อารามเซรา
อารามเซรา | |
---|---|
ทับศัพท์ภาษาทิเบต อักษรทิเบต: སེ་ར་ཐེག་ཆེན་གླིང་། ไวลี: se ra theg chen gling ทับศัพท์ภาษาจีน ตัวเต็ม: 色拉寺 ตัวย่อ: 色拉寺 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
นิกาย | เกอลุก |
เทพ | Je Tsongkhapa |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | เขา Wangbur ลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน |
ประเทศ | จีน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 29°41′53″N 91°8′0″E / 29.69806°N 91.13333°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | Jamchen Chojey |
อารามเซรา (ทิเบต: སེ་ར་དགོན་པ, ไวลี: se ra dgon pa "อารามกุหลาบป่า";[1] จีน: 色拉寺; พินอิน: Sèlā Sì) เป็นหนึ่งในสามอารามมหาวิทนาลัยที่ยิ่งใหญ่ของนิกายเกอลุกในทิเบต ตั้งอยู่ห่างไป 1.25 ไมล์ (2.01 กิโลเมตร) ทางเหนือของลาซา และราว 5 km (3.1 mi) ทางเหนือของโชคัง[2] อารามอันยิ่งใหญ่อีกสองแห่งคืออารามกันเต็ง กับ อารามเดรปุง ชื่อของอารามมาจากคำว่า "กุหลาบป่า" ซึ่งเมื่อครั้นก่อสร้างอาราม เนินเขาด้านหลังอารามนั้นเต็มไปด้วยกุหลาบป่า[1]
อารามเซราหลังเดิมมีภาระรับผิดชอบอารามถือพรต (hermitages) ราว 19 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นอารามชี (nunneries) 19 แห่ง ทั้งหมดตั้งอยู่บนเชิงเขาทางเหนือของลาซา[3][4]
อารามเซราประกอบด้วยหมู่อาคารต่าง ๆ โดยมีโถงรวมตัวใหญ่ (วิหาร) หนึ่งหลัง และวิทยาลัยสามวิทยาลัย อารามเซราตั้งสถาปนาในปี 1419 โดย Jamchen Chojey แห่ง Sakya Yeshe แห่ง Zel Gungtang (1355–1435) ศิษย์ของจงคาปา[5] ในระหว่างการปฏิวัติปี 1959 อารามเซราถูกโจมตีเสียหายอย่างหนัก วิทยาลัยถูกทำลาย และมีภิกษุมรณภาพหลายร้อยรูป[6]
หลังองค์ทะไลลามะลี้ภัยไปยังอินเดียสำเร็จ ภิกษุจำนวนมาจากเซราที่รอดจากการโจมตีในปี 1959 ได้ย้ายไปตั้งรกรากที่ Bylakuppe ในนครไมสูรุ และได้ตั้งอารามเซราในอินเดียคู่ขนานไปกับอารามเซราเดิมในทิเบต ได้แก่ วิทยาลัยเซราเม (Sera Me) กับ เซราเช (Sera Je) รวมถึงสร้างโถงรวมตัวใหญ่ขึ้นในรูปแบบเดียวกันกับที่ทิเบต ภายใต้ความช่วยเหลือของรัฐบาลอินเดีย ปัจจุบันมีภิกษุราว 3000 รูปจำพรรษาประจำอารามเซราในประเทศอินเดีย อารามที่อินเดียยังมีการส่งภิกษุไปเผยแผ่ศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจ ตั้งพุทธวิหาร ในนานาประเทศ[7][8]
สถาปัตยกรรม
[แก้]หมู่อารามของอารามเซรามีพื้นที่รวม 28 เอเคอร์ (11 เฮกตาร์) ประกอบไปด้วยสถาบันมากมาย เสนาสนะสำคัญประกอบด้วย โถงรวมตัวใหญ่ (Coqen Hall Tsokchen; Great Assembly Hall), จาคัง (Zhacangs) หรือวิทยาลัยทั้งสาม, กามจุน (Kamcun; หอพัก) หรือ Homdong Kangtsang
โถงรวมตัวใหญ่
[แก้]โถงรวมตัวใหญ่ (Great Assembly Hall) หรือ ‘ซ็อกเชน' (Tsokchen) หรือ 'โถงโจเกน' (Coqen Hall) สร้างขึ้นในปี 1710 มีความสูงสี่ชั้น ตั้งอยู่ทาวตะวันออกเฉียงเหนือของอาราม หันหน้าออกทางตะวันออก เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจำนวนมาก สิ่งปลูกสร้างขนาด 2,000 ตารางเมตร (22,000 ตารางฟุต) ประกอบด้วยเสา 125 ต้น (86 ต้นเป็นเสาสูง และ 39 ต้นเป็นเสาเตี้ย) ก่อสร้างขึ้นโดย Lhazang Qan
ภายในประกอบด้วยวัดน้อยห้าวัด ซึ่งมีรูปเคารพของพระไมเตรยะ, พระศากยมุนีพุทธะ, อรหันต์, Tsongkhapa และ กวนอิมพันมือ สิบเอ็ดหน้า คัมภีร์โบราณที่เขียนขึ้นอย่างวิจิตร 'ไตรปิฎกคังยูร' (อายุราวปี 1410) ซึ่งประกอบด้วย 105 เล่ม (ของเดิมมี 108 เล่ม) เป็นสมบัติสำคัญของอาราม ว่ากันว่าจักรพรรดิ Chengzhu แห่งราชวงศ์หมิง เป็นผู้ถวายคัมภีร์นี้แก่ Jamchen Chojey ผู้สร้างอาราม[4][9]
เซราเม
[แก้]วิทยาลัยเซราเม (Sera Me Tratsang หรือ Sera Me Zhakan) เป็นวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดที่สร้างขึ้นในอารามเซรา สถาปนาขึ้นในปี 1419 ในรัชสมัยของจักรวรรดิหมิง เริ่มแรกใช้งานเพื่อสอนศาสนาพุทธพื้นฐาน วิทยาลัยนำเอาวิธีการศึกษาคำสอนของศาสนาพุทธด้วยกลวิธีแบบตามลำดับ (a step-by-step approach) ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างเฉพาะกับนิกายเกอลุก วิทยาลัยสร้างขึ้นบนพื้นที่ 1,600 ตารางเมตร (17,000 ตารางฟุต) และมีที่พักรวม 30 หน่วย ในปี 1761 เกิดฟ้าผ่าลงที่โถงหลักของวิทยาลัย โถงนี้สร้างขึ้นใหม่ในปีเดียวกันและประกอบด้วยเสา 70 ต้น (8 ต้นสูง, 62 ต้นเตี้ย) ภายในประกอบด้วยพระพุทธรูปของพระศากยมุนีพุทธเจ้าและคุรุองค์สำคัญมากมาย นอกจากนี้ยังมีพระไมเตรยะ, พระมัญชุศรี, พระอมาตยะ, พระภาวิศยคุรุ, Tsongkhapa กับศิษย์, ทะไลลามะที่เจ็ด, Pawanga Rinpoche และอาจารย์ในอดีตของวิทยาลัย[4][5][10]
เซราเช
[แก้]วิทยาลัยเซราเช (Sera Je Tretsang หรือ Zhekong) เป็นวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในเซรา ด้วยพื้นที่ขนาด 17,000 m2 (180,000 sq ft) เดิมทีเป็นอาคารสูงสามชั้น ชั้นที่สี่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างเสา 100 ต้นเพื่อให้อาคารมั่นคง ภายในประดิษฐานรูปของพระโพธิสัตว์ Hayagriva (ซึ่งว่ากันว่าสร้างขึ้นโดย Lodro Rinchen ผู้ก่อตั้งอาราม) ทำมาจากทองแดงปิดทอง ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้พิทักษ์ของอาราม และได้รับการเคารพบูชาในฐานะผู้ขจัดอุปสรรคและมีพลังในการรักษาความเจ็บป่วย[4][7][11]
โจดิงคัง
[แก้]โจดิงคัง (Choding Khang) เป็นอารามจำพรต (hermitage) หนึ่ง ตั้งอยู่ด้านหลังของโถงรวมตัวใหญ่ บนเนินเขาเซราอูตเซ (Sera Utse) เป็นที่ที่ Je Tsongkhapa ใช้ทำสมาธิ ทางเดินไปยังอารามนี้มีหินแกะสลักและตกแต่งสีเป็นภาพของพุทธศาสนบุคคลอยู่ระหว่างทาง ตามทางมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ขึ้นแทนที่ของเดิมที่ถูกทำลายในระหว่างการปฏิวัติ เหนือไปอีกยังมีถ้ำที่ Tsongkhapa เคยใช้ทำสมาธิ[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Drepung & Sera Monastery on Budget-Lhasa Day Tour". Lonely Planet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2019. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ Majupuria, Trilok Chandra; Majupuria, Indra (1988). Tibet, a guide to the land of fascination: an overall perspective of Tibet of the ancient, medieval, and modern periods. S. Devi. p. 312.
- ↑ "Buddhist Monk of Sera Monastery, Lhasa, Tibet". pp. 9–12. สืบค้นเมื่อ 2010-02-09.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "Travel China guide:Sera Monastery". สืบค้นเมื่อ 27 February 2010.
- ↑ 5.0 5.1 Dorje, Gyumye (1999). Tibet handbook: with Bhutan. Sights in North and east Lhasa:Sera Tekchenling Monastery. Footprint Travel Guides. pp. 119–122–130. ISBN 1-900949-33-4. สืบค้นเมื่อ 26 February 2010.
- ↑ Mayhew, Bradley; Michael Kohn (2005). Tibet. Sera Monastery. Lonely Planet. pp. 123–125. ISBN 1-74059-523-8. สืบค้นเมื่อ 1 March 2010.
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHistory
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อthlib
- ↑ Dorje, pp. 121-122
- ↑ Dorje, p. 119
- ↑ Dorje, pp. 120-121
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDorje p.121