อุชา แวนซ์
อุชา แวนซ์ | |
---|---|
![]() ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการในปี 2025 | |
สุภาพสตรีหมายเลขสองสหรัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มกราคม 2025 | |
รองประธานาธิบดี | เจดี แวนซ์ |
ก่อนหน้า | ดั๊ก เอ็มฮัฟฟ์ (ในฐานะสุภาพบุรุษหมายเลขสอง) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อุชา บาลา ชิลูกุริ 6 มกราคม ค.ศ. 1986 เทศมณฑลแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
พรรคการเมือง | ริพับลิกัน (ตั้งแต่ 2022) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | |
คู่สมรส | เจดี แวนซ์ (สมรส 2014) |
บุตร | 3 คน |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยเยล (ศ.บ., น.ด.) วิทยาลัยแคลร์ (ปร.ม.) |
อุชา ชิลูกุริ แวนซ์[a] (ชื่อเกิด อุชา บาลา ชิลูกุริ; เกิด 6 มกราคม 1986)[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] เป็นทนายความชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขสองของสหรัฐ ในฐานะภริยาของรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์[3] เธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียและเป็นชาวฮินดูคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้
แวนซ์เกิดในแซนดีเอโก จากพ่อแม่ที่เป็นผู้อพยพชาวอินเดียเตลูกู และเติบโตในย่านชนชั้นกลางระดับบนชานเมืองดังกล่าว เธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเยล โดยได้รับปริญญาตรีสาขาประวัติศาสตร์ และต่อมาสำเร็จการศึกษานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันเดียวกัน จากนั้นเธอทำงานเป็นเสมียนกฎหมายให้กับผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางหลายคน รวมถึงประธานศาลฎีกา จอห์น รอเบิตส์ ผู้พิพากษา เบรตต์ คาวานอห์ และผู้พิพากษา อมูล ธาปาร์
แวนซ์เป็นทนายความของดิสทริกต์ออฟโคลัมเบีย ในปี 2019 และต่อมาก็ทำงานให้กับบริษัทกฎหมายชั้นนำที่รับผิดชอบการดำเนินคดีทางแพ่งและการอุทธรณ์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับสูง รัฐบาลท้องถิ่น ความบันเทิง และเทคโนโลยี เธอลาออกจากสำนักงานกฎหมายในเดือนกรกฎาคม 2024
ในงานประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรครีพับลิกันประจำปี 2024 แวนซ์ได้กล่าวสุนทรพจน์แนะนำสามีของเธอ เจดี แวนซ์ เธอเดินทางไปกับเขาในงานหาเสียงรองประธานาธิบดีบ่อยครั้ง และปรากฏตัวบนเวทีเป็นครั้งคราว ทั้งคู่มีบุตรสามคน
ชีวิตช่วงแรกและการศึกษา
[แก้]อุชา บาลา ชิลูกุริ[4][b] เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1986[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] ในเขตชานเมืองของแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[7] ในครอบครัวผู้อพยพชาวอินเดียเตลูกู[8] [9] พ่อของเธอเป็นวิศวกรเครื่องกลและเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแซนดีเอโก[10][11] ส่วนแม่ของเธอเป็น นักชีววิทยาระดับโมเลกุล และผู้บริหารระดับสูงที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก[12] พ่อแม่ของเธอมาจากชุมชนชาวเตลูกูใน รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย[13][14][15] ซึ่งอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสตทศวรรษ 1980[13] เธอเติบโตในเขตแรนโชเปญาสกีโตส ซึ่งเป็นย่านชนชั้นกลางระดับบนชานเมืองซานดิเอโก[16][17] ในวัยเด็กเธอได้ศึกษาดนตรีคาร์เนติก กับนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน โรส มูราลิกริสนัน ผู้เป็นศาสตราจารย์พิเศษด้านดนตรีคลาสสิกอินเดียที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแซนดีเอโก[18]
ในปี 2003 แวนซ์สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมเมาท์คาร์เมล ซึ่งเธอได้เล่นฟลุตในวงโยธวาทิต[7][19][11] เธอมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อเชรยา[17] เพื่อนสมัยเด็กบรรยายถึงเธอว่าเป็น "ผู้นำ" และ "หนอนหนังสือ"[20] เธอเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล และสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ในปี 2007 พร้อม ปริญญาตรีในสาขาประวัติศาสตร์ และเป็นสมาชิกของสมาคมไฟเบตาแคปปา[4][21] ระหว่างที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเยล แวนซ์ได้เป็นอาสาสมัครในโรงเรียนประถมศึกษาในท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยลูกเสือหญิง และได้เป็นบรรณาธิการบริหารของเอาเออร์เอดูเคชัน ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับนโยบายการศึกษา [21] หลังจากสำเร็จการศึกษา เธอได้สอนวิชาภาษาอังกฤษและประวัติศาสตร์อเมริกันในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยเยล-จีนที่ มหาวิทยาลัยซุน ยัตเซ็น ในเมืองกว่างโจว ประเทศจีน[21][22] จากนั้นเธอเข้าเรียนที่วิทยาลัยแคลร์ในเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในฐานะนักวิชาการทุนการศึกษาเกตส์ และได้รับปริญญาโทปรัชญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตอนต้นในปี 2010 [23]
ในปี 2013 แวนซ์ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากสำนักวิชากฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล ซึ่งเธอเป็นบรรณาธิการของ วารสารสำนักวิชากฎหมายเยล , บรรณาธิการจัดการของวารสารกฎหมายและเทคโนโลยี อีกทั้งเป็นบรรณาธิการของวารสารกฎหมายและนโยบายปริทัศน์[24][22][25][26] ระหว่างที่เธอเรียนอยู่ที่สำนักวิชานิติศาสตร์ เธอได้เข้าร่วมโครงการคลินิกกฎหมาย, คลินิกเสรีภาพสื่อและการเข้าถึงสารสนเทศ, โครงการช่วยเหลือผู้อพยพชาวอิรัก และเครือข่ายโปรโบโน[27][28] เจดี แวนซ์ เรียกเธอว่าเป็นคน "ฉลาด" และ "มีความสามารถเหนือกว่าผมมาก"[29]
ภูมิหลังครอบครัว
[แก้]พ่อแม่ของแวนซ์เป็นชาวเตลูกูวรรณะพราหมณ์ จากเขตโกดาวารีตะวันตกและเขตกฤษณะของรัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย[13][14][15] ทั้งสองอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสตทศวรรษ 1980[13]
ครอบครัวของเธอมีชื่อเสียงในเรื่องความเป็นนักวิชาการ ป้าทวดของเธอซึ่งอาศัยอยู่ที่วิศาขาปัฏฏนัม ประเทศอินเดีย เป็นนักเขียนและเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเซนจูเรียน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นศาสตราจารย์อายุมากที่สุดซึ่งยังทำงานอยู่ในอินเดีย[30] แวนซ์สืบเชื้อสายมาจากพี่น้องผู้รอบรู้ทั้งสี่คนของวัฒลุรุ ซึ่งในช่วงกลางปี ค.ศ. 1800 พวกเขามีชื่อเรียกว่า "ชิลูกุริจตุตยะ"[31]
การทำงาน
[แก้]แวนซ์ทำหน้าที่เป็นเสมียนกฎหมาย ให้กับผู้พิพากษา เบรตต์ คาวานอห์ ใน ศาลอุทธรณ์สำหรับเขตดิสทริกต์ออฟโคลัมเบีย ตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2015 และประธานศาลสูงสุดสหรัฐ จอห์น รอเบิตส์ ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2018[32][33][34] ระหว่างที่เป็นเสมียนศาลสูงสุด เธอได้รับมอบหมายให้ทำงานในคดีเกี่ยวกับผู้อพยพไร้เอกสารที่เป็นเยาวชนซึ่งถูกควบคุมตัวโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรของสหรัฐ ซึ่งต้องการจะทำแท้ง[35]
แวนซ์ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับสำนักงานกฎหมายในซานฟรานซิสโก และวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นเวลาเกือบหกปี โดยรับผิดชอบการดำเนินคดีแพ่งและการอุทธรณ์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับสูง รัฐบาลท้องถิ่น ความบันเทิง และเทคโนโลยี จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม 2024 เมื่อเธอลาออก "เพื่อมุ่งเน้นไปที่การดูแลครอบครัวของเรา"[36][37][38] ลูกค้าของเธอ เช่น พาราเมาต์พิกเจอส์ และแผนกหนึ่งของเดอะวอลต์ดิสนีย์[39][40][41] ต่อมาเธอได้เป็นทนายความของดิสทริกต์ออฟโคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนีย, และโอไฮโอ[42][37]
แวนซ์เคยดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าทุนการศึกษาเกตส์ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการของวงดุริยงค์ซินซินแนติ[43]
การช่วยเจดี แวนซ์ หาเสียงในการเลือกตั้งรองประธานาธิบดีสหรัฐ
[แก้]ในการประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรครีพับลิกัน เมื่อเดือนกรกฎาคม 2024 อุชา แวนซ์ ได้กล่าวสุนทรพจน์แนะนำสามีของเธอ เจดี แวนซ์[44][45] ตั้งแต่นั้นมา เธอได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับสามี และมักจะเดินทางไปกับเขาในงานรณรงค์หาเสียง นอกจากนี้ยังปรากฏตัวบนเวทีกับเขาในการหาเสียงบางเวทีอีกด้วย[46] ตามแหล่งข้อมูลบางแห่ง เธอช่วยสามีเตรียมพร้อมสำหรับการโต้อภิปรายรองประธานาธิบดีในปี 2024[46] สามีของเธอได้รับการประกาศให้เป็นผู้ชนะการโต้อภิปรายโดยนักเขียนคอลัมน์หลายคน รวมถึงจาก เดอะนิวยอร์กไทมส์,[47] เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล,[48] และลอสแอนเจลิสไทมส์[49] เธอยังได้รับเครดิตบางส่วนจากการโต้อภิปรายของสามีเธอด้วย[50]
สุภาพสตรีหมายเลขสองสหรัฐ
[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2024 เมื่อเจดี แวนซ์ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐ เธอก็รับบทบาทเป็น สุภาพสตรีหมายเลขสองสหรัฐ[51] ในเดือนมกราคมปีถัดมาเธอได้กลายเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียคนแรก, ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรก, ชาวเตลูกูคนแรก และชาวฮินดูคนแรกที่เป็นคู่สมรสรองประธานาธิบดีสหรัฐ[52][53][54][55][56]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในขณะที่เรียนอยู่ที่สำนักวิชานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเยล ชิลูกุริได้พบกับเจดี แวนซ์ สามีในอนาคตของเธอ โดยความสัมพันธ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากศาตราจารย์ เอมี ชัว[57] ชัวได้เรียกความสัมพันธ์ของพวกเขาว่า "ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย บุคลิกภาพแทบตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง"[58] ในปี 2013 ชิลูกุริและแวนซ์ร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มสนทนาที่มหาวิทยาลัยเยลซึ่งมุ่งเน้นในหัวข้อ "การเสื่อมถอยทางสังคมในอเมริกาผิวขาว"[59] แวนซ์มักเรียกชิลูกุริว่าเป็น "ผู้นำทางจิตวิญญาณของเยล"[58][59]
ทั้งสองสมรสกันในปี 2014 ในรัฐเคนทักกี ในพิธีแต่งงานซึ่งมีพิธีกรรมของทั้งสองศาสนาที่แต่ละคนนับถือ[60][20] โดยเพื่อนสามีของเธออ่านพระคัมภีร์[61] และนักบวชฮินดูให้พรแก่ทั้งคู่[59] เธอเป็นชาวฮินดูที่ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ และสามีของเธอเป็นคริสเตียน[60][62] ซึ่งเติบโตมาในนิกายอีแวนเจลิคัล แต่เปลี่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกในปี 2019[63]
ทั้งสองมีบุตรสามคนและอาศัยอยู่ใน เมืองซินซินแนติ[64][65]
ชิลูกุริเป็นมังสวิรัติ เธอกล่าวที่การประชุมใหญ่แห่งชาติของพรรครีพับลิกันในปี 2024 ว่าสามีของเธอ "ปรับตัวเข้ากับอาหารมังสวิรัติและเรียนรู้การทำอาหารจากแม่ของฉัน นั่นก็คืออาหารอินเดีย"[66][67]
งานการกุศล
[แก้]เธอเป็นกรรมการของคณะอุปรากรวอชิงตัน ก่อนหน้านี้เธอเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าทุนการศึกษาเกตส์ และเป็นเลขานุการคณะกรรมการวงดุริยางค์ซินซินแนติ[68]
การเมือง
[แก้]ตามข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ในปี 2014 ชิลูกุริลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครต และลงทะเบียนเพื่อลงคะแนนอย่างอิสระในปี 2017 แต่ในปี 2022 เธอลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรครีพับลิกัน ซึ่งสามีของเธอเป็นผู้สมัคร[20][58] แม้เธอจะเป็นเสมียนให้กับผู้พิพากษาฝ่ายอนุรักษ์นิยม เช่น รอเบิตส์ และคาวานอห์ แต่เธอก็ยังฝึกงานที่บริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งในแคลิฟอร์เนียซึ่งมีวัฒนธรรมการทำงานแบบก้าวหน้าด้วย[69] ตามรายงานของเดอะนิวยอร์กไทมส์ ดูเหมือนว่าทัศนคติทางการเมืองของเธอจะเปลี่ยนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในปี 2021 เธอได้มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองในการรณรงค์หาเสียงของวุฒิสภาสหรัฐฯ ให้กับเบลก มาสเตอส์ นักอนุรักษ์นิยมระดับชาติ[59]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Usha Vance's Ohio Voter Registration". สืบค้นเมื่อ 20 January 2025.
- ↑ 2.0 2.1 "The birth of Usha Bala Chilukuri". California Birth Index. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2024. สืบค้นเมื่อ November 17, 2024.
- ↑ "Who is Usha Vance, the next second lady of the United States?". November 7, 2024.
- ↑ 4.0 4.1 "Yale Phi Beta Kappa". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2024. สืบค้นเมื่อ September 5, 2024.
Class of 2007 – Second Election of the Class of 2007: Usha Bala Chilukuri
- ↑ Telugu Personal Names (ภาษาอังกฤษ). Central Intelligence Agency. 1964. p. 5.
- ↑ "Usha Chilukuri, Potential Second Lady of U.S., has a close Vizag connection". The Hindu. Chennai. 2024-07-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
- ↑ 7.0 7.1 Sheerin, Jude (July 17, 2024). "Who is Usha Vance, lawyer and wife of Trump's VP pick?". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 29, 2024.
Mrs Vance, 38,... née Chilukuri, the child of Indian immigrants - was born and raised in the suburbs of San Diego, California.
- ↑ Rishika Sadam; Krishna N. Das (July 18, 2024). "Indian family of Usha Vance, wife of Trump's VP pick, known for academic prowess". Reuters. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
Most of our family is academically strong and education has been a top priority
- ↑ "Who is Usha Vance, JD Vance's wife who influenced who he is today?" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). CBS. July 16, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
The daughter of Indian immigrants to the U.S. who were also professors, she was born in San Diego
- ↑ Gopal, B. Madhu (July 18, 2024). "Usha Chilukuri, Potential Second Lady of U.S., has a close Vizag connection". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2024. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ↑ 11.0 11.1 "Usha Vance, wife of vice presidential nominee JD Vance, has roots in San Diego". San Diego Union Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). July 21, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2024. สืบค้นเมื่อ July 29, 2024.
Usha Chilukuri Vance graduated Mt. Carmel High School in 2004. Her parents hold prominent positions in San Diego’s academic world.
- ↑ "Lakshmi Chilukuri". Society for College and University Planning. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Akula, Amaraiah (July 20, 2024). "Usha Vance: Telugu population in US enthused about Second Lady in waiting". The Federal (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2024. สืบค้นเมื่อ July 20, 2024.
Her parents, Telugu Brahmins from Saipuram near Pamarru in Krishna district, Andhra Pradesh, migrated from India in the 1980s
- ↑ 14.0 14.1 అమెరికా ఉపాధ్యక్ష అభ్యర్థి వాన్స్ సతీమణి ఉష చిలుకూరి - ఈమె ఫ్యామిలీ గురించి తెలుసా?. ETV Bharat (ภาษาเตลูกู). July 18, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2024. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ↑ 15.0 15.1 "ట్రంప్ గెలిస్తే తెలుగమ్మాయే మిసెస్ వైస్ ప్రెసిడెంట్". Eenadu (ภาษาเตลูกู). July 17, 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2024.
- ↑ Bhatia, Shireen. "Ohio Senator JD Vance reveals Hindu wife's support for his Christian faith". Christian Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ 17.0 17.1 "Indian Americans Become a Political Force, Just as Usha Vance's Profile Rises". New York Times. July 20, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2024. สืบค้นเมื่อ July 20, 2024.
- ↑ RATHORE, REENA (2024-10-18). "Carnatic Music Teacher Recalls Usha Vance As A Student". IndiaWest Journal News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-01-20.
- ↑ Smith, David (July 17, 2024). "Who is Usha Vance, the Indian American lawyer married to JD Vance?". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2024. สืบค้นเมื่อ July 17, 2024.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Bernstein, Joseph (July 15, 2024). "Who Is Usha Vance, the Wife of J.D. Vance?". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 "Ten Yale-China Teaching Fellows to begin appointments this summer". May 25, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2024. สืบค้นเมื่อ September 29, 2024.
- ↑ 22.0 22.1 Sarnoff, Leah; Faulders, Katherine. "Who is Usha Vance? JD Vance's wife leaves law firm after Trump VP announcement". abcnews.go.com. ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ "Gates Cambridge Scholars 2009" (PDF). Gates Cambridge. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ "Volume 122 Masthead". The Yale Law Journal. October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ "Meet Usha Chilukuri Vance: Trump VP pick's Indian-origin wife, litigator, Yale graduate". m.economictimes.com. The Economic Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ "Yale Law & Policy Review Volume 29.2 Masthead" (PDF).
- ↑ Gibson, Kelsie. "Who Is J.D. Vance's Wife? All About Usha Chilukuri Vance". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2024. สืบค้นเมื่อ August 3, 2024.
- ↑ Bruner, Bethany (July 15, 2024). "Who is JD Vance's wife? Here's what we know about Usha Chilukuri Vance". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2024. สืบค้นเมื่อ September 5, 2024.
- ↑ McCloud, Cheryl. "Who is Usha Vance? Meet the soon-to-be second lady of the US". The Palm Beach Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-01-20.
- ↑ Sadam, Rishika (2024-07-18). "Indian family of Usha Vance, wife of Trump's VP pick, known for academic prowess". Reuters.
- ↑ "Usha Vance traces her roots to the Chilukuris, a family of educators who shaped India's academia". The Week (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-01-19.
- ↑ Jamison, Peter; Reinhard, Beth; Natanson, Hannah; Markus, Nicole (2024-07-27). "Usha Vance told friends Trump appalled her. Now she's working to elect him". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 Jul 2024.
- ↑ Mehrotra, Kriti (November 24, 2020). "Where Are J.D Vance's Wife and Children Now?". The Cinemaholic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ Sarnoff, Leah; Faulders, Katherine (July 15, 2024). "Who is Usha Vance? JD Vance's wife leaves law firm after Trump VP announcement". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ Carmon, Irin (October 24, 2024). "What Is Usha Vance Thinking? The veep candidate's wife is the child of immigrants, a former Democrat, a highly skilled lawyer — and a total mystery". The Cut. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2024. สืบค้นเมื่อ November 13, 2024.
One of the cases she was assigned to involved whether the Trump administration could force a minor in immigration detention to stay pregnant against her will, a case Kavanaugh had ruled on in the lower court, when it was truly consequential. He’d sought to prevent her abortion by running out the clock. By the time the case got to the Supreme Court, the minor had managed to get an abortion, and the justices put forth an unsigned opinion with no dissents, declining to sanction the minor’s attorney.
- ↑ Portée, Alex (November 6, 2024). "Who is Usha Vance? Everything we know about JD Vance's wife and the future second lady of the U.S." เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2024. สืบค้นเมื่อ November 6, 2024.
- ↑ 37.0 37.1 "Usha C. Vance". Munger, Tolles & Olson. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 26, 2024. สืบค้นเมื่อ November 13, 2024.
- ↑ Rockson, Gabrielle. "J.D. Vance's Wife Usha Resigns from Powerful Law Job After His VP Nomination, to 'Focus on Caring for Our Family'". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2024. สืบค้นเมื่อ September 25, 2024.
- ↑ Vanderhoof, Erin (November 1, 2024). "What JD and Usha Vance Learned From Their "Tiger Mom" at Yale Law School". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2024. สืบค้นเมื่อ November 1, 2024.
- ↑ Smith, David (July 17, 2024). "Who is Usha Vance, the Indian American lawyer married to JD Vance?". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2024. สืบค้นเมื่อ July 17, 2024.
- ↑ Monnay, Tatyana (July 15, 2024). "JD Vance's Lawyer Wife Will Leave Her Role at Prominent Firm". Bloomberg Law. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 28, 2024.
- ↑ Eaty, Neelima (July 16, 2024). "Usha Chilukuri Vance: Biography of JD Vance's Wife". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2024. สืบค้นเมื่อ September 25, 2024.
- ↑ Sen, Sumanti (May 5, 2022). "Who is Usha Chilukuri? Ohio's GOP Senate primary winner JD Vance's wife once clerked for Brett Kavanaugh". MEA WorldWide. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ Coster, Helen. "Usha Vance, wife of Trump's VP pick, takes stage at Republican convention". Reuters. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ↑ BeMiller, Haley; Pfannenstiel, Brianne. "Usha Vance steps into the Republican spotlight to wide praise - and a few racist sneers". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 18, 2024. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ↑ 46.0 46.1 "Vance and Walz lean on their wives in different ways on the trail — and ahead of the VP debate". NBC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 30, 2024. สืบค้นเมื่อ October 12, 2024.
Usha Vance has acted more as a behind-the-scenes adviser
- ↑ Douthat, Ross (October 2, 2024). "Vance's Dominant Debate Performance Shows Why He's Trump's Running Mate". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2024. สืบค้นเมื่อ October 2, 2024.
- ↑ Opinion Staff, WSJ (October 2, 2024). "Who Won the Vice-Presidential Debate, Tim Walz or JD Vance?". The Wall Street Journal.
- ↑ Jennings, Scott (October 2, 2024). "Opinion: JD Vance won the debate with Tim Walz, hands down". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 2, 2024. สืบค้นเมื่อ October 2, 2024.
- ↑ "Everyone go thank Usha" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). NBC News. September 30, 2024. สืบค้นเมื่อ October 12, 2024.
Usha Vance has acted more as a behind-the-scenes adviser
- ↑ "Who is Usha Vance? The Indian-origin woman behind the US vice president-elect". English.Mathrubhumi (ภาษาอังกฤษ). 2024-11-06. สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
- ↑ Deliso, Meredith (November 6, 2024). "JD Vance's wife, Usha Vance, set to become history-making second lady". ABC News. สืบค้นเมื่อ November 6, 2024.
- ↑ "Who Is Usha Chilukuri Vance, Set to Become First Indian-Origin Second Lady Of US?". News18 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-07.
- ↑ Today, Telangana (2024-11-06). "Usha Chilukuri Vance to become first Telugu-origin US Second Lady". Telangana Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-07.
- ↑ "Who is Usha Chilukuri Vance, first Hindu second lady of US". WION (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-06. สืบค้นเมื่อ 2024-11-07.
- ↑ John, Arit; Shelton, Shania (2024-07-16). "Who is Usha Vance, the wife of Trump's running mate?". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-09. สืบค้นเมื่อ 2025-01-21.
- ↑ Lazarus, Lily Mae. "The Second Ladies (and Gentleman) of the RNC". The Daily Beast. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ 58.0 58.1 58.2 "Who is Usha Vance? JD Vance's wife is a lawyer and daughter of immigrants" (ภาษาอังกฤษ). NBC News. July 16, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ 59.0 59.1 59.2 59.3 Bernstein, Joseph; Rosman, Katherine (November 1, 2022). "From Yale to Newsmax, Usha Vance Has Helped J.D. Vance Chart His Path". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ 60.0 60.1 Bhatia, Shireen (July 16, 2024). "Ohio Senator JD Vance reveals Hindu wife's support for his Christian faith". Christian Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ Tasker, John Paul. "This Conservative MP is 'best friends' with Trump running mate J.D. Vance". CBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 17, 2024.
- ↑ "JD Vance and his wife discuss the potential of being picked for Trump's VP". Fox News. June 26, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ "What has JD Vance said about his faith?". Deseret News (ภาษาอังกฤษ). July 16, 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
- ↑ "Meet JD Vance's Indian American Wife Usha Chilukuri". India West. May 4, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ "J.D. Vance's 3 Kids: All About Ewan, Vivek and Mirabel". Peoplemag. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2024. สืบค้นเมื่อ July 15, 2024.
- ↑ "JD Vance and the politics of vegetarianism in a red-meat Republican Party". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-08-13. สืบค้นเมื่อ 2025-01-20.
- ↑ Kamila, Avery Yale (2024-09-15). "Spotlight from this election season shines on vegetarian issues". Press Herald. สืบค้นเมื่อ 2025-01-20.
- ↑ "Second Lady Usha Vance". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-01-20.
- ↑ Saric, Ivana (July 16, 2024). "Who is Usha Vance, wife of Trump VP pick J.D. Vance". Axios. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2024. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Usha Vance
ก่อนหน้า | อุชา แวนซ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ดั๊ก เอ็มฮัฟฟ์ | ![]() |
สุภาพสตรีหมายเลขสองแห่งสหรัฐอเมริกา (20 มกราคม ค.ศ. 2025 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |