อินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส
ภาพรวม
ที่ตั้งเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, เดนมาร์ก, รัสเซีย และฝรั่งเศส
ข้อมูลเทคนิค
ช่วงกว้างราง1,435 mm (4 ft 8 12 in)
1,520 mm (4 ft 11 2732 in)
อื่น ๆ
เว็บไซต์bahn.com

อินเตอร์ซิตี-เอ็กซ์เพรส (อังกฤษ: Intercity-Express) หรือ อีเซเอ (เยอรมัน: ICE) เป็นชื่อของรถไฟความเร็วสูงที่มีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนีและยุโรปตะวันตก ทำรายได้สูงสุดในกลุ่มของด็อยท์เชอบาน โดยรู้จักกันกว้างขวางที่สุดในเยอรมนี[1]

ปัจจุบัน อีเซเอมีรถไฟฟ้าทั้งหมด 259 ขบวน ในรูปแบบที่แตกต่างกัน 5 รุ่น ได้แก่ อีเซเอ 1 (ปรับใช้งานใน ค.ศ. 1991), อีเซเอ 2 (ค.ศ. 1996), อีเซเอ ที (ค.ศ. 1999), อีเซเอ 3 (ค.ศ. 1999) และอีเซเอ ทีดี (ค.ศ. 2001–2003 กลับมาให้บริการอีกครั้งใน ค.ศ. 2007) โดยอีซีเอ 3 มีรุ่นย่อยมากที่สุด ผลิตโดยการขนส่งบอมบาร์ดิเออร์และซีเมนส์

นอกจากในเยอรมนีแล้ว อีเซเอยังให้บริการในประเทศใกล้เคียงอีกด้วย เช่น อีเซเอ 1 วิ่งไปถึงเมืองบาเซิลและซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กับอีเซเอ 3 วิ่งไปถึงเมืองลีแยฌและบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม[2] และวิ่งไปไกลถึงกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์[3] ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ระหว่างปารีสแฟรงก์เฟิร์ตชตุทท์การ์ทได้เปิดใช้งาน ร่วมกับอีเซเอและเตเฌเว และในอนาคต อีเซเออาจให้บริการรถไฟลอดใต้อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษไปถึงกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[4]

รายละเอียด[แก้]

อีเซเอ 1[แก้]

อีเซเอ 1

อีเซเอ 1 เป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นแรกของประเทศเยอรมนี และเป็นหนึ่งในตระกูลอีเซเอ ความเร็วสูงสุด 250 km/h (155.3 mph) โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ ค.ศ. 1991 และเพิ่มขึ้นเป็น 280 km/h (174.0 mph) ในปี ค.ศ. 1995 และลดเหลือเพียง 250 km/h (155.3 mph) อีกครั้ง โดยมีเพียงสายเนือร์นแบร์ก-มิวนิก สายเดียว ที่ใช้ความเร็ว 280 km/h (174.0 mph).

รถไฟมีจำนวนทั้งหมด 14 คัน โดยเป็นคันที่ใช้ขับ 2 คัน และอีก 12 คัน เป็นรถโดยสาร

อีเซเอ 2[แก้]

อีเซเอ 2

อีเซเอ 2 เป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นที่ 2 ของประเทศเยอรมนี เริ่มใช้งานตั้งแต่ ค.ศ. 1995 มีความคล้ายคลึงกับอีเซเอ 1 ต่างกันที่อีเซเอ 2 จะมีความยาวขบวนรถเป็นครึ่งหนึ่งของอีเซเอ 1 นั่นเอง

อีเซเอ 3[แก้]

อีเซเอ 3

อีเซเอ 3 เป็นรถไฟความเร็วสูงของด็อยท์เชอบาน ประเทศเยอรมนี แบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่น 403 และรุ่น 406 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ อีเซเอ 3 และ อีเซเอ 3เอ็ม ตามลำดับ ผลิตโดยซีเมนส์

อีเซเอ ที[แก้]

อีเซเอ ที

ด็อยท์เชอบาน รุ่น 411 และ 415 ที่ใช้งานในรถไฟ อีเซเอ ที เป็นรถไฟความเร็วสูงของด็อยท์เชอบาน ประเทศเยอรมนี มีความเร็วสูงสุด 230 km/h (140 mph) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับอีเซเอ 3 แต่ต่างกันที่ขอบหน้าต่างหน้าของอีเซเอ ที จะเรียวยาวกว่า และนอกจากนั้น อีเซเอ ที ยังเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นแรกของเยอรมนี ที่สามารถเอียงเวลาเข้าโค้งได้

อีเซเอ ทีดี[แก้]

อีเซเอ ทีดี

อีเซเอ ทีดี เป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นที่ 5 ของด็อยท์เชอบาน เริ่มใช้งานในปี ค.ศ. 2001 มีความคล้ายคลึงกับอีเซเอ ที คือ เป็นรถไฟที่สามารถเอียงได้ เพียงแต่ว่าอีเซเอ ทีดี เป็นรถดีเซลราง รถไฟผลิตโดยบริษัทบอมบาร์ดิเออร์และซีเมนส์

สถิติการใช้งาน[แก้]

ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1991–2006 อีเซเอ มีผู้โดยสารรวมกว่า 550 ล้านคน[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "15 Jahre Hochgeschwindigkeitsverkehr". Deutsche Bahn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-07. สืบค้นเมื่อ 12 February 2007. (เยอรมัน)
  2. "Mit dem ICE International nach Belgien". Deutsche Bahn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-04. สืบค้นเมื่อ 12 February 2007. (เยอรมัน)
  3. "Mit der Bahn in die Niederlande". Deutsche Bahn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 12 February 2007. (เยอรมัน)
  4. Planned highspeed service from London to Amsterdam and Frankfurt เก็บถาวร 2011-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Deutsche Bahn.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-28. สืบค้นเมื่อ 2014-03-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]