อาหารปลอมในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาหารปลอมในหน้าต่างแสดงสินค้าในประเทศญี่ปุ่น

อาหารปลอมที่ทำจากพลาสติก มีแสดงตามหน้าต่างและตู้แสดงสินค้าในร้านอาหารที่เสิร์ฟอาหารทั่วประเทศญี่ปุ่น อาหารปลอมเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยทำจากขี้ผึ้ง ปัจจุบันมักทำจากพลาสติก[1] แบบจำลองอาหารพลาสติกมักทำด้วยมือจากพอลิไวนิลคลอไรด์ และแกะสลักอย่างระมัดระวังเพื่อให้ดูเหมือนอาหารจริง[2] แบบจำลองอาหารจะได้รับการตกแต่งตามภัตตาคารแต่ละแห่ง และแม้แต่อาหารทั่วไปอย่าง ราเม็ง จะได้รับการดัดแปลงให้เข้ากับอาหารในแต่ละร้านได้[3] ระหว่างกระบวนการหล่อ ส่วนประกอบอาหารที่เลียนแบบมามักถูกหั่นเป็นชิ้นและรวมกันคล้ายกับการทำอาหารจริง

งานหัตถกรรมดังกล่าวกลายเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง อาหารญี่ปุ่นพลาสติกผลิตโดยบริษัทไมซุรุตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ต กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษใน ค.ศ. 1980[3] มีการแข่งขันทำอาหารปลอมด้วยพลาสติกและวัสดุอื่น ๆ อาหารที่แสดงเรียกว่า ซัมปุรุ (サンプル) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "sample"

ผู้ผลิตอาหารพลาสติกปกปิดความลับทางการค้าอย่างเข้มงวดเนื่องจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ อุตสาหกรรมอาหารพลาสติกในญี่ปุ่นมีการประมาณว่ามีรายได้ถึงหลายพันล้านเยนต่อปี[4] ร้านอาหารแต่ละร้านอาหารอาจสั่งผลิตเมนูอาหารพลาสติกที่มีมูลค่ามากกว่าหนึ่งล้านเยน

ในปัจจุบัน ผู้ผลิตอาหารพลาสติกได้เป็นตลาดเป้าหมายในต่างประเทศ เช่น จีน และเกาหลีใต้ด้วย[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hungry Days For Fake-Food Firms -- Profits Fall For Japan's Innovators". The Seattle Times. Associated Press. January 2, 1994.
  2. "Delicious Vinyl: Japan's Plastic Food Replicas". Sake-Drenched Postcards. สืบค้นเมื่อ May 20, 2011.
  3. 3.0 3.1 Lubarsky, Jared (December 29, 1985). "Shopper's World; It Looks Good Enough To Eat". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-12-19.
  4. Yoko Hani, "A Feast for the Eyes", Japan Times, November 24 2002.
  5. Japan's Plastic Food", Oddity Central