อานนท์ สายแสงจันทร์
อานนท์ สายแสงจันทร์ | |
---|---|
ชื่อเกิด | ปฐพี สายแสงจันทร์[1] |
เกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2513 |
แนวเพลง | เฮฟวี่ เมทัล, อัลเตอร์เนทีฟ |
อาชีพ | นักดนตรี, นักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง, ผู้ประกาศข่าว |
ช่วงปี | พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | เอสพี ศุภมิตร เอ็มสแควร์ มอร์ มิวสิก สหภาพดนตรี ข้าวสาร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ยูเรเนียม แบล็คเฮด บลูแพลนเน็ต |
สมาชิก | แบล็คเฮด |
อดีตสมาชิก | ยูเรเนียม บลูแพลนเน็ต |
อานนท์ สายแสงจันทร์ ชื่อเดิม ปฐพี สายแสงจันทร์ (ชื่อเล่น ; ปู เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2513) เป็นนักร้อง , นักแต่งเพลง นักดนตรี โปรดิวเซอร์อัลบั้ม และนักแสดง เป็นอดีตสมาชิกวง ยูเรเนียม บลูแพลนเน็ต ปัจจุบันเป็นนักร้องนำวง แบล็คเฮด หลังค่ายเอสพี ศุภมิตร ปิดตัวลงไป อานนท์ก็ได้เริ่มอัดอัลบั้มและเริ่มเล่น Rock Pub ได้ประมาณหนึ่งปีเต็มจนได้เจอห้องอัดเกคโค และนำเดโมนั้นไปเสนอกับ ปู - พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ซึ่งปู พงษ์สิทธิ์เห็นถึงศักยภาพของวงดนตรีที่น่าจะประสบความสำเร็จต่อมาถูกเซ็นสัญญากับค่ายเอ็มสแควร์ ในช่วงแรกได้รับการดูแลจากปู พงษ์สิทธิ์และชื่อวงแบลดเฮดก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา
เข้าสู่วงการดนตรี[แก้]
อานนท์ สายแสงจันทร์เริ่มต้นสู่เส้นทางดนตรีด้วยการเป็นนักร้องนำในวงบลูแพลนเน็ตจนมีโอกาสร่วมออกทัวร์กับวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ หลังจากนั้นก็ฟอร์มวง ยูเรเนียม ในสังกัดค่าย เอสพี ศุภมิตร วงยูเรเนียมมีอัลบั้ม 2 อัลบั้ม อานนท์ได้ร่วมงานกับ ต๋อง - สมทบ สมมีชัย มือเบสวงยูเรเนียมภายหลังเป็นมือเบสของวงแบลดเฮดในปัจจุบัน ในค่ายเดียวกันนี้ก็มีวงดนตรี บิ๊กกัน ที่มีอภิสิทธิ์ พงศ์ชัยสิริกุล (เอก) เป็นมือกีตาร์ ในเวลาต่อมาก็เป็นมือกีตาร์วงแบลดเฮด หลังการปิดตัวของค่ายเอลพีสมาชิกแต่ละคนก็แยกย้ายกันไป อานนท์เริ่มอัดอัลบั้มและกลับมาเล่นใน Rock Pub ได้ประมาณหนึ่งปีเต็มจนได้เจอห้องอัดเกคโค หลังอัดเพลงเสร็จก็ได้เอาเดโมไปเสนอกับ ปู - พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ซึ่งปู พงษ์สิทธิ์เห็นถึงศักยภาพของวงดนตรีที่น่าจะประสบความสำเร็จต่อมาถูกเซ็นสัญญากับค่ายเอ็มสแควร์ ในช่วงแรกได้รับการดูแลจากปู พงษ์สิทธิ์และชื่อวงแบลดเฮดก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงนั้น [2][3]
ผลงาน[แก้]
ผลงานอัลบั้ม[แก้]
- ปฏิกิริยาร็อค (พ.ศ. 2535)
- อัด-สะ-จอ-รอ-หัน (พ.ศ. 2536)
- The Album Blackhead (พ.ศ. 2538)
- Relax (พ.ศ. 2539)
- Full Flavor (พ.ศ. 2540)
- เพียว (อัลบั้ม) (พ.ศ. 2542)
- เบสิค (พ.ศ. 2543)
- แฮนด์เมด (พ.ศ. 2546)
- เท็น (อัลบั้ม) (พ.ศ. 2548)
- Deep (พ.ศ. 2550)
- White Line (พ.ศ. 2556)
ผลงานทางด้านละครโทรทัศน์[แก้]
- ศีล 5 คนกล้าท้าอธรรม (พ.ศ. 2556) รับเชิญ 2 ตอน ช่อง 5 - ตอน โจรชุดดำ , แค้นนี้ต้องชำระ
- ลูกผู้ชายเลือดเดือด (พ.ศ. 2559) ช่อง 3 เอสดี - รับบทเป็น เสี่ยชัย
- น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ (พ.ศ. 2561) รับเชิญ ช่อง 3 เอชดี - รับบทเป็น น้าแยม
- ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก (พ.ศ. 2561) รับเชิญ ช่องเวิร์คพอยท์ - รับบทเป็น ลินคอร์น
- Bangkok Vampire รสรินล่าแวมไพร์ (พ.ศ. 2562) MONO29 - รับบทเป็น หัวหน้าแวมไพร์กระหาย
- ไอ้ข้าวแกง (พ.ศ. 2564) ช่องไทยรัฐทีวี - รับบทเป็น ปู (Black Head) (รับเชิญ)
- My Sassy Girl ยัยตัวร้ายกับนายกระจั๊วะ (พ.ศ. 2564) ช่องTrue Asian Plus - รับบทเป็น พ่อจั๊วะ
ผลงานทางด้านภาพยนตร์[แก้]
- สยิว (พ.ศ. 2546)
- มนุษย์เหล็กไหล (พ.ศ. 2549)
- เก๋า..เก๋า (พ.ศ. 2549)
- SuckSeed ห่วยขั้นเทพ (พ.ศ. 2554)
- จิตสัมผัส 3D (พ.ศ. 2556)
- วัยเป้งง นักเลงขาสั้น (พ.ศ. 2557)
- App Love สิ่งเล็กเล็กที่น่าร็อก (พ.ศ. 2557)
- ป๊าด 888 แรงทะลุนรก (พ.ศ. 2559)
- กัดกระชากเกรียน (พ.ศ. 2560)
- พจมาน สว่างคาตา (พ.ศ. 2563)
- มายริทึ่ม (พ.ศ. 2563)
ผลงานมิวสิควิดิโอ[แก้]
- 2543 : ทั้งทั้งที่รู้ ( โต - Silly Fools ) (ต้นฉบับ : อัสนี - วสันต์ โชติกุล)
- 2544 : คนไม่มีแฟน (เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์)
เพลงประกอบละครและภาพยนตร์[แก้]
- 2539 ฉก.เสือดำ ร้องคู่กับ ไกรภพ จันทร์ดี ละคร ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก
- 2547 ฉันอยู่ตรงนี้ ร้องคู่กับ ลานนา คัมมินส์ ภาพยนตร์ สายล่อฟ้า (ภาพยนตร์) (เป็นการนำเพลง "ฉันอยู่ตรงนี้" ของวงแบล็คเฮดเองมาเรียบเรียงใหม่)
- 2554 ยิ่งโตยิ่งสวย ประกอบภาพยนตร์ ซักซี้ด ห่วยขั้นเทพ
- 2557 ว่าจะไม่รัก ละคร ไฟในวายุ (ช่อง 3)
- 2559 ลมหายใจของฉัน ละคร ลูกผู้ชายเลือดเดือด (ช่อง 3 SD)
- 2560 ใจอ่อนแอ ละคร เหยื่อพยาบาท (ช่อง 3 SD)
- 2561 อยากจะรู้ ละคร คุณแม่สวมรอย (ช่อง 3 HD)
เพลงประกอบรายการ[แก้]
- 2546 - 2547 คุณจำเนียน (เพลงประกอบรายการ คุณจำเนียน)
ผลงานโปรดิวเซอร์[แก้]
อานนท์และ อภิสิทธิ์ พงศ์ชัยสิริกุล (เอก แบล็ดเฮด) ทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวงซีล ในอัลบั้มชุดแรก[4]
ผลงานเพลงรับเชิญ[แก้]
- เจ็บเจ็บ วง Midnight Curfew (อัลบั้ม : Midnight Curfew) [5]
- ให้โลกรู้ วง เรโทรสเปกต์ (อัลบั้ม : The lost soul) [6]
- ผลงานเพลงพิเศษ
- อยากจะลืม ในอัลบั้ม ลงเอย พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ (เป็นอัลบั้มของอัสนี-วสันต์ ที่ให้ศิลปินมาขับร้องใหม่ในแนวเพลงของตนเอง)
- สุขใจ ในอัลบั้ม ลงเอย พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ (เป็นอัลบั้มของอัสนี-วสันต์ ที่ให้ศิลปินมาขับร้องใหม่ในแนวเพลงของตนเอง)
- ขวานไทยใจหนึ่งเดียว
- สู้ไปด้วยกัน
- น้ำท่วม ไม่มิดใจ
- ครองแผ่นดินโดยธรรม
- จับกัง ในอัลบั้ม มนต์เพลงคาราบาว (เป็นอัลบั้มของคาราบาว ที่ให้ศิลปินมาขับร้องใหม่ในแนวเพลงของตนเอง)
- ฉันหรือเธอ (ที่เปลี่ยนไป) ในอัลบั้ม 20 ปี โลโซ เราและนาย (เป็นอัลบั้มของเสก โลโซ ที่ให้ศิลปินมาขับร้องใหม่ในแนวเพลงของตนเอง)
คอนเสิร์ต[แก้]
ชื่อคอนเสิร์ต | วันที่ | สถานที่ |
---|---|---|
ชักกี้ ธัญญรัตน์ and The Blue Planet | พฤษภาคม 2533 | M88 The Mall 4 รามคำแหง |
คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินอื่น[แก้]
- คอนเสิร์ต พลังแผ่นดิน (2542)
- คอนเสิร์ต ลงเอย พี่น้องร้องเพลง อัสนี - วสันต์ (2543)
- คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (2545)
- คอนเสิร์ต HOTWAVE LIVE : BODYSLAM MAXIMUM LIVE (2547)
- คอนเสิร์ต City of Butterfly (2547)
- คอนเสิร์ต ด้วยแสงแห่งรัก The Light of Love (2548)
- คอนเสิร์ต แบล็คเฮด Real Rock concert 10 years (2549)
- คอนเสิร์ต Ebola The Way Concert (2550)
- คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว (2550)
- คอนเสิร์ต รำลีก ชักกี้ ธัญญรัตน์ (2551)
- คอนเสิร์ต Ohm Chatree Kongsuwan & Friends : Live! Into The Light (2551)
- คอนเสิร์ต ร็อก ดาว คอนเสิร์ต (2553)
- คอนเสิร์ต Acoustic Rock (2554)
- คอนเสิร์ต Black Valentine Concert ตอนรักพังๆครั้งสุดท้าย (2558)
- คอนเสิร์ต The Legends (2558)
- คอนเสิร์ต Nuvo & Friends for Nepal (2559)
- คอนเสิร์ต The Legends of The Guitar (2559)
- คอนเสิร์ต ทองหล่อเล่นสด (2560)
- คอนเสิร์ต เพื่อนพ้องร้องเพลงฟลาย (2561)
- คอนเสิร์ต Retrospect Heart of the Panther หัวใจเสือดำ (2561)
- คอนเสิร์ต แทนคำขอบคุณจากใจ... เมืองไทยประกันภัย ครั้งที่ 10 "แทนคำนั้น (2561)
- คอนเสิร์ต ระเบิดพลังร็อก (2562)
- คอนเสิร์ต J-Adrenaline 360° (2562)
- คอนเสิร์ต Green Concert #22 The Lost Rock Songs (2562)
- คอนเสิร์ต rock unplug รักคลายร็อค (2563)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ แผ่นเสียง ชัคกี้ ธัญญรัตน์ & Blue Planet
- ↑ จากยูเรเนี่ยม ถึง แบล็คเฮด เปิดกรุเคมีร็อคสองทศวรรษ
- ↑ "คุยกับ"ปู-แบล็คเฮด" ไวนิล ดนตรี และตำนาน". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-21.
- ↑ "ซีล"ภาค2[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เจ็บเจ็บ (Feat. ปู Blackhead)". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ "ให้โลกรู้ feat ปู blackhead". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์ฯ
- ศิลปินสังกัดสหภาพดนตรี
- ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- ศิลปินชาวไทย
- นักร้อง
- นักร้องกลุ่ม
- นักแต่งเพลง
- นักแต่งเพลงชาวไทย
- นักดนตรี
- นักดนตรีชาวไทย
- โปรดิวเซอร์เพลง
- โปรดิวเซอร์เพลงชาวไทย
- ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- นักร้องไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- นักร้องชาย
- นักแสดงไทย
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงชาย
- นักแสดงชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชาย
- นักแสดงภาพยนตร์ชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชาย
- นักแสดงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงชายในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- นักแสดงชายในศตวรรษที่ 21