อือซึก-เกิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อือซึก-เกิล
ชายหาดทางตอนใต้ของอือซึก-เกิลใน ค.ศ. 2005
ที่ตั้งของอือซึก-เกิลในประเทศคีร์กีซสถาน
ที่ตั้งของอือซึก-เกิลในประเทศคีร์กีซสถาน
อือซึก-เกิล
ที่ตั้งของอือซึก-เกิลในประเทศคีร์กีซสถาน
ที่ตั้งของอือซึก-เกิลในประเทศคีร์กีซสถาน
อือซึก-เกิล
อือซึก-เกิลมองจากอวกาศ กันยายน ค.ศ. 1992
พิกัด42°25′N 77°15′E / 42.417°N 77.250°E / 42.417; 77.250พิกัดภูมิศาสตร์: 42°25′N 77°15′E / 42.417°N 77.250°E / 42.417; 77.250
ชนิดของทะเลสาบทะเลสาบโบราณ, ทะเลปิด
ทะเลสาบภูเขา
Monomictic
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักธารน้ำแข็ง
แหล่งน้ำไหลออกการระเหย
พื้นที่รับน้ำ15,844 ตารางกิโลเมตร (6,117 ตารางไมล์)
ประเทศในลุ่มน้ำคีร์กีซสถาน
ช่วงยาวที่สุด178 กิโลเมตร (111 ไมล์)[1]
ช่วงกว้างที่สุด60.1 กิโลเมตร (37.3 ไมล์)[1]
พื้นที่พื้นน้ำ6,236 ตารางกิโลเมตร (2,408 ตารางไมล์)[1]
ความลึกโดยเฉลี่ย278.4 เมตร (913 ฟุต)[1]
ความลึกสูงสุด668 เมตร (2,192 ฟุต)[1][2]
ปริมาณน้ำ1,738 ลูกบาศก์กิโลเมตร (417 ลูกบาศก์ไมล์)[3][2]
เวลาพักน้ำประมาณ 330 ปี[2]
ความเค็ม6g/L[1][2]
ความยาวชายฝั่ง1669 กิโลเมตร (416 ไมล์)[1]
ความสูงของพื้นที่1,607 เมตร (5,272 ฟุต)[1]
เมืองCholpon-Ata, คาราคอล
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนThe Issyk-kul State Nature Reserve with the Issyk-kul Lake
ขึ้นเมื่อ12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002
เลขอ้างอิง1231[4]
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

อือซึก-เกิล (คีร์กีซ: Ысык-Көл, อักษรโรมัน: Ysyk-Köl, แปลตรงตัว'ทะเลสาบอุ่น', /ɯsɯqkœl/; รัสเซีย: Иссык-Куль, Issyk-Kulj) เป็นทะเลสาบในเทือกเขาเทียนชาน ทางภาคตะวันออกของคีร์กีซสถาน ทะเลสาบนี้เป็นทะเลสาบที่ลึกเป็นอันดับที่ 7 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลกตามปริมาตร และทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองหลังจากทะเลแคสเปียน อือซึก-เกิลแปลว่า "ทะเลสาบอุ่น" ในภาษาคีร์กีซ แม้ว่าจะล้อมรอบด้วยยอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะ แต่ก็ไม่เคยแข็ง[5]

ภูมิศาสตร์[แก้]

อือซึก-เกิลยาวประมาณ 182 กิโลเมตร (113 ไมล์) และกว้างที่สุดประมาณ 60 กิโลเมตร (37 ไมล์) และมีพื้นที่ประมาณ 6,236 ตารางกิโลเมตร (2,408 ตารางไมล์) เป็นทะเลสาบกลางเทือกเขาที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากทะเลสาบติติกากาในทวีปอเมริกาใต้ อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,607 เมตร (5,272 ฟุต) และจุดที่ลึกที่สุดลึกประมาณ 668 เมตร (2,192 ฟุต)[6]

มีประมาณแม่น้ำและลำธารรวม 118 สายไหลลงทะเลสาบ แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดคือ Djyrgalan และ Tyup ทะเลสาบไม่มีทางน้ำไหลออก แต่นักอุทกวิทยาหลายคนตั้งสมมุติฐานว่ามีน้ำจากทะเลสาบซึมลงใต้ดินสู่แม่น้ำชู[7] มีแร่มอโนไฮโดรแคลไซต์ที่ก้นทะเลสาบ[8]

ความเค็มของทะเลสาบนี้ประมาณร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับความเค็มร้อยละ 3.5 ของน้ำทะเลทั่วไป ถึงแม้ว่าระดับน้ำในทะเลสาบสูงกว่าในยุคกลางประมาณ 8 เมตร แต่ในปัจจุบันระดับน้ำลดลงประมาณ 5 เซนติเมตรต่อปีเนื่องจากการผันน้ำ

ทะเลสาบและพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ในจังหวัดอือซึก-เกิลของคีร์กีซสถาน[9]

ประวัติ[แก้]

ระดับน้ำในทะเลสาบมีความสูงกว่าในยุคกลาง 8 เมตร (26 ฟุต) นักดำน้ำได้พบซากการตั้งถิ่นฐานที่จมอยู่ใต้น้ำในพื้นที่ตื้น ๆ รอบ ๆ ทะเลสาบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รายงานจากทีมนักประวัติศาสตร์คีร์กีซที่นำโดย Vladimir Ploskikh รองประธานสถาบันวิทยาศาสตร์คีร์กีซสถาน นักโบราณคดีของทีมได้ค้นพบซากปรักหักพังของอารยธรรมชั้นสูงเมื่อ 2,500 ปีก่อนที่ด้านล่างของทะเลสาบ ข้อมูลและสิ่งที่พบได้ชี้ให้เห็นว่าเมืองโบราณถือว่าเป็นมหานครในยุคนั้น การค้นพบประกอบด้วยกำแพงที่บางแห่งทอดยาวถึง 500 เมตร (1,600 ฟุต) และร่องรอยของเมืองขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร และยังมีการค้นพบอื่น ๆ เช่น มูนดินที่ฝังศพชาวไซเธียนที่ถูกกัดกร่อนตลอดหลายศตวรรษด้วยคลื่น และศิลปวัตถุที่ได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Savvaitova, K.; Petr, T. (December 1992), "Lake Issyk-Kul, Kirgizia", International Journal of Salt Lake Research, 1 (2): 21–46, doi:10.1007/BF02904361
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Hofer, Markus; Peeters, Frank; Aeschbach-Hertig, Werner; Brennwald, Matthias; Holocher, Johannes; Livingstone, David M.; Romanovski, Vladimir; Kipfer, Rolf (11 July 2002), "Rapid deep-water renewal in Lake Issyk-Kul (Kyrgyzstan) indicated by transient tracers", Limnology and Oceanography, 4 (47): 1210–1216, doi:10.4319/lo.2002.47.4.1210
  3. Kodayev, G.V. (1973), "Морфометрия озера Иссык-Куль" [Morphometry of Lake Issyk-Kul], News of the All-Union Geographic Society (Izvestiya VGO) (ภาษารัสเซีย)
  4. "The Issyk-kul State Nature Reserve with the Issyk-kul Lake". Ramsar Sites Information Service. สืบค้นเมื่อ 25 April 2018.
  5. Nihoul, Jacques C.J.; Zavialov, Peter O.; Micklin, Philip P. (2012). Dying and Dead Seas Climatic Versus Anthropic Causes. Springer Science+Business Media. p. 21. ISBN 9789400709676. สืบค้นเมื่อ 4 December 2015.
  6. International Lake Environment Committee Foundation เก็บถาวร 2005-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. V. V.Romanovsky, "Water level variations and water balance of Lake Issyk-Kul", in Jean Klerkx, Beishen Imanackunov (2002), p.52
  8. Sapozhnikov, D. G.; A. I. Tsvetkov (1959). "[Precipitation of hydrous calcium carbonate on the bottom of Lake Issyk-Kul]". Doklady Akademii Nauk SSSR. 24: 131–133.
  9. Lake Profile: Issyk-Kul (Isyk-Kul)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]