อี-เฮ็นไต
ประเภท | ฝากภาพ, แบ่งปันไฟล์ |
---|---|
ภาษาที่ใช้ได้ | อังกฤษ |
เจ้าของ | Tenboro |
ยูอาร์แอล | e-hentai |
เปิดตัว | กรกฎาคม 1, 1999 |
สถานะปัจจุบัน | ดำเนินการอยู่ |
อี-เฮ็นไต (อังกฤษ: E-Hentai) เป็นเว็บไซต์ให้บริการเก็บรักษาภาพและแบ่งปันไฟล์ที่เกี่ยวกับเฮ็นไต เว็บไซต์จะเก็บรักษาแกลเลอรีภาพของผู้ใช้ที่โดยส่วนมากแล้วเป็นเนื้อหาลามกจากอนิเมะ, มังงะและวิดีโอเกม เช่น แฟนอาร์ต มังงะและโดจินชิที่เป็นงานแปลละเมิดลิขสิทธิ์และภาพคอสเพลย์ เว็บพี่น้องอย่าง เอ็กซ์เฮ็นไต (Exhentai, เป็นที่รู้จักในชื่อแพนด้าเศร้า) ถูกแยกออกไปจากอี-เฮ็นไตใน ค.ศ. 2010 เพื่อเก็บงานศิลป์ที่อาจผิดกฎหมายในบางประเทศ เช่น โลลิคอน โชตะคอนและกระสันสัตว์
ประวัติ
[แก้]อี-เฮ็นไตเริ่มต้นขึ้นใน Yahoo! Group เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 ต่อมากลุ่มได้ย้ายสู่โดเมน .net ใน ค.ศ. 2001 ก่อนที่จะย้ายมาอยู่โดเมนในปัจจุบัน .org ใน ค.ศ. 2005 หลังจากความเป็นเจ้าของโดเมน .net หมดอายุและถูกซื้อโดยบุคคลอื่น[1] ในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2010 อี-เฮ็นไตได้ประกาศว่าจะไม่เก็บรักษางานศิลป์ของตัวละครเด็ก (โลลิคอนและโชตะคอน) และงานศิลป์แสดงอาการกระสันสัตว์ แกลเลอรีที่มีเนื้อหาลักษณะนี้ถูกลบออกจากเว็บไซต์ ซึ่งมีประมาณ 30,000 แกลเลอรี จาก 150,000 แกลเลอรี ที่มีอยู่ทั้งหมด เนื้อหาส่วนนี้ต่อมาถูกแยกออกไปลงในเอ็กซ์เฮ็นไต ซึ่งเป็นเว็บพี่น้องของอี-เฮ็นไต[2] การเข้าถึงเอ็กซ์เฮ็นไตจำเป็นต้องมีบัญชีผู้ใช้ของอี-เฮ็นไต หากไม่มีบัญชีดังกล่าว หน้าเพจของเอ็กซ์เฮ็นไตจะปรากฎเป็นหน้าว่างที่มีภาพแพนด้ายักษ์ร้องไห้ ดังนั้นจึงได้ชื่อเล่นจากผู้ใช้ว่า "แพนด้าเศร้า" (Sad Panda)[3] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 เว็บไซต์ทั้งสองแห่งถูกถอดออกจากกูเกิล เนื่องจากบริษัทมีนโยบายถอดชื่อเว็บไซต์ที่ละเมิดรัฐบัญญัติลิขสิทธิ์แห่งสหัสวรรษดิจิทัล[4]
ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2019 อี-เฮ็นไตและเอ็กซ์เฮ็นไตประกาศว่าเว็บไซต์ทั้งสองแห่งจะปิดตัวลงจากการที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่โฮสต์เว็บไซต์ เปลี่ยนแปลงข้อกฎหมาย[2] นิตยสารไวซ์คาดว่าการปิดตัวในครั้งนี้เป็นผลมาจากคำสั่งของสหภาพยุโรปว่าด้วยลิขสิทธิ์ในตลาดเดียวดิจิทัล ซึ่งกำหนดให้แพลตฟอร์มดิจิทัลต้องรับผิดชอบตามกฎหมายสำหรับเนื้อหาที่ลงโดยผู้ใช้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมไปถึงข้อเสนอเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของเนเธอร์แลนด์ Ferdinand Grapperhaus ที่จะกำหนดโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับเว็บไซต์ที่ไม่นำเนื้อหาลามกเด็กออกอย่างรวดเร็ว[5] ประกาศแจ้งปิดเอ็กซ์เฮ็นไตภายใน 24 ชั่วโมง ทำให้ผู้ใช้ชั้นนำใน 4chan พยายามที่จะเก็บรักษา (อาร์ไคฟ์) ไซต์ทั้งหมดก่อนที่จะปิดตัวลงในวันที่ 27 กรกฎาคม[2][5] ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2019 เอ็กซ์เฮ็นไตกลับมาเปิดตัวอีกครั้งหลังจากที่ย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยูี่ที่มอลโดวา[6]
ผลกระทบ
[แก้]อี-เฮ็นไตและเอ็กซ์เฮ็นไตรวมกันแล้วถือได้ว่าเป็นดาตาเบสขนาดใหญ่ที่สุดของมังงะเฮ็นไตและมีแกลเลอรีมากกว่า 100,000 แกลเลอรี[7] เว็บไซต์เก็บรักษาทั้งมังงะเฮ็นไตต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นและงานแปลละเมิดลิขสิทธิ์ในหลายภาษา เช่น จีน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, เกาหลี, โปรตุเกส, รัสเซีย, สเปนและไทย[8] ในช่วงโด่งดังสูงสุดเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลสถิติของแหล่งข้อมูลอื่นและจัดอันดับเว็บไซต์คนนิยมอย่างอเล็กซาจัดให้อี-เฮ็นไตเป็บเว็บไซต์ยอดนิยมอันดับที่ 264 บนอินเทอร์เน็ต[3] เอาท์เลทส์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าอี-เฮ็นไตทำหน้าที่ในทางปฏิบัติ (de facto) เป็นอาร์ไคฟ์ของงานศิลป์ที่หายากและหาไม่ได้แล้วในแพลต์ฟอร์มดิจิทัลหรือกายภาพอื่น ไซต์ยังเก็บรักษาเนื้อหาอย่างผลงานพิเศษในคอมิเก็ต (โดจิน) และอาร์ตบุกที่ไม่มีการตีพิมพ์อีกทั้งที่เป็นสื่อลามกและไม่ใช่สื่อลามก โดยนิตยสารไวซ์ได้เรียกขานเว็บไซน์นี้ว่าเป็นห้องสมุดแห่งอะเล็กซานเดรียของงานเฮ็นไต[5][3] เดอะเดลีย์ดอตอธิบายอี-เฮ็นไตไว้ว่าเป็น "ที่ระลึกถึงอินเทอร์เน็ตแบบเก่า" และเป็นตัวอย่างของพอร์ทัลเฉพาะทางของเนื้อหาดิจิทัลที่เกิดขึ้นก่อนสื่อสังคมร่วมสมัย[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Spectre (8 April 2010). "How was this website created?". E-Hentai. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Tenboro (27 March 2010). "So it has come to this, Achtung!". E-Hentai Fourms. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2010. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Martinez, Ignacio (27 July 2019). "Fans are mourning the shutdown of hentai repository 'Sad Panda'". The Daily Dot. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ "Google eliminará páginas de anime pirata". El Universal (ภาษาสเปน). 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 7 September 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Cole, Samantha (26 July 2019). "'Dear Fucking God:' The 'Alexandria Library' of Hentai Has Suddenly Vanished". Motherboard. Vice. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
- ↑ "娘子出嚟睇耶穌呀! 「傷心熊貓」Exhentai關站7日後原地復活". HK01. 3 August 2019. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
- ↑ Kaartinen, Sami Johannes (2017). Where, How and Why? Fan Translations Unraveled: A Study of the Fan Translation Process Through Personal Experience (PDF) (วิทยานิพนธ์ Master's). University of Vaasa.
- ↑ Noppe, Nele (2014). The cultural economy of fanwork in Japan: dōjinshi exchange as a hybrid economy of open source cultural goods (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Leuven.