อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย เดินทางมาถึงท่าเรือนิวยอร์ก ในปี ค.ศ. 1907
ประวัติ
สหราชอาณาจักร
ชื่ออาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania)
ตั้งชื่อตามลูซิเทเนีย (จังหวัดของโรมันโบราณ)
เจ้าของ คิวนาร์ดไลน์[1]
ผู้ให้บริการคิวนาร์ดไลน์
เส้นทางเดินเรือลิเวอร์พูลนิวยอร์ก แวะที่แชร์บูร์ก และคอร์ก
อู่เรือจอห์นบราวน์แอนด์คอมพานี, ไคลด์แบงก์, สกอตแลนด์
Yard number367
ปล่อยเรือ17 สิงหาคม 1904
สร้างเสร็จ26 สิงหาคม 1907
Maiden voyage7 กันยายน 1907[1]
บริการ1907–1915
หยุดให้บริการ7 พฤษภาคม 1915
รหัสระบุ
ความเป็นไปอัปปางโดยตอร์ปิโดของเรือดำน้ำ U-20 ของเยอรมันในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 ซากเรืออยู่ห่างประภาคาร Old Head of kinsale ประมาณ 11 ไมล์ (18 กม.) ที่ความลึก 305 ฟุต (93 เมตร) ในตำแหน่ง 51°25'N 8°33'W
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: ชั้นลูซิเทเนีย
ประเภท: เรือเดินสมุทร
ขนาด (ตัน): 31,550 ตันกรอส (GRT)[2][3]
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 44,767 ตัน [3]
ความยาว: 239.9 เมตร (787 ฟุต)[4][1][2]
ความกว้าง: 26.5 เมตร (87 ฟุต)
ความสูง: 43.9 เมตร (144 ฟุต) จากกระดูกงูถึงปลายปล่องไฟ
กินน้ำลึก: 10.2 เมตร (33.6 ฟุต)
ดาดฟ้า: 9 ชั้น
ระบบพลังงาน:
  • หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire-tube boilers) จำนวน 25 ชุด
  • กังหันไอน้ำพาร์สันส์ (Parsons) 4 ตัว ขับเคลื่อนใบจักรโดยตรง ให้กำลัง 76,000 แรงม้า (57 เมกะวัตต์)
ระบบขับเคลื่อน: ใบจักร 4 ตัว แต่ละตัวมีขนาด 17 ฟุต (5.1 เมตร) หนักละ 21 ตัน พวงใบจักรมี 3 ใบ (4 ใบในปี 1909)
ความเร็ว: ความเร็วสูงสุด: 26.7 นอต (49.4 กม./ชม.) ความเร็วมาตรฐาน: 25 นอต (46.3 กม./ชม.)[1][2]
ความจุ:
  • ผู้โดยสาร 2,198 คน
    • ชั้นหนึ่ง 552 คน
    • ชั้นสอง 440 คน
    • ชั้นสาม 1,186 คน
ลูกเรือ: 850 คน[1]
หมายเหตุ: เป็นเรือเดินสมุทรสี่ปล่องไฟลำแรกของอังกฤษ

อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (อังกฤษ: RMS Lusitania) หรือชื่อเต็มคือ เรือไปรษณีย์หลวงลูซิเทเนีย (Royal Mail Steamer Lusitania) เป็นเรือเดินสมุทรสัญชาติอังกฤษ ของสายการเดินเรือคิวนาร์ด (Cunard Line) ที่ครอบครองรางวัลบลูริบันด์ (Blue Riband) ซึ่งมอบให้กับเรือที่เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเวลาน้อยที่สุด และเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น เดินสมุทรครั้งแรกในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การค้าขายระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นไปอย่างคึกคักและมีการแข่งขันที่รุนแรง ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 เรือลูซิเทเนียถูกยิงด้วยตอร์ปิโดและอับปางลงโดยเรือดำน้ำของเยอรมัน คร่าชีวิตลูกเรือและผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 1,198 คน

ในขณะนั้น สายการเดินเรือสมุทรของเยอรมันมีแน้วโน้มที่จะผูกขาดเส้นทางเดินเรือสมุทรอันมั่งคั่งจากการอพยพย้ายถิ่นข้ามทวีป สายการเดินเรือคิวนาร์ดจึงตอบโต้คู่แข่งด้วยการสร้างเรือที่เหนือกว่าในเชิงของความเร็ว ความจุผู้โดยสาร และความหรูหรา อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย และเรือคู่แฝด อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย จึงถูกสร้างขึ้นจากเครื่องยนต์กังหันไอน้ำแบบใหม่ที่ปฏิวัติวงการเดินเรือสมุทร ทำให้เรือสามารถแล่นด้วยความเร็วสูงสุด 25 นอตต่อชั่วโมง ภายในมีการติดตั้งลิฟต์ โทรเลขไร้สาย และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง อีกทั้งยังมีพื้นที่รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 มากกว่าเรือเดินสมุทรลำอื่น ๆ รวมไปถึงพื้นที่ของผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขานถึงการตกแต่งที่หรูหราและโอ่อ่า

ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 เรือได้แล่นออกจากท่าที่นครนิวยอร์กมุ่งหน้าสู่ลิเวอร์พูล ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นการเดินทางเที่ยวสุดท้ายของเรือ ช่วงเวลานั้นเองที่การสู้รบด้วยเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตในมหาสมุทรแอตแลนติกอันเป็นส่วนหนึ่งของการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้น ก่อนหน้านี้เยอรมนีได้ประกาศให้น่านน้ำรอบสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เป็นเขตสู้รบ ส่วนสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีในสหรัฐอเมริกาเองก็ได้ลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ กล่าวเตือนประชาชนไม่ให้โดยสารไปกับเรือลูซิเทเนีย

ต่อมา ในบ่ายของวันที่ 7 พฤษภาคม อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย ถูกเรืออูเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่ภายในเขตน่านน้ำที่ถูกประกาศให้เป็นเขตสู้รบ ซึ่งห่างจากแนวชายฝั่งของไอร์แลนด์เป็นระยะทาง 11 ไมล์ (18 กิโลเมตร) เกิดการระเบิดขึ้นจากภายในเรือสองครั้ง ทำให้เรืออับปางลงภายในระยะเวลา 18 นาทีหลังจากการระเบิดครั้งที่สอง

จากการโจมตีเรือพลเรือนโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าในครั้งนี้ เยอรมนีได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่รู้จักกันในนาม กฎเรือเดินสมุทร (Cruiser Rules) แต่กระนั้นเองฝ่ายเยอรมันก็มีเหตุผลของตนที่จะพิจารณาลูซิเทเนียว่าเป็นเรือรบของกองทัพ เพราะว่าภายในเรือได้บรรทุกยุทโธปกรณ์สงครามที่ซึ่งฝ่ายอังกฤษเองก็ได้ละเมิดกฎเรือเดินสมุทรด้วยเช่นกัน[5][6][7][8][9] การอัปปางลงของเรือลูซิเทเนียจุดชนวนให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 128 คน เป็นชาวอเมริกัน นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1917

สาเหตุการสร้างเรือลูซิเทเนีย[แก้]

เรือลูซิเทเนียถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก
อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย

ใน ค.ศ. 1901 เอสเอส ไกเซอร์ วิลเฮล์ม แดร์ โกรส (SS Kaiser Wilhelm der Grosse) ของสายการเดินเรือนอร์ดดอยเชอร์ลอยด์ (Norddeutscher Lloyd) ได้แย่งรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับเรือที่เร็วที่สุดในโลกไปจาก อาร์เอ็มเอส ลูคาเนีย (RMS Lucania) ของสายการเดินเรือคิวนาร์ด

ใน ค.ศ. 1901 สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) ได้ตัดสินใจสร้างเรือโดยสารที่ใหญ่กว่าเรือ เอสเอส เกรท อีสเทิร์น (SS Great Eastern) เป็นลำแรก โดยจัดทำเป็นโครงการสร้างเรือใหญ่ 4 ลำ

เรือทั้งสี่ลำจะมีขนาดกว่า 20,000 ตัน เน้นการออกแบบภายในเรือที่สะดวกสบาย โดยเรือลำแรกของโครงการดังกล่าวคือเรืออาร์เอ็มเอส เซลติก (RMS Celtic) ปล่อยลงน้ำครั้งแรกในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1901 ต่อมาได้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาด 21,035 ตัน ตามมาด้วยเรืออาร์เอ็มเอส เซดริก (RMS Cedric) แต่มันไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ใน ค.ศ. 1905 เมื่อเรือเอสเอส อเมริกา (SS Amerika) ของสายการเดินเรือฮัมบูร์กอเมริกาไลน์ (Hamburg America Line; HAPAG) สร้างเสร็จ จึงได้แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก เซลติก แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ทันจบปี ค.ศ. 1905 เรือโดยสารลำที่ 3 ของโครงการ 4 เรือยักษ์ คือ อาร์เอ็มเอส บอลติก (RMS Baltic) ซึ่งสร้างเสร็จในปีเดียวกัน และชิงตำแหน่งเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกกลับคืนสู่สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ได้ 1 ปี ก่อนจะถูกสายการเดินเรืออื่นแย่งตำแหน่งไปอีก

และเรือลำสุดท้ายของโครงการ สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1907 คือเรืออาร์เอ็มเอส เอเดรียติก (RMS Adriatic) แต่เรือลำนี้ไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรือเอสเอส ไคเซริน ออกุสต์ วิกตอเรีย (SS Kaiserin Auguste Victoria) จากสายการเดินเรืออื่น ได้แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจากอาร์เอ็มเอส บอลติก ในปี ค.ศ. 1906

ลักษณะเฉพาะของเรือ[แก้]

แผนดาดฟ้าของอาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย มีการดัดแปลงทั้งระหว่างและหลังการสร้างเรือ ในปี 1915 การจัดเรือชูชีพได้เปลี่ยนเป็นเรือ 11 ลำทั้งสองด้านของเรือ รวมถึงเรือชูชีพที่พับได้ซึ่งเก็บไว้ใต้เรือชูชีพแต่ละลำ

ขับเคลื่อนด้วย 4 ใบจักร หม้อน้ำรวม 25 ชุด ส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ 4 ตัว เครื่องยนต์ 4 ตัว หมุนใบจักร 4 ใบ รวม 76,000 แรงม้า เร่งความเร็วเรือได้สูงสุด 26.7 น็อต (49.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความเร็วมาตรฐาน 25 น็อต (46.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในการบรรจุผู้โดยสาร โดยปกติ เรือลูซิเทเนีย สามารถจุผู้โดยสารได้ 2,198 คน โดยแบ่งเป็น ชั้นสาม 1,186 คน, ชั้นสอง 460 คน และชั้นหนึ่ง 552 คน และลูกเรีออีก 850 คน ยาว 239.88 เมตร กว้าง 26.52 เมตร ขนาดของเรือ 31,550 ตัน[1]

ลูซิเทเนีย คือชื่อของจังหวัดโรมันโบราณ ปัจจุบันคือประเทศโปรตุเกส

ลักษณะทั่วไปอื่น ๆ[แก้]

  • ปล่องไฟ: 4 ปล่อง[1]
  • การทาสี: ปลายปล่องไฟทาสีดำ ตัวปล่องทาสีแดง (ต่อมาทั้งปล่องทาเป็นสีเทาเข้ม) โดยมีแถบสีดำสามแถบรอบ ๆ, ซุเปอร์สตรัคเจอร์ทาสีขาวงาช้าง, ตัวเรือทำสีดำ โดยมีแถบสีทองคาดกลางระหว่างตัวเรือกับซูเปอร์สตรัคเจอร์ตลอดความยาวเรือ, ท้องเรือใต้แนวน้ำทาสีแดง, ใบจักรสีทองบรอนซ์
  • หัวเรือและท้ายเรือ: สมอเรือ 2 ตัว, เสากระโดงเรือ 2 ตัว

กัปตันเรือ[แก้]

  • 1907-1908: เจมส์ วัตต์[1]
  • 1908-1912: วิลเลียม เทอร์เนอร์[1]
  • 1912-1913: เจมส์ ชาลส์[1]
  • 1913-1915: แดเนียล ดาว[1]
  • 1915: วิลเลียม เทอร์เนอร์[1]

เปรียบเทียบกับเรือตระกูลโอลิมปิก[แก้]

ลูซิเทเนียและมอริเทเนียมีขนาดเล็กกว่าเรือตระกูลโอลิมปิกของสายการเดินเรือไวต์ สตาร์ ไลน์ (ออกบริการครั้งแรก 5 ปีในต่อมา) สายการเดินเรือคูนาร์ดไม่สามารถรับประกันได้ทุกสัปดาห์ว่า เรือคู่แฝดนี้จะสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกตามเวลาที่กำหนด ถึงแม้ว่าเรือลูซิเทเนียและมอริเตเนียจะสามารถทำความเร็วได้ดีกว่า แต่เรือตระกูลโอลิมปิกได้เปรียบด้านขนาดและความหรูหรา สายการเดินเรือคูนาร์ดจึงสั่งต่อเรือลำที่สาม คือเรือ อาร์เอ็มเอส อากิทาเนีย (RMS Aquitania) ขึ้นภายในเวลาหลังจากสายการเดินเรือไวต์สตาร์ประกาศต่อเรือโอลิมปิกไม่นาน เรือลำที่สามต่อขึ้นในอู่ต่อเรือจอห์น บราวน์ ใน ค.ศ. 1914 โดยออกแบบให้เรือทำความเร็วได้ช้าลงกว่าเรือแฝด แต่มีขนาดใหญ่และหรูหราขึ้นจากเดิมเช่นเดียวกับเรือตระกูลโอลิมปิก เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดกลับคืนมา

ประวัติ[แก้]

ภาพวาดการจมของเรือ

สายการเดินเรือคูนาร์ด (Cunard Line) ซึ่งเป็นคู่แข่งรายสำคัญของไวต์สตาร์ไลน์ ได้ต่อเรือ อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (RMS Lusitania) ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ John Brown เริ่มวางกระดูกในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1904 โดยในปีเดียวกัน คูนาร์ดก็สร้าง อาร์เอ็มเอส มอริเทเนีย (RMS Mauretania) ที่ต่อขึ้นในอู่ต่อเรือ Tyneside หลังจากเสร็จสิ้นโครงการเรือลูซิเทเนียในปี ค.ศ. 1907 ได้กลายเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนเรือ SS Kaiserin Auguste Victoria และหลังจากนั้นไม่นาน เรืออาร์เอ็มเอส มอริเตเนีย ก็ได้ตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทน ทั้งคู่มีขนาดใหญ่กว่า 30000 ตัน แล่นด้วยความบริการ 24 นอต (44.45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เป็นเรือแฝดรุ่นใหม่ของคูนาร์ด

ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1906 เรือลูซิเทเนียถูกปล่อยลงน้ำเป็นครั้งแรก และในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 ได้มีการทดสอบเรือลูซิเทเนีย ในระหว่างการทดสอบเรือเบื้องต้น มีบันทึกอย่างเป็นทางการว่าความเร็วเรือที่สามารถทำได้ทำลายทุกสถิติความเร็วที่เคยมีมาในวงการเดินเรือขนส่ง แต่วิศวกรเรือและเจ้าหน้าที่พบว่าที่ความเร็วเรือสูงสุดเกิดการสั่นสะเทือนบริเวณท้ายเรืออย่างรุนแรง คูนาร์ดจึงนำเรือกลับเข้าอู่อีกครั้งเพื่อไปเพิ่มความแข็งแรงทางโครงสร้างบริเวณดังกล่าว และส่งต่อให้กับบริษัทเป็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1907

ออกเดินทางเที่ยวแรกจากเมืองเซาแทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1907 ชิงรางวัลบลูริบบันด์ทิศตะวันออกไปจากเอสเอส ไคเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 (SS Kaiser Wilhelm II) ของสายการเดินเรือนอร์ดดอยเชอร์ลอยด์ ต่อมามอริเตเนียได้รับรางวัลบลูริบบันด์แทนที่ลูซิเทเนียอย่างถาวรในเดือนกันยายนปีเดียวกัน มอริเตเนียกลายเป็นเรือขนส่งกองทหารและเรือพยาบาล ในขณะที่ลูซิเทเนียบริการเป็นเรือเดินสมุทร

การเดินทางเที่ยวสุดท้าย[แก้]

ลูซิเทเนียแล่นออกจากท่าเรือ 54 ที่นิวยอร์กในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 และก่อนหน้านี้สถานทูตเยอรมันในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ออกประกาศเตือนในวันที่ 22 เมษายน มีใจความว่า[10]

คำเตือน!
ผู้เดินทางที่มีความประสงค์จะโดยสารเรือเดินสมุทรแถบแอตแลนติก โปรดทราบว่า ขณะนี้มีภาวะสงครามระหว่างเยอรมันพร้อมพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง แลบริเตนใหญ่พร้อมพันธมิตรอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเขตสงครามนั้นครอบคลุมไปถึงน่านน้ำอันคาบเกี่ยวกับหมู่เกาะอังกฤษ ฉนั้น รัฐบาลจักรวรรดิเยอรมันจึงขอประกาศเตือนอย่างเป็นทางการว่า บรรดาเรือที่ติดธงบริเตนหรือพันธมิตรของบริเตน อาจถูกทำให้อัปปางลงในน่านน้ำดังกล่าว ดังนั้นผู้ที่จะโดยสารเรือของบริเตนแลพันธมิตรของบริเตนในเขตสงครามนั้น ต้องรับความเสี่ยงเอาเอง
สถานเอกอัครราชทูตจักรวรรดิเยอรมัน
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. 22 เมษายน 1915

นี่คือคำเตือนที่ประกาศเอาไว้ถัดจากข้อความโฆษณาของลูซิเทเนีย คำเตือนนี้ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในสื่อต่าง ๆ รวมทั้งสร้างความกังวลต่อผู้โดยสารและลูกเรือเป็นอย่างยิ่ง

ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง - เรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่ เรือลูซิเทเนีย จนอับปางลง ใน 18 นาที คร่าชีวิตลูกเรือ 1,198 คน

ผลกระทบจากการจมของเรือ[แก้]

ภายหลังจากการจมเรือลูซิเทเนียอันโด่งดังในปี ค.ศ. 1915 เยอรมนีสัญญาว่าจะไม่โจมตีเส้นทางของเรือพาณิชย์อีก ขณะที่อังกฤษได้ติดอาวุธให้กับเรือพาณิชย์ของตน ในที่สุดแล้ว ต้นปี ค.ศ. 1917 หลังการอัปปางของเรือเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก เยอรมนีได้ระงับกลยุทธ์สู้รบด้วยเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขต เนื่องจากกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงคราม และพยายามที่ค้นหาเส้นทางการเดินเรือของฝ่ายพันธมิตรก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะขนส่งกองทพขนาดใหญ่ข้ามทะเลมาได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Maritimequest
  2. 2.0 2.1 2.2 "Great Ocean Liners: Lusitania". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-28. สืบค้นเมื่อ 2010-02-16.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Atlantic
  4. http://www.atlanticliners.com/lusitania_home.htm#Anchor-Lusitani-33651 for further information.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler pg 89
  6. Butler, Daniel Allen (2004). The Age of Cunard: A Transatlantic History ; 1839 – 2003. ProStar Publications. p. 215. ISBN 978-1-57785-348-0.
  7. Carlisle, Rodney P. (2009). World War I. Infobase Publishing. p. 73. ISBN 978-1-4381-0889-6.
  8. Tucker, Spencer and Roberts, Priscilla Mary (2005). World War One. ABC-CLIO. p. 1146. ISBN 978-1-85109-879-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Simpson, Colin (1972). The Lusitania Sinking, LIFE p. 60.
  10. http://www.fas.org/irp/ops/ci/docs/ci1/notice.jpg

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]