อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค | ||
วันเกิด | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490 | ||
สถานที่เกิด | จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า | ||
สโมสรเยาวชน | |||
พ.ศ. 2506–2510 | ธนาคารกรุงเทพ | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
พ.ศ. 2509 | ธนาคารกรุงเทพ | ||
พ.ศ. 2510 | ธนาคารกรุงเทพ | ||
ทีมชาติ‡ | |||
พ.ศ. 2509–2511 | ไทย | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 |
อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค ชื่อเล่น หน่อย หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ เป๊ปซี่[1] (เกิดวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2490) เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ผู้เข้าแข่งขันในกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 ที่ประเทศเม็กซิโก กับเพื่อนร่วมทีม อาทิ ชัชชัย พหลแพทย์, นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ และเชาว์ อ่อนเอี่ยม[2][3] ซึ่งอุดมศิลป์เป็นชาวไทยเพียงคนเดียวที่สามารถทำประตูได้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกรอบ 16 ทีมสุดท้ายตราบจนปัจจุบัน[1][4]
ประวัติ
[แก้]อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค เป็นชาวจังหวัดลพบุรี และสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. จากโรงเรียนกิตติพาณิชย์ เขาได้รับการทาบทามจาก บุญชู โรจนเสถียร ซึ่งเป็นนายกสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพร่วมทีมนักเตะระดับเยาวชน ซึ่งกลายเป็นกำลังสำคัญของทีมชาติไทยในเวลาต่อมา อุดมศิลป์ติดทีมชาติไทยครั้งแรกในเอเชียนเกมส์ 1966 ในฐานะตัวสำรอง ก่อนที่จะเข้าแข่งขันในกีฬาแหลมทอง 1967 ที่ซึ่งเขาสามารถทำแฮตทริก 3 ประตูในรอบแรก
ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ทีมชาติไทยได้พบกับทีมชาติกัวเตมาลา ในกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 ซึ่งผลการแข่งขันวันนั้นทีมชาติไทยแพ้ทีมชาติกัวเตมาลา 1-4 โดยทีมชาติกัวเตมาลาทำประตูขึ้นนำก่อน 1 ประตูต่อ 0 แล้วเมื่อเวลาการแข่งขันใกล้จะหมดครึ่งแรก อุดมศิลป์ สามารถทำประตูตีเสมอ 1 ต่อ 1 ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยในฐานะการทำประตูในกีฬาโอลิมปิกประตูแรก และยังเป็นประตูเดียวที่ทีมชาติไทยทำได้ในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกจนถึงปัจจุบัน ประตูดังกล่าวยังเป็นการทำประตูครั้งสุดท้ายในฐานะทีมชาติของ อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค ก่อนที่เขาจะตัดสินใจเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา และพำนักที่ประเทศดังกล่าว จวบจนปัจจุบัน[5]
พ.ศ. 2554 อุดมศิลป์ ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในผู้รับรางวัลฮอลล์ออฟเฟม ในงานมอบรางวัลสยามกีฬาอวอร์ดส์ 2011 ในฐานะอดีตนักกีฬาผู้มีผลงานโดดเด่น[6][7][8]
เกียรติประวัติ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ขอบคุณที่ยังไม่ลืมผม อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค ผู้ซัดประตูประวัติศาสตร์ในอลป.
- ↑ "สิงห์สนามศุภ"นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์
- ↑ "ประวัติกีฬาโอลิมปิก คบเพลิงโอลิมปิก เกมสัญลักษณ์โอลิมปิก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ บอลไทยในโอลิมปิก : ข่าวสดออนไลน์
- ↑ อีกเจ็ดปีที่ ริโอ
- ↑ "รางวัล สยามกีฬา อวอร์ด 2011 (Siam Sport Aword 2011) ครั้งที่ 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-25. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
- ↑ โผ 8 ตำนานชิง ฮอลล์ออฟเฟม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ ลุ้นระทึกชิงรางวัล ยอดนักกีฬา - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ เปิดโผ 90 ผู้ทรงคุณค่ารับรางวัล ‘อัศวพาหุ’
- ↑ นักกีฬาเก่า...เราไม่ลืม