ข้ามไปเนื้อหา

อาทิวาสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวสานตาลในรัฐโอฑิศา

อาทิวาสี (อักษรโรมัน: Adivasi) เป็นคำเรียกรวมของกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดีย[1][2] มีที่มาจากภาษาสันสกฤตแปลตรงตัวได้ว่าผู้อยู่อาศัยแต่ดั้งเดิม และนำมาใช้งานในทศวรรษ 1930s โดยนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ชนพื้นเมือง[3] ในรัฐธรรมนูญอินเดียไม่ได้ใช้คำว่า อาทิวาสี แต่เลือกใช้วลีชนเผ่ากำหนด และ ชนชาติ (Janjati) แทน[4] รัฐบาลอินเดียไม่ได้ยอมรับชนเผ่าต่าง ๆ ในฐานะชนพื้นเมือง เนื่องจากแม้อินเดียจะให้สัตยาบันในการประชุมองค์การแรงงานนานาชาติที่ 107 ว่าด้วยบุคคลพื้นเมืองและเชาเผ่าของสหประชาชาติในปี 1957 แต่กลับปฏิเสธที่จะลงนามในการประชุมที่ 169[5] อาทิวาสีส่วนใหญ่จัดเป็นชนเผ่ากำหนดภายใต้การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญของอินเดีย[4]

อาทิวาสีจัดเป็นชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ในอินเดียและบังกลาเทศ คิดเป็น 8.6 เปอร์เซ็นต์ (104.2 ล้านคน) ของประชากรอินเดีย และ 1.1 เปอร์เซ็นต์ (2 ล้านคน) ของประชากรบังกลาเทศ[6] ตามสำมะโนปี 2011 และการคาดการณ์ปี 2010 ตามลำดับ[7][8][9][10]

ชุมชนอาทิวาสีส่วนใหญ่ปรากฏขึ้นหลังการเสื่อมถอยของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และมีที่มาจากหลายภูมิหลัง ตั้งแต่นักล่าหาของป่าโบราณ, อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ, ชาวอินโด-อารยัน, ออสโตรเอเชียติก ไปจนถึง ทิเบต-พม่า[11][12][13] บรรดาภาษาของอาทิวาสีอาจจำแนกเป็นกลุ่มย่อยต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มภาษาอันดามัน; ออสโตรเอเชีย; ทราวิฑ; อินโดอารยัน; นิหาลี; จีน-ทิเบต; และกระ-ได[14]

บรรดาชนเผ่าในอินเดียนิยมใช้คำเรียกตนเป็น อาทิวาสี ซึ่งมีนัยยะทางการเมือง ยกเว้นชนเผ่าในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งนิยมใช้คำว่าชนเผ่า/ชนเผ่ากำหนด มากกว่าคำว่าอาทิวาสีในการเรียกตนเอง[15] ปัจจุบันยังมีการศึกษาในสาขาอาทิวาสีวิทยา (Adivasi studies) เกิดขึ้นโดยผสมผสานสาขาโบราณคดี มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์การเกษตร วิทยาชนชั้นรอง วิทยาชนพื้นเมือง วิทยาชนเผ่า และ เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ภายใต้บริบทที่จำเพราะต่ออนุทวีปอินเดีย[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Engin F Isin (2015). Citizenship After Orientalism: An Unfinished Project. Taylor & Francis. p. 213. ISBN 978-1-317-68137-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2023. สืบค้นเมื่อ 23 March 2023. Widely addressed as tribals, Adivasis are heterogeneous groups spread all over the nation having different languages and group identities.
  2. Isin, Engin (2016). Citizenship after Orientalism: Transforming Political Theory. Palgrave Studies in Citizenship Transitions. Palgrave Macmillan UK. p. 202. ISBN 978-1-137-47950-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2023. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023. 'Adivasi' literally means 'original inhabitant', and it refers to heterogeneous tribal groups living all over the subcontinent.
  3. Robert Harrison Barnes; Andrew Gray; Benedict Kingsbury (1995), Indigenous peoples of Asia, Association for Asian Studies, ISBN 978-0-924304-14-9, สืบค้นเมื่อ 2008-11-25, The Concept of the Adivāsi: According to the political activists who coined the word in the 1930s, the 'adivāsis' are the original inhabitants of the Indian subcontinent ...
  4. 4.0 4.1 "We are 'Scheduled Tribes', not 'Adivasis'". Forwardpress. 26 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  5. Rousseleau, Raphael (7 February 2013). "Claiming Indigenousness in India". Books & Ideas. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2022.
  6. "Bangladesh – The World Factbook". Cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
  7. "2011 Census Primary Census Abstract" (PDF). Censusindia.gov.in. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  8. "SCs, STs form 25% of population, says Census 2011 data – Indian Express". archive.indianexpress.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2017. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  9. "CPI(M) demands reservation for SCs, STs in private sector". DNA India. 16 April 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2019. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
  10. "Bangladesh | World Directory of Minorities & Indigenous Peoples". Minority Rights Group (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 19 June 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.
  11. Reich et al. 2009.
  12. Basu et al. 2016.
  13. Narasimhan, Patterson & et al. 2019.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bucket
  15. Dasgupta, Sangeeta (2018). "Adivasi studies: From a historian's perspective". History Compass. 16 (10). doi:10.1111/hic3.12486. สืบค้นเมื่อ 2024-06-07.
  16. Sangeeta Dasgupta, "Adivasi studies: From a historian's perspective." History Compass 16.10 (2018): e12486 doi:10.1111/hic3.12486