อัษฏธาตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Ashtadhatu Shivling
ศิวลึงค์หล่อจากอัษฏธาตุสำหรับจำหน่าย

อัษฏธาตุ (อักษรโรมัน: Ashtadhatu, แปลว่า เหล็กแปดประการ) เป็นโลหะอัลลอยที่นิยมใช้หล่อเทวรูปโลหะในเทวาลัยของศาสนาฮินดูและไชนะ ของอินเดีย[1][2][3] องค์ประกอบของอัษฏธาตุมีระบุไว้ใน ศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณที่บรรยายมาตรฐาน หลักการ และข้อกำหนดในการออกแบบงานศิลปะ งานหัตถกรรม และงานออกแบบอื่น อัษฏธาตุถือว่าเป็นสิ่งบริสุทธิ์สูงสุดหรือสัตตวในศาสนาฮินดูที่จะไม่สลายไป[4]

องค์ประกอบโดยธรรมเนียมของอัษฏธาตุประกอบด้วยทองคำ, เงิน, ทองแดง, ตะกั่ว, ซิงก์, ดีบุก, เหล็ก และ ปรอท[5][6][7] ในปริมาณเท่ากัน

เทวรูปหลายองค์เชื่อว่าหล่อมาจากอัษฏธาตุ แม้จะไม่ทราบว่าหล่อมาจากอะไร เทวรูปอัษฏธาตุบริสุทธิ์หาได้ยากและหลายครั้งถูกจารกรรมไป[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 9 stolen 'ashtadhatu' idols recovered in Siwan, Muzaffarpur, Debashish Karmakar. The Times of India. Jul 10, 2016.
  2. Three held for stealing idols from Jain temples, Leena Dhankhar, Gurgaon, Hindustan Times, Jan 20, 2016
  3. भगवान के दर पर चोरों का धावा, जैन मंदिर से चुराई 7 अष्टधातु की मूर्तियां เก็บถาวร 2016-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in Hindi). Patrika news network. 2016-10-25.
  4. Idols by Material[1][2]. hinduofuniverse.com.
  5. "The Eight Metals"
  6. Social, Cultural, and Economic History of Himachal Pradesh. Manjit Singh Ahluwalia. Indus Publishing. 1998 p. 163.
  7. स्वर्ण रूप्यं ताम्रं च रंग यशदमेव च। शीसं लौहं रसश्चेति धातवोऽष्टौ प्रकीर्तिता:। Here rasa can be taken as either mercury or brass
  8. Ashtadhatu Idols Theft[3][4][5][6][7] เก็บถาวร 2022-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[8] เก็บถาวร 2021-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[9][10][11][12][13]