อิสลาม คารีมอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสลาม คารีมอฟ
Islom Karimov
คารีมอฟใน ค.ศ. 2013
ประธานาธิบดีอุซเบกิสถานคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน 1991 – 2 กันยายน 2016
นายกรัฐมนตรี อับดุลฮาชิม มุลตาลอฟ (1992–1995)
Oʻtkir Sultonov (1995–2003)
ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ (2003–2016)
รองประธานาธิบดี ชุกรุลลอ มีร์ไซดอฟ (1990–1992)
ก่อนหน้า ก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไป นิกมาทิลลา ยูลดาเชฟ (รักษาการประธานาธิบดี) (2016)
ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ (ประธานาธิบดี) (2016–ปัจจุบัน)
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม 1990 – 1 กันยายน 1991
ก่อนหน้า ก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไป ยุบเลิกตำแหน่ง
เลขาธิการกลางที่หนึ่งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอุซเบกิสถาน
ดำรงตำแหน่ง
23 มิถุนายน 1989 – 1 กันยายน 1991
ก่อนหน้า ราฟิก นิโชนอฟ (1988–1989)
ถัดไป ยุบเลิกตำแหน่ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด Islom Abdugʻaniyevich Karimov
30 มกราคม ค.ศ. 1938(1938-01-30)
ซามาร์คันด์ อุซเบกิสถาน สหภาพโซเวียต
(ปัจจุบันคือประเทศอุซเบกิสถาน)
เสียชีวิต 2 กันยายน ค.ศ. 2016(2016-09-02) (78 ปี)
ทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน
พรรค พรรคคอมมิวนิสต์ (ก่อน ค.ศ. 1991)
พรรคประชาธิปไตยประชาชน (1991–2006)
พรรคเสรีประชาธิปไตย (2006–2016)
คู่สมรส Natalya Kuchmi (แต่งงาน ค.ศ. 1964; หย่า ประมาณ ค.ศ. 1966)
Tatyana Karimova (แต่งงาน ค.ศ. 1967; 2016; เขาเสียชีวิต)
บุตร

อิสลาม คารีมอฟ (อุซเบก: Islom Abdugʻaniyevich Karimov / Ислом Абдуғаниевич Каримов; รัสเซีย: Ислам Абдуганиевич Каримов; 30 มกราคม ค.ศ. 1938 – 2 กันยายน ค.ศ. 2016) เป็นนักการเมืองชาวอุซเบกิสถานและประธานาธิบดีแห่งอุซเบกิสถานคนแรกตั้งแต่ได้เอกราชจากสหภาพโซเวียต ก่อนดำรงตำแหน่งเขาเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 1990 – 1 กันยายน 1991 และเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอุซเบกิสถานซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐที่ปกครองอุซเบกิสถานโดยพฤตินัยในปี 1989 เขาเป็นผู้ก่อตั้งพรรคประชาชนและประชาธิปไตยแห่งอุซเบกิสถาน (PDP) เขาเป็นหัวหน้าพรรคจนถึงปี 1996[1]

เขาใช้ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จปกครองประเทศ มีการปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมือง ห้ามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเสรี และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง[2][3][4] ตัวอย่างการปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองที่ร้ายแรงในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งคือการสังหารหมู่ที่อาดิจัน พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตถึง 1,500 ราย[5] เขาปกครองประเทศเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมจากโรคหลอดเลือดสมองเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2016 สิริอายุได้ 78 ปี[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hierman, Brent (2016). Russia and Eurasia 2016-2017. The World Today Series, 47th edition. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4758-2898-6. p. 314.
  2. "Uzbek Leader Islam Karimov Was A Dictator In The Classic Mould". Sky News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  3. "Uzbekistan plunged into uncertainty by death of dictator Islam Karimov". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  4. Schenkkan, Nate. "Islam Karimov and the Dictator's Playbook". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
  5. Donovan, Jeffrey (1 September 2008). "Former Uzbek Spy Accuses Government of Massacres, Seeks Asylum". RFE/RL. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  6. "Медицинское заключение о болезни и причине смерти Ислама Абдуганиевича Каримова" [Medical report on the illness and cause of death of Islam Karimov] (ภาษารัสเซีย). Government of the Republic of Uzbekistan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2018. สืบค้นเมื่อ 3 September 2016.
บรรณานุกรม
  • Bohr, Annette (1998). Uzbekistan: Politics and Foreign Policy. London: Royal Institute of International Affairs. ISBN 1-86203-081-2.
  • Schatz, Edward (2006). "Access by Accident: Legitimacy Claims and Democracy Promotion in Authoritarian Central Asia". International Political Science Review. 27 (3): 263–284. doi:10.1177/0192512106064463. JSTOR 20445055. S2CID 145546950.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]