อำเภออ็อนลวงแวง
อำเภออ็อนลวงแวง ស្រុកអន្លង់វែង | |
---|---|
พิกัด: 14°14′N 104°05′E / 14.233°N 104.083°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | อุดรมีชัย |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 70,000 คน |
เขตเวลา | UTC+7 (ICT) |
Geocode | 2201 |
อ็อนลวงแวง (เขมร: អន្លង់វែង, Ânlông Vêng [ɑnluŋ ʋɛːŋ]) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรมีชัย ในประเทศกัมพูชา เมืองหลักในอำเภอนี้เรียกว่าอ็อนลวงแวง ประชากรของอำเภอนี้ไม่สามารถนับรวมได้ในระหว่างการสำรวจสำมะโนประชากรของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2541 เนื่องจากความขัดแย้งที่ยังคงดำเนินอยู่ในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากร[2] คาดว่าร้อยละ 35 ของประชากรในอ็อนลวงแวงเป็นอดีตทหารเขมรแดง รวมถึง พล พต (สาฬุต ส) เผด็จการลัทธิเหมา[1]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
[แก้]อำเภออ็อนลวงแวงตั้งอยู่ในพื้นที่ของทิวเขาพนมดงรักทางตอนเหนือสุดของกัมพูชา ตั้งอยู่ห่างจากเสียมราฐไปทางเหนือ 125 กิโลเมตร และอยู่ใกล้กับจุดผ่านแดนระหว่างประเทศกับประเทศไทย มีเขื่อนกั้นน้ำอยู่ทางเหนือของเมือง
ประวัติ
[แก้]อำเภออ็อนลวงแวงเป็นที่รู้จักดีที่สุดด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์สองประการ ประการแรกคือเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของเขมรแดงที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2541 และเป็นที่ฝังศพสุดท้ายของ พล พต
ทิวเขาพนมดงรักถูกใช้เป็นฐานทัพโดยเขมรแดงในการต่อสู้กับสาธารณรัฐเขมรที่นำโดย นายพล ลอน นอล
หลังจากประเทศเวียดนามยึดครองกัมพูชาและถอนทัพเวียดนามออกไป เขมรแดงได้สร้างฐานทัพเดิมขึ้นใหม่ในบริเวณทิวเขาพนมดงรักตามแนวชายแดนไทย อ็อนลวงแวงกลายเป็น "เมืองหลวง" หลักของเขมรแดงชั่วขณะหนึ่ง ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เขมรแดงยังคงควบคุมอ็อนลวงแวง ซึ่งเป็น "ทุ่งสังหาร" แห่งแรก ๆ หลังจากการล่มสลายของ "กัมพูชาประชาธิปไตย"
ยังมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้ขุดค้นในป่าที่มีทุ่นระเบิดอยู่อีกในทิวเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ห่างจากอ็อนลวงแวงกไปประมาณ 6 กิโลเมตร โดยมีผู้คนราว 3,000 คนถูกเขมรแดงสังหารเนื่องจากถูกกว่าวหาว่าเป็น "ผู้ทุจริต" ระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึง 2540 การประหารชีวิตเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงที่ ตา ม็อก เป็นผู้นำในพื้นที่ดังกล่าว[3]
การปกครอง
[แก้]ตารางต่อไปนี้แสดงหมู่บ้านในอำเภออ็อนลวงแวง จำแนกตามตำบล
ตำบล (คุ้ม) | หมู่บ้าน (ภูมิ) |
---|---|
อ็อนลวงแวง | Kaoh Thmei, Ou Chenhchien, Prolean, Yeang Khang Tbong, Thnal Kandal Kraom, Thnal Kandal Leu, Thnal Totueng, Thnal Bambaek, Thnal Kaeng, Akphivoad, Rumchek, Yeang Khang Chheung, Thnal Thmey, Rumchek Khang Kert, Ou Ta Meng, Rumchek Khang Lech |
Trapeang Tav | Trapeang Tav, Ta Dev, Ou Angrae, Slaeng Por, Tuol Prasat, Tuol Svay, Thmei, Tumnob, Ou SrorMor, Tuol Svay Saen Chey |
Trapeang Prei | Tuol Kandal, Tuol Sala, Aekakpheap, Boeng, Cheung Phnum, Khleang Kandal, Prasat, Santepheap, Srah Chhuk, Tuol Tbaeng, Tumnob Leu, Tuek Chob, Tuek Chum |
Thlat | Chheu Teal Chrum, Ou Run, Svay Chek, Thlat, Tuol Kruos, Tuol Kralanh, Tuol Prich, Thmei |
Lumtong | Lumtong, Treas, Ou Kokir Kandal, Ou Kokir Kraom, Ou Kokir Leu, Lumtong Thmei, Sror LaoSroang, Trapaeng Thom, Chub Ta Mok, Kork Samphor, Char |
การพัฒนา
[แก้]จดหมายเวียนเกี่ยวกับความคิดริเริ่มในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน (ธันวาคม 2544) เรียกร้องให้สถานที่ในอันลองเวงกลายเป็นอนุสรณ์สถานและสถานที่ท่องเที่ยวให้ทันกับปีท่องเที่ยวกัมพูชาในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลมองว่าเมืองนี้เป็นจุดแวะพักที่มีประโยชน์สำหรับทัวร์จากเสียมราฐไปยังปราสาทพระวิหารที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 สถานที่นี้เคยมีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเล็กน้อย เช่น พิพิธภัณฑ์ โรงแรม และคาสิโน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Two Decades On, Cambodia's Revolutionary Capital Embraces Capitalism and Karaoke". Voice of America. 21 November 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2020.
- ↑ "General Population Census of Cambodia 1998, Final Census Results" (PDF). National Institute of Statistics, Ministry of Planning, Cambodia. August 2002. p. 271. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
- ↑ Rowley, Kelvin. "Second Life, Second Death: The Khmer Rouge After 1978" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
- ↑ https://web.archive.org/web/20111002104848/http://www.ocm.gov.kh/Circular%20on%20remains.pdf