ข้ามไปเนื้อหา

อิมางาวะ โยชิโมโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิมางาวะ โยชิโมโตะ
今川 義元
หัวหน้าตระกูลอิมางาวะ
ดำรงตำแหน่ง
1536–1560
ก่อนหน้าอิมางาวะ อูจิเทรุ
ถัดไปอิมางาวะ อูจิซาเนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โยซากิมารุ

1519
ซุมปุ, แคว้นซูรูงะ, ญี่ปุ่น
เสียชีวิต12 มิถุนายน ค.ศ. 1560(1560-06-12) (40–41 ปี)
เด็งงาคูฮาซามะ, แคว้นโอวาริ, ญี่ปุ่น
คู่สมรสจูเค-อิน
บุตร5, รวมทั้ง อิมางาวะ อูจิซาเนะ
บุพการี
ความสัมพันธ์อิมางาวะ อูจิเทรุ (พี่ชาย)
โฮโจ อูจิยาซุ (พี่เขย)
ทาเกดะ ชิงเง็ง (พี่เขย)
ฮายากาวะ (หลานสาวและลูกสะใภ้ )
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ตระกูลอิมางาวะ
ยศไดเมียว
หน่วย ตระกูลอิมางาวะ
บังคับบัญชาปราสาทซุมปุ
ผ่านศึกHanagura Disturbance (1536)
Battle of Azukizaka (1542)
Battle of Azukizaka (1548)
Battle of Muraki Castle (1554)
ยุทธการที่โอเกฮาซามะ (1560) 

อิมางาวะ โยชิโมโตะ (今川 義元, 1519 – 12 มิถุนายน 1560) เป็นขุนนางชาวญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งไดเมียวในยุคเซ็งโงกุ มีฐานที่มั่นในแคว้นซูรูงะ อิมาวะได้ได้รับขนานนามว่า "ไดเมียวหมายเลขหนึ่งในโทไกโด" ((海道一の弓取り, (Kaidō-ichi no Yumitori)[1] เขาเสียชีวิตในขณะเดินทางไปเกียวโตเพื่อขึ้นครองตำแหน่งโชกุน โดยการสังหารของโอดะ โนบูนางะ[2]

ชีวิตในวัยเด็กและการสืบทอดตำแหน่ง

[แก้]

อิมางาวะ โยชิโมโตะ เกิดในปี ค.ศ. 1519 เป็นบุตรชายคนที่สามของ อิมางาวะ อูจิชิกะ[3] แห่งตระกูลอิมางาวะ ซึ่งอ้างว่าเป็นเชื้อสายของจักรพรรดิเซวะ (850–880) ชื่อในวัยเด็กของเขาคือ โยซากิมารุ (芳菊丸) ครอบครัวของเขาแยกสาขามาจากตระกูลมินาโมโตะ โดยผ่านทางตระกูลอาชิกางะ

เนื่องจากโยชิโมโตะไม่ใช่บุตรชายคนโต เขาจึงไม่มีสิทธิ์สืบทอดตำแหน่งผู้นำของบิดา ในช่วงวัยเยาว์โยชิโมโตะถูกส่งไปบวชที่วัด และที่นั่นเขาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไปกากุ โชโฮ (梅岳承芳) หรือ เซนกากุ โชโฮ (栴岳承芳)

ข้อพิพาทการสืบทอดตำแหน่ง

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1536 อิมางาวะ อูจิเทรุ พี่ชายของเขาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ส่งผลให้เกิด ข้อพิพาทเรื่องการสืบทอดตำแหน่ง พี่ชายต่างมารดาของโยชิโมโตะ ชื่อ เก็นโค เอตัน (玄広恵探) พยายามยึดตำแหน่งหัวหน้าตระกูล ตระกูลอิมากาวะจึงแตกออกเป็นสองฝ่าย

ฝ่ายของโยชิโมโตะอ้างว่าเขามีสิทธิ์ในตำแหน่งนี้ เนื่องจาก มารดาของเขา จูเคอิ-นิ เป็นภรรยาหลวงของ อิมางาวะ อูจิชิกะ ในขณะที่ฝ่ายของเก็นโค เอตัน โต้แย้งโดยอ้างสิทธิ์จากความอาวุโสของเก็นโค และมารดาของเก็นโคเป็นสมาชิกจากตระกูลคูชิมะ

อย่างไรก็ตาม ด้วย ความช่วยเหลือจากโฮโจ อูจิสึนะ แห่งแคว้นซางามิ และการสนับสนุนจากทาเคดะ โนบูโทระ แห่งแคว้นไค ฝ่ายของเก็นโค เอตัน ถูกกำจัดในเหตุการณ์ฮานางูระ (花倉の乱, Hanagura-no-ran) หลังจากเหตุการณ์นี้ ไปกากุ โชโฮ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โยชิโมโตะ (義元) และขึ้นเป็นหัวหน้าตระกูลอิมากาวะ

การรณรงค์ของตระกูลอิมางาวะ

[แก้]

หลังจากที่โยชิโมโตะ ได้รับตำแหน่งหัวหน้าตระกูล เขาได้แต่งงานกับน้องสาวของทาเกดะ ชิงเง็ง แห่งแคว้นไค การแต่งงานครั้งนี้ช่วยให้โยชิโมโตะสร้างพันธมิตรที่แน่นแฟ้นกับตระกูลทาเกดะ เมื่อเขาช่วยชิงเง็งจับกุมบิดาของชิงเง็ง ทาเคดะ โนบูโทระ ในปี ค.ศ. 1540

ไม่นานหลังจากนั้น ตระกูลโฮโจรุ่นหลัง ได้บุกเข้าแคว้นซูรูงะ แต่โยชิโมโตะสามารถเอาชนะกองกำลังของโฮโจได้

การขยายอำนาจของโยชิโมโตะ

[แก้]

ในปี ค.ศ.1542 โยชิโมโตะเริ่มรุกเข้าสู่แคว้นมิกาวะ (Mikawa) เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลที่กำลังเติบโตของโอดะ โนบูฮิเดะ (織田信秀) ในภูมิภาคนั้น แต่เขาพ่ายแพ้ใน ยุทธการอาซูกิซากะ (1542) ต่อมาโยชิโมโตะเอาชนะโนบูฮิเดะ ในยุทธการอาซูกิซากะครั้งที่สอง และขยายดินแดนต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 1560 ในช่วงทศวรรษต่อมา โยชิโมโตะสามารถควบคุมดินแดน ซูรูงะ, โทโทมิ, และมิกาวะ ได้สำเร็จ

สร้างพันธมิตรผ่านการแต่งงาน

[แก้]

ปี ค.ศ.1552 บุตรชายของชิงเง็น ทาเกดะ โยชิโนบุ แต่งงานกับบุตรสาวของโยชิโมโตะ ในปี ค.ศ.1554 ตระกูลอิมางาวะและตระกูลโฮโจทำข้อตกลงสันติภาพ โดยให้ อิมางาวะ อูจิซาเนะ บุตรชายของโยชิโมโตะ แต่งงานกับท่านหญิงฮายากาวะ บุตรสาวของ โฮโจ อูจิยาซุ

การรุกเข้าสู่แคว้นมิคาวะและโอวาริ

[แก้]

ค.ศ.1554 ตระกูลอิมางาวะขยายอิทธิพลไปทางตะวันตกและสร้างปราสาทมูรากิ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแคว้นโอวาริ โดยล้อมปราสาทโองาวะ ของ มิซูโนะ โนบูโมโตะ ซึ่งเป็นลุงของโทกูงาวะ อิเอยาสุ แต่โนบุโมโตะได้เปลี่ยนไปเข้าพวกกับ โอดะ โนบุนางะ

ค.ศ.1558: โยชิโมโตะส่ง มัตสึไดระ โมโตยาสุ บุกโจมตีปราสาทเทราเบะ แต่ต้องถอยกลับเนื่องจากได้รับการเสริมกำลังจากโอดะ โนบุนางะ ต่อมา โยชิโมโตะมอบหมายงานการบริหารการเมืองของตระกูลให้กับ อูจิซาเนะ บุตรชาย เพื่อมุ่งเน้นไปที่การรุกคืบทางตะวันตกเข้าสู่แคว้นมิคาวะและโอวาริ

การเสียชีวิต

[แก้]

บทความหลัก : ยุทธการที่โอเกฮาซามะ

หลุมศพของอิมางาวะที่โอเกฮาซามะ

ในฤดูร้อนปี 1560 หลังจากสร้างพันธมิตรสามฝ่าย กับตระกูลทาเกดะและตระกูลโฮโจ โยชิโมโตะมุ่งหน้าไปยังเมืองหลวง พร้อมกับกองหน้า นำโดย มัตสึไดระ โมโตยาสุ (ต่อมาคือ โทกุงาวะ อิเอยาสุ) จากแคว้นมิคาวะ แม้จะมีกองกำลังแข็งแกร่งจำนวน 25,000 นาย แต่โยชิโมโตะประกาศว่าเขามีทหารถึง 40,000 นาย เพื่อสร้างความหวาดกลัวให้ฝ่ายตรงข้าม (บางแหล่งข้อมูลอ้างว่าเขามีทหาร 40,000 นายจริง)[4]) อย่างไรก็ตาม โอดะ โนบุนางะ ไม่ได้หวาดกลัวต่อคำประกาศนี้

หลังจากยึดปราสาทหลายแห่งจากตระกูลโอดะ กองทัพของโยชิโมโตะลดความระมัดระวังลงและฉลองด้วยการร้องเพลงและดื่มสาเก แต่ในขณะนั้น โอดะ โนบุนางะ เปิดฉากโจมตีอย่างไม่คาดคิดด้วยกองทัพขนาดเล็กจำนวน 3,000 นาย ท่ามกลางฝนตกหนัก ทำให้กองทัพของโยชิโมโตะพ่ายแพ้ ซามูไรของโอดะสองนาย คือ โมริ ชินสุเกะ และ ฮัตโตริ โคเฮอิตะ ลอบสังหารโยชิโมโตะที่หมู่บ้านเด็งงาคูฮาซามะ[5]

หลังการเสียชีวิตของโยชิโมโตะ อูจิซาเนะ ขึ้นสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าตระกูล แต่ตระกูลอิมางาวะก็เสื่อมอำนาจลงในเวลาต่อมา อูจิซาเนะถูกเรียกตัวโดย โทกูงาวะ อิเอยาสุ และกลายเป็น โคเคะ (高家) หรือตำแหน่งขุนนางในฝ่ายบริหารของตระกูลโทกูงาวะ หลานสาวของโยชิโมโตะ คือ ท่านหญิงสึกิยามะ ซึ่งเป็นภรรยาของโทกูงาวะ อิเอยาสุ

โยชิโมโตะมีสุสานหลายแห่ง แต่ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่วัดไดเซจิ เมืองโทโยกาวะ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดไอจิในปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "織田信長「桶狭間の戦い」前夜に見せていた奇策". Tōyō Keizai Online. 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ June 21, 2022.
  2. "日本大百科全書(ニッポニカ)「今川義元」の解説". Kotobank. สืบค้นเมื่อ 15 December 2021.
  3. Naramoto Michael, Nihon no kassen: Monoshiri jiten. (Tokyo: Shufu-to-seikatsusha, 1992), p. 259.
  4. Frank Brinkley, A History of the Japanese People. (New York: Encyclopædia Britannica, Inc., 1915.), p. 784.
  5. "1560: The Spring Thunderstorm," Geocities.yahoo.com [ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]