วงกลมอาร์กติก
วงกลมอาร์กติก (อังกฤษ: Arctic Circle) คือวงกลมละติจูดที่อยู่เหนือที่สุด ในบรรดา 5 วงกลมละติจูดหลักบนแผนที่โลก พื้นในในบริเวณนี้เรียกว่าอาร์กติก ด้านเหนือสุดของวงกลม มีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือของฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางคืนในช่วงอายันเหนือ[1][2] และมีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางวัน ปรากฏการณ์เกิดขึ้นที่ขั้วโลกใต้เช่นกัน
ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติก ไม่ใช่ตำแหน่งที่คงที่ จนถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2024 ตำแหน่งอยู่ที่ 66°33′50.2″ เหนือเส้นศูนย์สูตร[3] ตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับการเอียงของแกนโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ตลอด 40,000 ปีที่ผ่านมานี้ เป็นผลมาจากแรงกระทำจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำให้ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกไม่คงที่ ผลที่ตามมาคือ ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกขณะนี้ขยับขึ้นไปทางเหนือ ปีละ 15 เมตร
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า arctic มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีกว่า ἀρκτικός (arktikos: "ใกล้หมี, ทางเหนือ")[4] และมาจากคำว่า ἄρκτος (arktos: "หมี") อีกที[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Burn, Chris. The Polar Night (PDF). The Aurora Research Institute. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
- ↑ NB: This refers to the true geometric center which actually appears higher in the sky because of refraction by the atmosphere.
- ↑ "Obliquity of the Ecliptic (Eps Mean)". Neoprogrammics.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2014.
- ↑ Liddell, Henry; Scott, Robert. "Arktikos". A Greek–English Lexicon. Perseus Digital Library.
- ↑ Liddell, Henry; Scott, Robert. "Arktos". A Greek–English Lexicon. Perseus Digital Library.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Terra Incognita: Exploration of the Canadian Arctic—Historical essay about early expeditions to the Canadian Arctic, illustrated with maps, photographs and drawings
- Temporal Epoch Calculations ©2006 by James Q. Jacobs Download: Epoch v2009.xls (modify D4)
- Useful constants" See: Obliquity of the ecliptic