อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 8243
![]() 4K-AZ65 เอ็มบราเออร์ อี190 ลำที่เกิดเหตุ ถ่าย 8 ปีก่อนเกิดเหตุ | |
สรุปอุบัติการณ์ | |
---|---|
วันที่ | 25 ธันวาคม ค.ศ. 2024 |
สรุป | ตกขณะลงจอดฉุกเฉินหลังการเสียการควบคุม; อยู่ระหว่างการสืบสวน |
จุดเกิดเหตุ | ใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตา อักเตา ประเทศคาซัคสถาน 43°53′0.741″N 51°0′21.843″E / 43.88353917°N 51.00606750°E |
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ | |
ประเภทอากาศยาน | เอ็มบราเออร์ อี190เออาร์ |
ชื่ออากาศยาน | กูซาร์ |
ดําเนินการโดย | อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ |
หมายเลขเที่ยวบิน IATA | J28243 |
หมายเลขเที่ยวบิน ICAO | AHY8243 |
ทะเบียน | 4K-AZ65[1] |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟ บากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานคาดีรอฟ กรอซนืย กรอซนืย สาธารณรัฐเชเชน ประเทศรัสเซีย |
จำนวนคน | 67 |
ผู้โดยสาร | 62 |
ลูกเรือ | 5 |
เสียชีวิต | 38 |
รอดชีวิต | 29[2] |
อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 8243 เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศตามกำหนดการจากบากูไปยังกรอซนีย์ ซึ่งดำเนินการโดยอาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ โดยเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ขณะเครื่องบินเอ็มบราเออร์ อี190 ขณะทำการร่อนลง เครื่องบินเกิดตกใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตา ประเทศคาซัคสถาน โดยมีผู้โดยสาร 67 คนบนเครื่อง[3][4][5] สำนักข่าวรัสเซียรายงานว่าเครื่องบินลำดังกล่าวต้องเปลี่ยนเส้นทางเนื่องจากสภาวะหมอกในกรอซนีย์ และมีรายงานว่านักบินได้ส่งสัญญาณ 7700 ไปยังเครื่องตอบรับซึ่งส่งสัญญาณว่ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นบนเครื่องขณะบินอยู่เหนือทะเลแคสเปียน[6][7][8] มีผู้โดยสาร 29 คนรอดชีวิตจากอุบัติเหตุ[9][2]
ในวันที่ 26 ธันวาคม เจ้าหน้าที่รัฐของอาเซอร์ไบจานได้แจ้งกับรอยเตอร์สว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่ออุบัติเหตุครั้งนี้[10]
อุบัติเหตุ
[แก้]เครื่องบินขึ้นบินจากท่าอากาศยานนานาชาติเฮย์แดร์ แอลีเยฟเมื่อเวลา 7:55 น. ตาม เวลาอาเซอร์ไบจาน (UTC+04:00) โดยเดินทางไปยังท่าอากาศยานกรอซนืย[11] ลูกเรือได้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อเวลา 9:35 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC+05:00) และรายงานว่าระบบควบคุมขัดข้อง[9] ตามโพสต์บนเอ็กซ์ของไฟล์ทเรดาร์24 บริการติดตามเที่ยวบินออนไลน์ กล่าวว่า เครื่องบินลำดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการรบกวนจีพีเอสอย่างรุนแรงในบริเวณกรอซนืย[12] การรบกวนจีพีเอสเป็นปัญหาที่พบมากบนเที่ยวบินระยะไกลและพบได้มากในน่านฟ้ารัสเซีย[13] นักบินได้ปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยในสถานการณ์แล้ว[13]
เครื่องบินได้เปลี่ยนเส้นทางบินเพื่อลงจอดที่ท่าอากาศยานอุยตัชในมาฮัชคาลา สาธารณรัฐดาเกสตาน ประเทศรัสเซียหลังสภาพอากาศย่ำแย่ในกรอซนืย แต่ที่มาฮัชคาลาก็มีสภาพอากาศย่ำแย่ด้วยเช่นเดียวกัน จึงได้เปลี่ยนเส้นทางลงจอดที่อักเตา ประเทศคาซัคสถาน[14][15] เครื่องบินทำการบินที่ความสูง 30,000 ฟุต (9,144 เมตร) เมื่อสัญญาณเรดาร์ขาดหายในเวลา 08:40น. ตามเวลาท้องถิ่น (04:40 UTC) ก่อนที่สัญญาณจะกลับมาเชื่อมต่ออีกครั้งเมื่อเครื่องบินผ่านบริเวณชายฝั่งทะเลแคสเปียนของคาซัคสถานเมื่อเวลาประมาณ 10:07น. ตามเวลาท้องถิ่น (06:07 UTC)[16]
ลูกเรือได้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือโดยส่งสัญญาณ 7700 เมื่อเวลา 09:35น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC+05:00) และรายงานความขัดข้องของระบบควบคุมเครื่องบิน[9] จากนั้น ลูกเรือได้ขออนุญาตลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตาในอักเตา คาซัคสถาน เมื่อเวลา 09:49น. และพยายามทำการบินโดยใช้กฎการบินโดยตรง (Direct mode) เครื่องบินปรากฎบนเรดาร์เมื่อเวลา 10:07น. ขณะบินอยู่เหนือทะเลแคสเปียนมุ่งหน้าสู่อักเตา[5]
นักบินได้นำเครื่องบินบินวนอยู่ใกล้ท่าอากาศยานอักเตาอยู่สองรอบ โดยขณะที่จะทำการวนครั้งที่สาม[17] ในเวลา 11:30น. ตามเวลาท้องถิ่นคาซัคสถาน[18] เครื่องบินได้พุ่งชนกับพื้นดิน โดยปีกขวาได้ชนเข้ากับพื้นเป็นส่วนแรก ก่อนที่จะเกิดการระเบิดและลำตัวเครื่องได้แยกออกเป็นสองส่วนโดยส่วนหัวถูกทำลายโดยถูกไฟไหม้จากการระเบิด ในขณะที่ส่วนหางไม่ได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดหรือการพุ่งชนมากนัก อุบัติเหตุในครั้งนี้ถูกจับภาพได้ โดยวิดีโอที่ถ่ายได้แสดงให้เห็นว่าเครื่องบินได้กางล้อลงจอดแล้ว[19] เจ้าหน้าที่กู้ภัยมาถึง และดับเพลิงได้สำเร็จในเวลา 12.05น. ตามเวลาท้องถิ่น[18]
จากผู้โดยสาร 67 คนบนเครื่องบิน 29 คนรอดชีวิต และ 38 คนเสียชีวิต ส่วนลูกเรือ 5 คนบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 3 คนรอดชีวิต ส่วนนักบิน 2 คนเสียชีวิตในอุบัติเหตุครั้งนี้[20] โดยเจ้าหน้าที่ได้ระบุว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ[21] ผู้รอดชีวิตทั้ง 29 คน[22] รวมเด็กสองคน ได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล[23] โดย 11 คนได้รับบาดเจ็บสาหัสและอยู่ในสภาวะอันตราย[24][25]
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]เหตุการณ์ | เวลา (ท้องถิ่นอาเซอร์ไบจาน; UTC+5) |
---|---|
เครื่องบินขึ้นบินออกจากบากู | 07:55[26] |
เครื่องบินหายออกจากเรดาร์ | 08:40[16] |
นักบินส่งสัญญาณ 7700 | 09:35[9] |
นักบินขออนุญาตลงจอดฉุกเฉิน | 09:49[5] |
เครื่องบินเข้าน่านฟ้าคาซัคสถาน | 10:02 (11:02 เวลาท้องถิ่นคาซัคสถาน)[18] |
เครื่องบินปรากฏบนเรดาร์ | 10:07 (11:07 เวลาท้องถิ่นคาซัคสถาน)[5] |
เครื่องบินพุ่งชนกับพื้นดิน | 10:30 (11:30 เวลาท้องถิ่นคาซัคสถาน)[17] |
เจ้าหน้าที่กู้ภัยดับไฟสำเร็จ | 11:05 (12:05 เวลาท้องถิ่นคาซัคสถาน)[18] |
เครื่องบิน
[แก้]เครื่องบินที่เกิดเหตุคือเอ็มบราเออร์ อี190เออาร์ ทะเบียน 4K-AZ65 และหมายเลขสายการผลิตที่ 19000630 เครื่องบินลำนี้ใช้เครื่องยนต์ เจเนอรัลอิเล็กทริก ซีเอฟ34-10อี6 สองเครื่อง โดยเครื่องบินมีอายุ 11.6 ปี ณ วันเกิดเหตุและถูกส่งมอบให้อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 และได้โอนย้ายไปยังสายการบินลูก บูตาแอร์เวย์ ก่อนที่โอนย้ายกลับคืนหลังผนวกกิจการของสายการบินลูกกลับเข้ามาในปี 2023[11]
ผู้โดยสารและลูกเรือ
[แก้]เครื่องบินที่เกิดเหตุบรรทุกผู้โดยสาร 62 คนและลูกเรือ 5 คน โดย 37 คนเป็นชาวอาเซอร์ไบจาน 16 คนเป็นชาวรัสเซีย 6 คนเป็นชาวคาซัคสถาน และ 3 คนเป็นชาวคีร์กีซ โดยลูกเรือทั้ง 5 คนเป็นชาวอาเซอร์ไบจานทั้งหมด[27] บนเที่ยวบินมีเด็กโดยสารมาด้วย 4 คน[28] ในเที่ยวบินนี้ กัปตันอากูร์ คัชนิกันเป็นผู้ทำการบิน[29]
ประเทศ | ผู้โดยสาร | ลูกเรือ | รวม | รอดชีวิต | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
อาเซอร์ไบจาน | 37 | 5 | 42 | 17 | [30][31][15] |
คาซัคสถาน | 6 | — | 6 | — | [30][31][15] |
คีร์กีซสถาน | 3 | — | 3 | 3 | [30][31][15][32] |
รัสเซีย | 16 | — | 16 | 9 | [30][15][31] |
รวม | 62 | 5 | 67 | 29 |
ผลสืบเนื่อง
[แก้]หลังเกิดอุบัติเหตุ มีการประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตตุปคารากัน ซึ่งเป็นจุดที่เครื่องบินตก[33] มีเจ้าหน้าที่ตอบสนองเหตุฉุกเฉินรวม 482 นาย อุปกรณ์พิเศษ 97 ชิ้น กองพันสุนัขตำรวจ 10 กองพัน และเครื่องบิน 2 ลำ ได้รับการส่งไปยังจุดเกิดเหตุ[34] มีการส่งแพทย์เพิ่มเติมจากอัสตานาเพื่อรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ[5] ศูนย์บริจาคโลหิตของแคว้นมังเฆิสเตาได้ติดต่อไปยังประชาชนเพื่อขอให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงบริจาคโลหิต และได้มีผู้คนเข้ามาบริจาคโลหิตมากมาย[35] โดยมีผู้บริจาคมากกว่า 300 คน[36] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินของรัสเซียได้นำอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์เดินทางไปยังคาซัคสถานเพื่อช่วยตอบสนองต่ออุบัติเหตุ[12] ต่อมาทางกระทรวงฯ กล่าวว่าจะส่งพลเมืองรัสเซียที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวไปที่มอสโกทางอากาศ[37] มีการจัดตั้งศูนย์วิกฤตขึ้นที่สถานกงสุลรัสเซียในโวรัล ขณะเดียวกันก็ส่งเจ้าหน้าที่การทูตไปยังสถานที่เกิดอุบัติเหตุด้วย[38] นอกจากนี้ยังได้มีการส่งตัวแทนจากสถานกงสุลอาเซอร์ไบจานในอักเตาไปที่สถานที่เกิดอุบัติเหตุด้วย[39] ทีมแพทย์พิเศษและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องยังได้รับการส่งมาจากอาเซอร์ไบจานด้วย[40]
อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ระงับเที่ยวบินบากู-กรอซนืย-บากู และบากู-มาฮัชคาลา-บากู ระหว่างช่วงเวลาการสอบสวน[41] และยังได้เปิดสายด่วนสำหรับญาติของผู้โดยสารอีกด้วย[5] พร้อมกันนี้ยังได้เปลี่ยนภาพปกผู้ใช้บนโซเชียลมีเดียเพื่อไว้ทุกข์ต่อผู้เสียชีวิต[12]
กล่องดำ
[แก้]ในวันเกิดเหตุทีมค้นหาได้พบกล่องดำของเครื่องบินแล้ว[42][43][44]
ปฏิกิริยา
[แก้]ประธานาธิบดีเซอร์เบีย อาเล็กซานดาร์ วูชิช[45] นายกรัฐมนตรีปากีสถาน เชห์บาซ ชะรีฟ[46] ประธานาธิบดีซคีร์กีซ ซาดีร์ จาปารอฟ[47] ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน[48] ประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน[49] รวมถึงสถานทูตสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร[50] ฝรั่งเศส[51] ลิทัวเนีย[52] อิสราเอล[53] และกระทรวงต่างประเทศของจอร์เจีย [54] โรมาเนีย[55] และตุรกี[56] ได้แสดงความเสียใจต่ออาเซอร์ไบจานเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินตกนี้
ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน อิลฮัม แอลีเยฟ ได้เดินทางกลับบากูหลังจากเกิดเหตุเครื่องบินตก ตามรายงานของสื่อรัสเซียและแหล่งข่าวคาซัคสถาน [57]
การสืบสวน
[แก้]ทั้งอาเซอร์ไบจานและคาซัคสถานเปิดคณะกรรมาธิการเพื่อสอบสวนภัยพิบัติครั้งนี้[58][4] คณะกรรมาธิการคาซัคสถานนำโดยรองนายกรัฐมนตรี คานาต โบซุมบาเยฟ ในขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินของคาซัคสถาน ชินกิส อารินอฟ ก็ได้เดินทางไปเยือนเมืองอักเตาด้วยเช่นกัน[59] คณะกรรมาธิการอาเซอร์ไบจานจะนำโดยนายกรัฐมนตรีแอลี แอแซดอฟ[60] อาเซอร์ไบจานได้ส่งคณะผู้แทนซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีสถานการณ์ฉุกเฉิน อัยการรอง และรองประธานสายการบินอาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ไปยังเมืองอักเตา เพื่อดำเนินการสืบสวนในสถานที่เกิดเหตุ[12] แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับการสืบสวนอ้างว่า ขณะเครื่องบินใกล้ถึงเมืองกรอซนืย ผู้โดยสารที่รอดชีวิตระบุว่าได้ยินเสียงระเบิดตามมาด้วยสิ่งที่อธิบายว่าเป็นเศษสะเก็ดระเบิดที่พุ่งใส่และทะลุเข้าไปในเครื่องบิน[61]
ทฤษฎี
[แก้]เมื่อเช้าวันที่ 25 ธันวาคม เวลาประมาณ 07:25 น. ตามเวลาท้องถิ่น (04:25 UTC) มีรายงานการโจมตีด้วยอากาศยานไร้คนขับอย่างต่อเนื่องในเมืองกรอซนืย โดยอ้างว่าเป็นฝีมือของกองกำลังยูเครน[62] หลังจากนั้นไม่นาน เวลา 09:35 น. ตามเวลาท้องถิ่น (06:35 UTC) ลูกเรือของเครื่องบินโดยสารได้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือด้วยการส่งสัญญาณว่า 7700 บนเครื่องส่งสัญญาณ[9] ตามรายงานของ ไฟล์ทเรดาร์24 เครื่องบินประสบปัญหาการรบกวนจีพีเอสโดยมีข้อมูลตำแหน่งจากเอดีเอส-บีที่ไม่ถูกต้องเริ่มตั้งแต่เวลา 04:25 UTC เนื่องมาจากมีสัญญาณรบกวนอย่างมาก[63]
ภายหลังการตก ได้มีการพบความเสียหายต่อเครื่องบินมาก รวมถึงรอยสะเก็ดระเบิดที่แพนหางดิ่งและปีก ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการระเบิดเกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง[64] คำบอกเล่าของพยานได้กล่าวถึงอาการบาดเจ็บ โดยมีผู้หญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ขา และเสื้อชูชีพของพยานอีกคนถูกสะเก็ดระเบิดทิ่มแทง[65] นักวิเคราะห์ทางการทหาร ยาน มัตเวเยฟ ตั้งสมมติฐานว่าระบบต่อต้านอากาศยานของรัสเซีย ซึ่งอาจเป็นปันซีร์-เอส1 อาจเข้าใจผิดว่าเครื่องบินในเที่ยวบินที่ 8243 เป็นอากาศยานไร้คนขับเนื่องจากระบบระบุตัวตนแบบ "มิตรหรือศัตรู" ล้มเหลว[64] ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ ทูร์เคยทูเดย์ ว่ารูปแบบความเสียหายจากสะเก็ดระเบิดที่เกิดขึ้นทั่วลำตัวเครื่องบินและส่วนหางเครื่องบินนั้นไม่สอดคล้องกับความเสียหายที่เกิดจากการถูกนกชน แต่กลับคล้ายกับความเสียหายที่เกิดจากกระสุนปืนต่อสู้อากาศยาน เว็บไซต์ ทูร์เคียทูเดย์ ยังระบุด้วยว่า "ความเข้มข้นของรูเจาะในส่วนหางเครื่องบินบ่งชี้ถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับระบบไฮดรอลิก ซึ่งคล้ายกับอุบัติเหตุของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 232"[66] เว็บไซต์ มิลิตาร์นีย์ ยังได้สังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างเที่ยวบินนี้กับเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-22พีพีที่เคยเกิดเหตุได้รับความเสียหายจากขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานมาก่อน โดยระบุว่า "สามารถเห็นความคล้ายคลึงของความเสียหายและจำนวนของรูบนตัวถัง ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความเสียหายจากสะเก็ดระเบิดแรงสูง"[67] นิตยสาร เมดูซา ได้กล่าวถึงหลักฐานที่มีลักษณะคล้ายกันซึ่งชี้ให้เห็นว่าเครื่องบินถูกโจมตีโดยระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย[68]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ยูเครนอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลนส์ เที่ยวบินที่ 752
- มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17
- อิหร่านแอร์ เที่ยวบินที่ 655
- โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Accident Embraer ERJ-190AR 4K-AZ65, Wednesday 25 December 2024". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ 2.0 2.1 "Prosecutor General's Office: According to latest information, 32 people onboard the aircraft are alive and receiving treatment". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijan Airlines plane crashes near Kazakhstan's Aktau airport". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ 4.0 4.1 "Dozens killed as passenger plane crashes in Kazakhstan". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Passenger plane crashes in Kazakhstan, emergencies ministry says". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Reuters. 2024-12-25. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijan Airlines Plane Crashes In Kazakhstan". Barron’s (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijan Airlines plane carrying 67 passengers crashes near Aktau during emergency landing". Dimsum Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ Tayir, Hassan; Vlasova, Svitlana; Butenko, Victoria; Lilieholm, Lucas; Szekeres, Edward (25 December 2024). "Plane carrying 67 people crashes in Kazakhstan, officials say; more than 20 survive". CNN. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Survivors of the Aktau plane crash were sitting in the tail section of the plane". www.interfax.ru. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ Bagirova, Nailia (26 December 2024). "Russian air-defense system downed Azerbaijan plane, sources say". Reuters. สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ 11.0 11.1 Ranter, Harro. "Accident Embraer ERJ-190AR 4K-AZ65, Wednesday 25 December 2024". asn.flightsafety.org. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "Azerbaijani airliner with 67 people onboard crashes in Kazakhstan leaving 32 survivors". Associated Press. 25 December 2024. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ 13.0 13.1 "'GPS jamming quite routine on long-haul flights". Times of India. October 2023. สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ "The Aviation Herald". avherald.com.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 "Dozens feared dead after passenger plane crashes in Kazakhstan". NBC. 25 December 2024. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ 16.0 16.1 "38 Killed After Azerbaijan Airlines Plane Crashes in Kazakhstan". The Moscow Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ 17.0 17.1 "Kazakh Transport Ministry: AZAL plane made two turns in airspace before crash". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 "Chronology of the Azerbaijan Airlines plane crash near Aktau". Kazinform. 26 December 2024. สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ "Azerbaijan Airlines Jet Crashes in Kazakhstan, Killing Dozens". The New York Times. 25 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2024. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
One photograph appeared to show the tail of the plane largely intact, though it had been separated from the fuselage.
- ↑ "Three crew members survive AZAL plane crash in Aktau". caliber.az. 26 December 2024. สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ "Azerbaijan's Consul General: None died either on the way or in the hospital following the plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ "Plane crash: Casualties and the injured, quick reaction of Azerbaijani leadership, fraternal support of Kazakhstan-RESUME". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Diaspora organization chairman: Some injured in plane crash are in critical condition, others in moderate-to-severe condition". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "11 injured in AZAL plane crash in Aktau are in critical condition". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "List of injured in AZAL plane crash announced". Apa.az. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ Astier, Henri (26 December 2024). "Russia warns against 'hypotheses' after Azerbaijan Airlines crash". BBC News. สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ "Number of casualties in plane crash near Aktau confirmed". apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Four minors were on board crashed AZAL aircraft, reports say". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Kazaya uğrayan uçak son kontrolden ne zaman geçti? - RESMİ AÇIKLAMA" [When did the plane that suffered the accident pass its final inspection? - OFFICIAL STATEMENT]. oxu.az (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 "Number of Azerbaijani citizens, died in plane crash in Aktau, revealed". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-26.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 "Number of casualties in plane crash near Aktau confirmed". 2024-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijani airliner with 67 people onboard crashes, yet dozens may have survived". NPR. Associated Press. 2024-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ Seilkhanov, Adlet (25 December 2024). "Local state of emergency declared near AZAL plane crash site". Kazinform. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ "Kazakh Emergency Ministry: Information exchange conducted with Azerbaijan and Russia on plane crash - VIDEO". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ Haidir, Aida (25 December 2024). "Aktau Residents Donate Blood After Baku-Grozny Flight Crash". The Astana Times. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ "Azerbaijani resident of Aktau: Nearly 300 people have gathered to participate in blood donation campaign". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Russia's Emergency Ministry aircraft to transport Russian citizens injured in the crash to Moscow". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Russia's Consulate General in Uralsk establishes task force on plane crash in Aktau". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Diplomatic mission: Representatives of Azerbaijan's Consulate General in Aktau are at plane crash site". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijan sends special medical staff, equipment to Aktau following plane crash". news.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "AZAL suspends flights from Baku to Grozny and Makhachkala". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ Tayir, Hassan; Zeinulla, Aruzhan; Fox, Kara (25 December 2024). "Azerbaijan Airlines plane crashes in Kazakhstan, leaving 38 dead, 29 survivors, officials say". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 December 2024.
- ↑ ""Black box" from crashed AZAL plane near Aktau recovered". azertag.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-26.
- ↑ "Children among 29 survivors as plane crash kills 38 in Kazakhstan". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2024-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-26.
- ↑ "Serbian President extends condolences to Azerbaijan over plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Pakistani Prime Minister Shahbaz Sharif expresses condolences to Azerbaijan over plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Sadyr Japarov expresses condolences to Ilham Aliyev over plane crash in Aktau". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Russian President expresses condolences to Azerbaijani President over plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Turkish President Recep Tayyip Erdogan offers condolences following Azerbaijan Airlines plane crash in Aktau". Apa.az (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ABŞ və Böyük Britaniya səfirlikləri təyyarə qəzası ilə bağlı Azərbaycana başsağlığı verib". Apa.az (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "French Embassy in Azerbaijan expresses condolences over plane crash in Aktau". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Lithuanian envoy to Azerbaijan expresses condolences over plane crash in Aktau". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Ambassador: Israel stands ready to provide any assistance necessary regarding plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Georgian MFA expresses condolences to Azerbaijan over plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Romanian FM expresses condolences to Azerbaijan over plane crash". Report.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Turkish MFA expresses condolences to Azerbaijan over plane crash". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ tengrinews.kz (2024-12-25). "Plane crash in Aktau: Azerbaijani president returns to Baku". Главные новости Казахстана - Tengrinews.kz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijani president decrees to establish state commission for plane crash investigation". news.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Kazakh Emergency Minister Chingis Arinov arrives in Aktau". Kazinform (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Measures underway to organize evacuation of Azerbaijani citizens receiving treatment in Aktau". Apa.az (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Air missile accident emerges as probable cause of crash tragedy". Euronews. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Explosions ring out in Grozny: UAV attack is ongoing - Russian media". Censor.net. 2024-12-25.
- ↑ "Azerbaijan Airlines E190 crashes near Aktau – Flightradar24 Blog" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ 64.0 64.1 "Самолет мог быть поврежден зенитной ракетой". Ян Матвеев – о версии авиакатастрофы в Казахстане из-за работы российской ПВО ["The plane could have been damaged by an anti-aircraft missile." Yan Matveyev on the version of the plane crash in Kazakhstan due to the work of Russian air defense] (ภาษารัสเซีย). 2024-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25 – โดยทาง www.currenttime.tv.
- ↑ "Azerbaijani resources report that a passenger on an Embraer plane was wounded by shrapnel while still in the air - Pravda EN". news-pravda.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
- ↑ "Growing evidence suggests Azerbaijan Airlines flight was targeted by missile strike". Türkiye Today. 25 December 2024. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ "Baku-Grozny Flight Crashes Over Russia: Evidence Points to Possible Air Defense Hit". Militarnyi. 25 December 2024. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ "Was Azerbaijan Airlines Embraer jet shot down?", Meduza, 25 ธันวาคม 2024
{{citation}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์), Wikidata Q131557744