง 2473 [5] ตอนปลายปี พ.ศ. 2473 เกิดสภาพอากาศแปรปรวน โดยฤดูหนาวในปีนั้นเกิดพายุหิมะอย่างหนัก เมื่อหิมะละลายในฤดูใบไม้ผลิจึงทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงกว่าทุกปี ประกอบกับมีพายุฝนรุนแรงกว่าปกติ ในปีนั้นมีพายุไซโคลนพัดกระหน่ำถึง 7 ลูก จากค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 2 ลูกสถานที่เกิดเมืองกวางตุ้ง[6]
สาเหตุทางอุตุนิยมวิทยาและผลกระทบทางกายภาพ
[แก้]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 ถึง 2473 ประเทศจีนได้รับผลกระทบของภัยแล้งเป็นเวลานาน จนเมื่อฤดูหนาวปี 2473 เกิดพายุหิมะที่รุนแรง โดยมีผลกระทบเป็นหิมะและน้ำแข็งจำนวนมากบนภูเขาในพื้นที่บริเวณนั้น ช่วงต้นปี 2474 ในช่วงที่ฝนตกหนักทำให้หิมะและน้ำแข็งไหลลงมาที่ช่วงกลางของแม่น้ำแยงซี โดยปกติแล้วในภูมิภาคนี้น้ำจะขึ้นสูงในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ทำให้ต้นปี 2474 มีน้ำท่วมหนักอย่างต่อเนื่อง เมื่อเดือนมิถุนายนผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำถูกบังคับให้ต้องละทิ้งบ้าน[7] มิหนำซ้ำช่วงฤดูร้อนยังเกิดพายุไซโคลน ในเดือนกรกฎาคมของปีนั้นแม้เพียงเดือนเดียวเกิดพายุไซโคลนถึงเก้าลูกเข้าปะทะซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยสองลูกต่อปี ในเดือนนี้สถานีอุตุนิยมวิทยาสี่แห่งในบริเวณแม่น้ำแยงซีรายงานว่ามีฝนตกรวมกว่า 600 มม. (24 นิ้ว) ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำแยงซีมีระดับสูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ฤดูใบไม้ร่วงในปีนั้นมีฝนตกหนักและเส้นทางของแม่น้ำบางสายนั้นไม่กลับสู่เส้นทางเดิมจนประทั่งเดือนพฤศจิกายน
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของน้ำท่วมมีพื้นที่ประมาณ 180,000 ตารางกิโลเมตร กินพื้นที่ขนาดเท่ากับประเทศอังกฤษบวกกับครึ่งหนึ่งของประเทศสกอตแลนด์ หรือพื้นที่รัฐนิวยอร์ก, รัฐนิวเจอร์ซีย์และรัฐคอนเนตทิคัตรวมกัน[8] เครื่องวัดระดับน้ำที่บันทึกไว้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่เมือง Hankou ในเมืองอู่ฮั่นแสดงระดับน้ำที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 16 เมตร มีค่าเฉลี่ย 1.7 ม. (5.6 ฟุต) เหนือเซี่ยงไฮ้บันด์ ในภาษาจีน เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักว่า "江淮水灾" ซึ่งแปลอย่างง่ายๆว่า "ภัยพิบัติน้ำท่วมในห้วยแม่น้ำแยงซี" อย่างไรก็ตามชื่อนี้ล้มเหลวในด้านความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น ทางน้ำทั่วประเทศถูกน้ำท่วมโดยเฉพาะที่แม่น้ำฮวงโหและคลองใหญ่. แปดมณฑลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือมณฑลอานฮุย, มณฑลหูเป่ย์, มณฑลหูหนาน, มณฑลเจียงซู, มณฑลเจ้อเจียง, มณฑลเจียงซี, มณฑลเหอหนานและมณฑลชานตง นอกเหนือจากพื้นที่ถูกน้ำท่วมหลัก พื้นที่ที่อยู่ไกลออกไปทางตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ไปทางเหนือถึงแมนจูเรียและทางตะวันตกของมณฑลเสฉวนก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน[9]
ยอดผู้เสียชีวิตและความเสียหาย
[แก้]ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประมาณการผู้ที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมไว้ที่ 25 ล้านคน[10] นักประวัติศาสตร์นับแต่นั้นมาแนะนำว่าจำนวนที่ได้รับผลกระทบจริงอาจจะมากถึง 53 ล้านคน ส่วนการประมาณการผู้เสียชีวิตมีระยะที่กว้าง การศึกษาร่วมสมัยที่จัดทำโดยจอห์น ลอสซิง บัค กล่าวว่ามีประชาชนอย่างน้อย 150,000 รายที่จมน้ำเสียชีวิตในช่วงสองถึงสามเดือนแรกของน้ำท่วม โดยมีอีกหลายแสนคนที่เสียชีวิตจากความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บในปีต่อมา การใช้รายงานสื่อร่วมสมัยของนักประวัติศาสตร์ชาวจีนนำโดย หลี่เหวินไห่ ได้คำนวณจำนวนผู้เสียชีวิตไว้ที่ 422,499 คน แหล่งข้อมูลของฝั่งตะวันตกบางแห่งกล่าวว่าอาจมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 3.7 และ 4 ล้านคนตามการอ้างผลกระทบของความอดอยากและโรคภัยที่ตามมา ชาว Tanka ที่อาศัยอยู่บนเรือ ตามแบบดั้งเดิมในแม่น้ำแยงซีต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากจากผลกระทบของน้ำท่วม[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Courtney 2018, p. 249.
- ↑ "中国水利网". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
- ↑ "NOAA News Online (Story 334b)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-06-16.
- ↑ NOVA Online | Flood! | Dealing with the Deluge
- ↑ 5.0 5.1 Glantz, Mickey. Glantz, Michael H. [2003] (2003). Climate Affairs: A Primer. Island Press. ISBN 1559639199. pg 252.
- ↑ 6.0 6.1 Pietz, David. [2002] (2002). Engineering the State: The Huai River and Reconstruction in Nationalist Chine 1927-1937. Routledge. ISBN 0415933889. pg xvii, pg 61-70
- ↑ Courtney 2018, หน้า 54.
- ↑ National Flood Relief Commission 1933, หน้า 4
- ↑ 李文海; 程歗; 刘仰东; 夏明方 (December 1994). 中国近代十大灾荒. 上海人民出版社. ("The Ten Great Disasters of Modern China" by Li Wenhai et al)
- ↑ National Flood Relief Commission 1933, p. 5, 203.
- ↑ "NOAA'S top global weather, water and climate events of the 20th century" เก็บถาวร 2011-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. NOAA.gov. 13 ธันวาคม 2542