อาโฮลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Koninklijke Ahold N.V.
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
ISINNL0011794037 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมค้าปลีก
ก่อตั้ง1887 (137 ปีที่แล้ว) (1887)
เลิกกิจการ24 กรกฎาคม 2016; 7 ปีก่อน (2016-07-24)
สาเหตุรวมกิจการกับเดอแลซ
ถัดไปอาโฮลด์ เดอแลซ
สำนักงานใหญ่ซานดัม เนเธอร์แลนด์
จำนวนที่ตั้ง
3,206
บุคลากรหลัก
ฟรันส์ มึลเลอร์ (CEO), ยัน โฮมเมิน(ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา)
บริการร้านสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านขายยา, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ค้าปลีกออนไลน์
รายได้38.2 พันล้านยูโร (2015)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
1.3 พันล้านยูโร (2015)[1]
รายได้สุทธิ
0.85 พันล้านยูโร (2015)[1]
สินทรัพย์15.88 พันล้านยูโร (2015)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้น5.62 พันล้านยูโร (2015)[1]
พนักงาน
236,000 (2015)[1]
เว็บไซต์www.ahold.com

บริษัท รอยัล อาโฮลด์ (ดัตช์: Koninklijke Ahold N.V.) เป็นอดีตบริษัทค้าปลีกสัญชาติดัตช์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานดัม จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 2016 ควบรวมกับบริษัทเดอแลซกรุ๊ปของเบลเยียม ก่อตั้งเป็นบริษัทอาโฮลด์ เดอแลซ

ประวัติ[แก้]

บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อ อัลเบิร์ต ฮายน์ เปิดร้านขายของชำในชื่ออัลเบิร์ต ฮายน์ขึ้นที่เมืองโอสต์ซาน ในจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1887 กิจการขยายใหญ่โตในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนเมื่อปี ค.ศ. 1948

จากนั้น อัลเบิร์ต และ แคร์ริต ยัน ฮายน์ ผู้บริหารรุ่นหลาน มีส่วนสำคัญในการขยายธุรกิจ นำเสนอวิธีการจับจ่ายซื้อสินค้าด้วยตัวเอง พัฒนาสินค้าในแบรนด์ของตัวเอง และยังส่งเสริมสินค้าประเภทอาหารกับท้องถิ่นอีกด้วยโดยการนำไวน์ เชอร์รี ผลไม้ต่างๆมาวางจำหน่ายในร้าน นอกจากนี้ยังเปลี่ยนวิถีชีวิตในด้านการบริโภคของลูกค้าด้วยการขายอาหารแบบแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป ทำให้ชาวดัตช์จำนวนมากหันมาซื้อตู้เย็นไว้ประจำบ้าน

เมื่อบริษัทขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นเครือข่ายร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ได้มีการขยายกิจการไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุขภาพ และความงาม และได้ตั้งบริษัทโฮลดิงเมื่อปี ค.ศ. 1973 ในชื่อ อาโฮลด์ (Ahold) อันเป็นตัวย่อของคำว่าอัลเบิร์ต ฮายด์ โฮลดิง (Albert Heijn Holding)[2][3]

ราวกลางทศวรรษที่ 1970 บริษัทเริ่มนำกิจการออกสู่ต่างประเทศ เข้าซื้อกิจการร้านค้าปลีกในสเปนและสหรัฐอเมริกา มีการว่าจ้างผู้บริหารที่ไม่ได้มาจากตระกูลฮายน์ จนได้คำนำหน้าบริษัทว่า "รอยัล" จากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1987 ในวาระครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งบริษัท

ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 บริษัทอาโอลด์เผชิญกับวิกฤตความน่าเชื่อถือเมื่อมีการเปิดเผยว่าบริษัทลูกของอาโฮลด์มีการตกแต่งตัวเลขทางบัญชี[4][5] โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กรณีความผิดปกติทางบัญชีทำให้บริษัทเสียค่าปรับมหาศาล จึงมีการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีการประกาศขายธุรกิจในอเมริกาใต้และเอเชีย เหลือไว้เพียงธุรกิจที่ทำกำไรในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ปรับปรุงสินค้าในแบรนด์ของตนเองและการบริการลูกค้า ได้มีการประกาศยุทธศาสตร์ความเข้มแข็ง 6 ด้าน ได้แก่ ให้ความสำคัญกับลุกค้าประจำ นำเสนอสินค้าที่หลากหลาย ขยายสาขาไปสู่ภูมิภาค เน้นความเรียบง่าย ค้าปลีกอย่างรับผิดชอบ และให้ความสำคัญกับบุคลากร[6]

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2015 บริษัทควบรวมกิจการกลุ่มเดอแลซ บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากประเทศเบลเยียม ก่อตั้งเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ อาโฮลด์ เดอแลซ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เนเธอร์แลนด์

สินทรัพย์[แก้]

ยุโรป[แก้]

  • Ahold Coffee Company B.V. – เนเธอร์แลนด์
  • Ahold Czech Republic a.s. – สาธารณรัฐเช็ค
  • Albert Heijn B.V. – เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เยอรมนี
  • Etos B.V. – เนเธอร์แลนด์
  • Gall & Gall B.V. – เนเธอร์แลนด์
  • Bol.com – เนเธอร์แลนด์
  • Gestão de Empresas de Retalho, SGPS. S.A. (JMR) (โดยอ้อม 49%) – โปรตุเกส

อเมริกา[แก้]

  • Giant-Carlisle
    • Martin's Food Markets
    • Ukrops
  • Stop & Shop/Giant-Landover
    • Stop & Shop
    • Giant-Landover
  • Peapod

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Annual Report 2015" (PDF). Royal Ahold. สืบค้นเมื่อ 19 April 2020.
  2. "Albert Heijn memorial site". Royal Ahold. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  3. "Ahold history". Royal Ahold. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  4. "Ahold shares slump as executives are sacked over US profits error". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  5. "Ahold announces significantly reduced earnings expected for 2002". Royal Ahold. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.
  6. "Ahold presents its six strategic pillars to accelerate growth". Royal Ahold. สืบค้นเมื่อ 25 April 2012.