อากา ข่านที่ 4
กะรีม อัล ฮุสซีนี ชาห์ | |
---|---|
อากา ข่านที่ 4 | |
![]() | |
อิหม่ามแห่งลัทธิอิสมาอีลียะฮ์ | |
ช่วงวาระ | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 (67 ปี 208 วัน) |
สถาปนา | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2500[1] |
ก่อนหน้า | อากา ข่าน ที่ 3 |
ประสูติ | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์ กะรีม อัล ฮุสซีนี ชาห์ |
สิ้นพระชนม์ | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 (88 ปี) ลิสบอน , ประเทศโปรตุเกส |
เบกุม | ซาราห์ โครเกอร์-พูล (สมรส 1969; หย่า 1995) กาเบรียล รีเนต ทีสเซน (สมรส 1998; หย่า 2011) |
พระบุตร | ซาห์รา อากา ข่าน ราฮิม อากา ข่าน ฮุสเซน อากา ข่าน อาลี มุฮัมหมัด อากา ข่าน |
ราชวงศ์ | ฟาติมียะห์ บานู ฮาซิม อาลิด รัฐนิซารี อิสมาอีลียะฮ์ |
พระบิดา | เจ้าชายอาลี ข่าน |
พระมารดา | เจ้าหญิง ทาจุดดาวละหฺ อากา ข่าน |
ศาสนา | นิซารี-อิสมาอีลียะฮ์ ชีอะฮ์ |
อาชีพ | อิหม่าม, นักธุรกิจ |
เจ้าชายกะรีม อัล ฮุสซีนี[2] รู้จักกันในพระนาม เจ้าชายอากา ข่าน ภายนอกชุมชนมุสลิมอิสมาอีลียะฮ์, และตำแหน่งทางศาสนา มาวลานา ฮาซาร์ อิหม่าม[3]ในชุุมชนอิสมาอีลียะฮ์, (อาหรับ: شاه كريم الحسيني، الآقاخان الرابع; เปอร์เซีย: شاه کریم حسینی، آقاخان چهارم; อูรดู: شاه کریم حسینی، آقاخان چهارم; Aga Khan สามารถสะกดได้ว่า Aqa Khan หรือ Agha Khan;[4] ประสูติเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2479) เป็นอิหม่ามพระองค์ที่ 49 และพระองค์ปัจจุบันของนิซารี อิสมาอีลียะฮ์ นิกายในศาสนาอิสลามของอิสมาอีลียะฮ์ ชีอะฮ์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 15 ล้านคน (ประมาณ 10—12 % ของนิกายชีอะฮ์)[5][6][7][3] ทรงเป็นนักธุรกิจสัญชาติอังกฤษและโปรตุเกส[8][9][5][10][11][12] และทรงเป็นเจ้าของคอกม้าพันธ์ดี[10][13] ทรงดำรงตำแหน่งอิหม่ามภายพระยศอากา ข่านที่ 4 ตั้งแต่ 11 กรกฏาคม พ.ศ. 2500[14] ขณะพระชนมายุ 20 พรรษา ต่อจากพระอัยกาเซอร์ สุลต่าน ชาห์ อากา ข่านที่ 3 เชื่อกันว่าพระองค์เป็นทายาทสายตรงของศาสดามุฮัมมัด ผ่านทางลูกพี่ลูกน้องและลูกเขยอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ[15] อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ และภรรยาของอะลี ฟาฏิมะฮ์ บุตรสาวของมุฮัมหมัดซึ่งเกิดจากการแต่งงานครั้งแรก
อากา ข่านทรงมีทรัพย์สินประมาณ 13.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2556[16]Forbes อธิบายว่าอากา ข่าน เป็นหนึ่งในสิบราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก นอกจากนี้พระองค์ยังมีความโดดเด่นในหมู่พระราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดเนื่องจากพระองค์ไม่ได้ปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์[17] ท่ามกลางเป้าหมายที่พระองค์เคยมีพระดำรัสว่า จะทรงงานเพื่อขจัดความยากจนทั่วโลก และจะทรงส่งเสริมและดำเนินการตามหลักพหุนิยมทางศาสนา[18] ความก้าวหน้าของสิทธิสตรี และการยกย่องศิลปะและสถาปัตยกรรมอิสลาม[19][20][21][22][23] พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งและองค์ประธานของเครือข่ายการพัฒนาอากา ข่าน หนึ่งในเครือข่ายการพัฒนาเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก องค์กรที่ทำงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนา สิ่งแวดล้อม, สุขภาพ, การศึกษา, สถาปัตยกรรม, วัฒนธรรม, การเงินรายย่อย, การพัฒนาชนบท, การลดภัยพิบัติ, การส่งเสริมองค์กรเอกชนและการฟื้นฟูเมืองประวัติศาสตร์[20][23][24][25][26][27]
นับตั้งแต่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอิหม่ามแห่งนิซารี-อิสมาอีลียะฮ์ ในปีพ. ศ. 2507 พระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ซับซ้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้สนับสนุนของพระองค์ รวมถึงความเป็นเอกราชของประเทศแอฟริกาจากการปกครองอาณานิคม การขับไล่ชาวเอเชียจากยูกันดา การเป็นเอกราชของประเทศในเอเชียกลางเช่นทาจิกิสถานจากอดีสหภาพโซเวียต และความวุ่นวายอย่างต่อเนื่องในอัฟกานิสถานและปากีสถาน อากา ข่านที่ 4 ทรงเป็นเป็นผู้นำทางศาสนาพระองค์แรกที่กล่าวปราศรัยในการประชุมร่วมของรัฐสภาแคนาดาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[28]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "1957 Aga Khan IV Ceremonial Installation: Presentation of "Sword of Justice" Signified Ismaili Imam's Role as "Defender of Faith"". Simerg. 8 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 April 2019.
- ↑ "Aga Khan IV". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
- ↑ 3.0 3.1 "His Highness the Aga Khan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2011. สืบค้นเมื่อ 26 November 2011.
- ↑ Daftary, Farhad (2007). The Ismailis: Their History and Doctrines (2nd edition). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-511-35561-5.
- ↑ 5.0 5.1 Zachary, G. Pascal (9 July 2007). "The Aga Khan, a jet-setter who mixes business and Islam". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2017. สืบค้นเมื่อ 7 December 2011.
- ↑ "Mapping the Global Muslim Population". The Pew Forum on Religion & Public Life. Pew Research Center. 7 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2012.
- ↑ "The 500 Most Influential Muslims – 2011". Royal Islamic Strategic Studies Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2012.
- ↑ "Portugal granted national citizenship to Prince Aga Khan". Observador. 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ "Five Things To Know About The Aga Khan". Radio Free Europe Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2013. สืบค้นเมื่อ 13 November 2013.
- ↑ 10.0 10.1 Minahan, James (1998). Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States. Greenwood Press. p. 256. ISBN 978-0313306105.
- ↑ "Qatar Holding Seals Costa Smeralda Deal". ANSA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2012. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
- ↑ "Kabul This Spring?". Conde Nast Digital. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2012. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
- ↑ Wood, Greg (6 October 2008). "port Horse racing Zarkava's triumph brings a new high for Aga Khan". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ "World View – Aga Khan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 15 September 2010.
- ↑ Morris, H. S. (1958). "The Divine Kingship of the Aga Khan: A Study of Theocracy in East Africa". Southwestern Journal of Anthropology. 14 (4): 454–472. doi:10.1086/soutjanth.14.4.3628938. JSTOR 3628938.
- ↑ Reginato, James. "How the Fourth Aga Khan Balances Spiritual Muslim Leadership with a Multi-billionaire Lifestyle". Vanity Fair (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
- ↑ Serafin, Tatiana (7 กรกฎาคม 2010). "World's Richest Royals". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2012.
- ↑ "Spiegel Interview with Aga Khan". Spiegel Online. Speigel. 12 October 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
- ↑ Aga Khan joins prime minister's neighbourhood เก็บถาวร 27 สิงหาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Canada.com (8 December 2008).
- ↑ 20.0 20.1 (23 November 2008) Aga Khan holds up Canada as model for the world เก็บถาวร 14 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Vancouver Sun
- ↑ Pakistan Poverty Alleviation Fund เก็บถาวร 1 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Ppaf.org.pk.
- ↑ Husan, Ishrat. "Lessons for Poverty Reduction" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 January 2016.
- ↑ 23.0 23.1 Aga Khan Development Network เก็บถาวร 15 พฤศจิกายน 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Akdn.org.
- ↑ The Aga Khan, Leader of a Global Network of Cultural, Educational and... – Los Angeles, Oct. 27, 2011 /PRNewswire-USNewswire/ เก็บถาวร 15 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Prnewswire.com.
- ↑ "Towards A Happier State". The Telegraph. Calcutta, India. 30 พฤศจิกายน 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2012.
- ↑ Tavernise, Sabrina (13 พฤศจิกายน 2009). "Afghan Enclave Seen as Model for Development". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2017.
- ↑ Blooming in Cairo เก็บถาวร 20 เมษายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Saudi Aramco World.
- ↑ Rizwan Mawani (3 March 2014). "A Relationship of Mutual Respect and Admiration: His Highness the Aga Khan Becomes First Faith Leader to Address Joint Session of Canadian Parliament". Huffington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2014. สืบค้นเมื่อ 15 March 2014.