อาสนวิหารนักบุญจอร์จ (ตีมีชออารา)
อาสนวิหารนักบุญจอร์จ | |
---|---|
Catedrala Sf. Gheorghe | |
![]() | |
ศาสนา | |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
สถานะองค์กร | อัครสังฆมณฑลโรมันคาทอลิกตีมีชออารา |
ผู้อุปถัมภ์ | นักบุญจอร์จ |
ปีที่อุทิศ | 1803 |
สถานะ | เปิด |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | จัตุรัสสหภาพ ตีมีชออารา |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 45°45′29″N 21°13′49″E / 45.75806°N 21.23028°E |
สถาปัตยกรรม | |
สถาปนิก | Joseph Emanuel Fischer von Erlach |
รูปแบบ | บาโรก |
ลงเสาเข็ม | 1736 |
เสร็จสมบูรณ์ | 1774 |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความยาว | 55 m |
ความกว้าง | 22 m |
ความสูงสูงสุด | 35.5 m |
โดม | 2 |
วัสดุ | อิฐ |
อาสนวิหารนักบุญจอร์จ (โรมาเนีย: Catedrala Sf. Gheorghe) หรือเรียกด้วยภาษาปากว่า โดมโรมันคาทอลิก (โรมาเนีย: Domul Romano-Catolic) เป็นอาสนวิหารประจำอัครสังฆมณฑลโรมันคาทอลิกตีมีชออารา และเป็นจุดหมายตาสำคัญของเมือง อาสนวิหารอุทิศแด่นักบุญจอร์จ และสร้างขึ้นในปี 1736 ถึง 1774 อาสนวิหารถือเป็นศาสนสถานที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมบาโรกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ รองมาจากอาสนวิหารบาซิลิกาแห่งโอราเดีย พิธีสักการะจัดในอาสนวิหารเป็นภาษาฮังการี, เยอรมัน และ โรมาเนีย
ประวัติศาสตร์
[แก้]การก่อสร้างอาสนวิหารสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วง คือในปี 1736–1751 และ 1755–1774 เข้าใจกันว่าผู้ร่างแบบของอาสนวิหารคือ Joseph Emanuel Fischer von Erlach ผู้ซึ่งในเวลานั้นเป็นผู้อำนวยการสำนักก่อสร้างหลวงในเวียนนา และผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมบาโรก อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ยืนยันข้อเท็จจริงนี้ปรากฏ[1] เอกสารจากศตวรรษที่ 18 ชื่อว่า Wienerische Diarium ระบุว่าแปลนของอาสนวิหารร่างขึ้นโดย Johann Jakob Schellbauer ที่ปรึกษาประจำนครเวียนนา[1] อาสนวิหารประจำอัครสังฆมณฑลแห่งเดิมอยู่ที่เซนัด ซึ่งต่อมาถูกถล่มโดยพวกเติร์ก และได้ย้ายไปยังเซเกด ในปี 1733 จักรพรรดิชาลส์ที่หกได้ย้ายอาสนวิหารประจำอัครสังฆมณฑลมายังตีมีชออารา ในสมัยบิชอปของ Adalbert von Falkenstein ซึ่งเป็นที่มาของการก่อสร้างอาสนวิหารขึ้น พิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม 1736[1][2] หลังก่อสร้างได้หนึ่งปีก็ต้องหยุดก่อสร้างไปเพราะสงครามกับเติร์ก หลังการเสียชีวิตของ Adalbert von Falkenstein ในปี 1739 Nikolaus Stanislavich ผู้หลบหนีดติร์กมาจากกราอีโอวาได้สืบทอดตำแหน่งและมีคำสั่งให้กลับมาก่อสร้างต่อ การก่อสร้างดำเนินไปมากที่สุดในปี 1746–1747[3] ต่อมา บิชอป Franz Anton Engl von Wagrain ผู้สืบตำแหน่งคนต่อมา ได้ผลักดันการก่อสร้างอาสนวิหารต่อไปอีกในปี 1751–1752[3] ในวันที่ 8 กันยายน 1754 (ตรงกับวันฉลองการสมภพของแม่พระมารีย์) บิชอปได้จัดพิธีมิสซาแรกขึ้นที่อาสนวิหาร ถึงแม้ว่าในเวลานั้นอาสนวิหารจะก่อสร้างเสร็จไปเพียงครึ่งเดียว และใช้เพิงไม้กั้นอีกครึ่งหนึ่งที่ยังก่อสร้างอยู่ออก พิธีมิสซาโซเลมน์มีขึ้นด้วยเริ่มแสดงดนตรี Missa in honorem Sanctissimae Trinitatis ผลงานประพันธ์ของ Michael Haydn ให้กับโอกาสนี้เป็นพิเศษ[4]
การก่อสร้างในระยะที่สองมีขึ้นในปี 1755 ถึง 1774 ภายใต้การดูแลของวิศวกร Carl Alexander Steinlein และ Johann Theodor Kostka Edler ในการก่อสร้างระยะสองนี้ได้มีการต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปของอาสนวิหาร, สร้างหอคอยสองหอจนเสร็จ และสานต่องานประดับหินในบริเวณเนฟจนเสร็จ ฟาซาดของหอคอนและโถงทางเข้าเป็นส่วนที่ได้รับการใส่ใจมากในการก่อสร้างเป็นพิเศษ ทั้งสองส่วนได้กลายมาเป็นลักษณะสำคัญที่โดดเด่นของอาสนวิหารสืบเนื่องต่อมา[3] ในปี 1761 หอคอยสร้างแล้วเสร็จ แต่คลุมไว้ด้วยไม้กระดาน (clapboards) เพราะการก่อสร้างโดมทองแดงใช้ทุนสูงเกินไปกว่าที่ราชสำนักที่เวียนนาจะอุดหนุนให้ได้ Carl Joseph Römmer ได้เสนอการปรับปรุงแก้ไขแปลนอาสนวิหารในศตวรรษที่ 18 ที่ซึ่งเขาเสนอให้สร้างปอร์ตีโกเพิ่มเข้ามา[2] พิธีอุทิศอาสนวิหารแด่นักบุญจอร์จ มีขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 1803 ตรงกับหนึ่งวันหลังวันฉลองของนักบุญจอร์จ องค์อุปถัมภ์แห่งอาสนวิหาร[2] ผู้ประกอบพิธีเสกอาสนวิหารคือบิชอป Ladislaus Kőszeghy von Remete[4]
ในปี 1756 อาสนวิหารได้รับการยกระดับขึ้นเป็นโบสถ์แรกแห่งตีมีชออารา (first church of Timișoara) โดยดำริจากจักรพรรดินี Maria Theresa[5] ในปี 1788 ถึง 1790 ที่ซึ่งมีการรบกับเติร์ก อาสนวิหารถูกใช้เป็นโกดังเก็บเหลือและเสบียงของกองทัพ[6] และในการยึดนครตีมีชออาราเมื่อปี 1849 อาสนวิหารถูกใช้งานเป็นที่พักพิงของพลเมือง ในเหตุการณ์เดียวกันนี้ อาสนวิหารยังถูกโจมตีอย่างหนัก[7] มีการทิ้งระเบิดทะลุหลังคาของอาสนวิหาร ในตอนนั้นพลเมืองที่หลบภัยในอาสนวิหารต้องหนีลงไปในสุสานใต้ดินของอาสนวิหาร ที่ซึ่งไว้ร่างของบิชอปและศาสนบุคคลที่สำคัญแห่งเซนัด กับขุนนางมากมาย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 von Schuster, Else. Timișoara, "Mica Vienă" de altă dată. pp. 10–11.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Opriș, Mihai (2007). Timișoara. Monografie urbanistică. Vol. 1. Timișoara: Brumar. pp. 76–78. ISBN 9789736022456. OCLC 315888917.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Diplich, Hans (1972). Die Domkirche in Temeswar. Ein Beitrag zu ihrer Baugeschichte. Munich: Verlag des Südostdeutschen Kulturwerkes.
- ↑ 4.0 4.1 Călin, Claudiu. "Biserici Romano-Catolice existente azi pe teritoriul orașului Timișoara". Banaterra. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-27.
- ↑ "Domul Romano-Catolic, Timișoara". Welcome to Romania.
- ↑ 6.0 6.1 Iszlai, Erika (24 March 2022). "Domul Catolic din Piața Unirii - depozit de sare și ascunzătoare în timpul asediului". TION.
- ↑ Delesega, Gyula (2018). Temesvári kalauz téridőben (PDF). Szórvány Alapítvány. pp. 93–95.