อียิปต์บนและล่าง
ในประวัติศาสตร์อียิปต์ สมัยอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง (หรือที่เรียกว่า สองดินแดน) เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของสมัยอียิปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเกิดขึ้นก่อนการรวมอาณาจักร แนวความคิดของอียิปต์ในฐานะดินแดนทั้งสองเป็นตัวอย่างของความเป็นสองขั้วทางวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ และมักจะปรากฏในข้อความและภาพสลัก รวมทั้งในพระนามของฟาโรห์แห่งอียิปต์
ชื่อในภาษาอียิปต์โบราณ คือ zmꜣ-tꜣwj (การออกเสียงแบบอียิปต์ว่า เซมา-ทาวี) ซึ่งแปลว่า "การรวมกันของสองดินแดน"[1] และเป็นภาพมนุษย์ที่กำลังพันด้วยต้นกกและสายบัว การพันนั้นหมายถึงการรวมเป็นหนึ่งในขณะที่ต้นกกและดอกบัวเป็นตัวแทนของอียิปต์ล่างและบน
พระนามของฟาโรห์ประกอบด้วยพระนามครองราชย์ ซึ่งค่อนข้างตรงตามตัวอักษรว่า "แห่งต้นกกและผึ้ง" (nswt-bjtj เป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์บนและล่าง)[2] และ "เจ้าแห่งสองแผ่นดิน" (เขียนว่า nb-tꜣwj) สมเด็จพระราชินีนาถที่ทรงขึ้นครองราชย์ก็ยังถูกเรียกขานว่า เป็นฟาโรห์และบุรุษเพศ สมเด็จพระราชินีอาจจะใช้ตำแหน่งที่สองในรูปแบบของสตรีที่ว่า "สตรีแห่งสองแผ่นดิน" (nbt-tꜣwj) หรือ "นายหญิงของทั้งสองแผ่นดิน" (hnwt-tꜣwy-tm) และนายหญิงของสองแผ่นดิน (hnwt-tꜣwy)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ronald J. Leprohon, The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary, Society of Biblical Lit, 2013
- ↑ Abeer El-Shahawy, Farid S. Atiya, The Egyptian Museum in Cairo, American Univ in Cairo Press, 2005
- ↑ Grajetzki, Ancient Egyptian Queens: A Hieroglyphic Dictionary, Golden House Publications, London, 2005, ISBN 978-0954721893