อิกซ์ตรีโมไฟล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อิกซ์ตรีโมไฟล์ (อังกฤษ: extremophile) มาจากภาษาละติน extremus หมายถึง "สุดขั้ว" และภาษากรีก philiā (φιλία) หมายถึง "รัก" เป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ดีในภาวะสุดขั้วทางกายภาพหรือธรณีเคมีซึ่งเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนโลก[1][2] ในทางตรงข้าม สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สบายกว่าอาจเรียก เมโซไฟล์ (mesophile) หรือนิวโทรไฟล์ (neutrophile)

ลักษณะ[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 นักชีววิทยาพบว่าจุลินทรีย์มีความยืดหยุ่นมากในการดำรงชีพอยู่ในสิ่งแวดล้อมสุดขั้ว ตัวอย่างเช่น สิ่งแวดล้อมที่เป็นกรดหรือร้อนเป็นพิเศษ ซึ่งสิ่งมีชีวิตซับซ้อนไม่สามารถอยู่ได้เลย นักวิทยาศาสตร์บางส่วนถึงกับสรุปว่า สิ่งมีชีวิตอาจเริ่มต้นบนโลกในปล่องไฮโดรเทอร์มัลใต้ผิวมหาสมุทร[3] Steinn Sigurdsson นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ กล่าวว่า "พบสปอร์แบคทีเรียมีชีวิตที่มีอายุ 40 ล้านปี และเราทราบว่าพวกมันทนทานต่อกัมมันตรังสี"[4] วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า พบแบคทีเรียอาศัยอยู่ในที่เย็นและมืดในทะเลสาบที่ฝังอยู่ใต้น้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาลึกครึ่งไมล์[5] วันที่ 17 มีนาคม 2556 นักวิจัยรายงานข้อมูลที่เสนอว่ารูปแบบชีวิตจุลินทรีย์เติบโตในร่องลึกมาเรียนา ซึ่งเป็นสถานที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรของโลก[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rampelotto, P. H. (2010). "Resistance of microorganisms to extreme environmental conditions and its contribution to Astrobiology". Sustainability. 2 (6): 1602–1623. Bibcode:2010Sust....2.1602R. doi:10.3390/su2061602.
  2. Rothschild, L.J.; Mancinelli, R.L. (2001). "Life in extreme environments". Nature. 409 (6823): 1092–1101. Bibcode:2001Natur.409.1092R. doi:10.1038/35059215. PMID 11234023.
  3. "Mars Exploration - Press kit" (PDF). NASA. June 2003. สืบค้นเมื่อ 14 July 2009.
  4. BBC Staff (23 August 2011). "Impacts 'more likely' to have spread life from Earth". BBC. สืบค้นเมื่อ 24 August 2011.
  5. Gorman, James (6 February 2013). "Bacteria Found Deep Under Antarctic Ice, Scientists Say". New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  6. Choi, Charles Q. (17 March 2013). "Microbes Thrive in Deepest Spot on Earth". LiveScience. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013.
  7. Glud, Ronnie; Wenzhöfer, Frank; Middleboe, Mathias; Oguri, Kazumasa; Turnewitsch, Robert; Canfield, Donald E.; Kitazato, Hiroshi (17 March 2013). "High rates of microbial carbon turnover in sediments in the deepest oceanic trench on Earth". Nature Geoscience. 6 (4): 284–288. Bibcode:2013NatGe...6..284G. doi:10.1038/ngeo1773. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013.