ข้ามไปเนื้อหา

อัลวะลีดที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลวะลีดที่ 2
الْوَلِيد بْنِ يَزِيد
อะมีรุลมุอ์มินีน
เคาะลีฟะตุลลอฮ์
เฟรสโกของวะลีด อิบน์ ยะซีดจากก็อศร์อัมเราะฮ์
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 11 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
ครองราชย์6 กุมภาพันธ์ 743 – 17 เมษายน 744
ก่อนหน้าฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก
ถัดไปยะซีด อิบน์ อัลวะลีด
ประสูติป. ค.ศ. 709
อัชชาม รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
สวรรคต17 เมษายน ค.ศ. 744 (35 พรรษา)
อัชชาม รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศจอร์แดน)
สาเหตุการสวรรคต: ถูกปลงพระชนม์
คู่อภิเษกอาติกะฮ์ บินต์ อุษมาน อิบน์ มุฮัมมัด
พระราชบุตร
  • อัลฮะกัม อิบน์ อัลวะลีด อิบน์ ยะซีด
  • อุษมาน อิบน์ อัลวะลีด อิบน์ ยะซีด
พระนามเต็ม
อัลวะลีด อิบน์ ยะซีด อิบน์ อับดุลมะลิก
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
พระราชบิดายะซีดที่ 2
พระราชมารดาอุมมุลฮัจญาจญ์ บินต์ มุฮัมมัด
ศาสนาอิสลาม

อัลวะลีด อิบน์ ยะซีด อิบน์ อับดุลมะลิก (อาหรับ: الْوَلِيد بْنِ يَزِيد بْنِ عَبْد الْمَلِك, อักษรโรมัน: Al-Walīd ibn Yazīd ibn ʿAbd al-Malik; ค.ศ. 709 – 17 เมษายน ค.ศ. 744) โดยทั่วไปรู้จักกันในพระนาม อัลวะลีดที่ 2 เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 11 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ที่ครองราชย์ใน ค.ศ. 743 จนกระทั่งถูกลอบปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 744 พระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก พระปิตุลา

พระราชสมภพแและภูมิหลัง

[แก้]

อัลวะลีดเป็นพระราชโอรสของยะซีดที่ 2 เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ กับอุมมุลฮัจญาจญ์ บินต์ มุฮัมมัด อัษษะเกาะฟี พระมเหสี ใน ค.ศ. 709 พระราชมารดาเป็นธิดาในข้าราชการอุมัยยะฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ ยูซุฟ อัษษะเกาะฟี

ยะซ๊ดที่ 2 พระราชบิดา ครองราชย์ใน ค.ศ. 720 ถึงมกราคม ค.ศ. 724 ยะซีดที่ 2 สวรรคตที่อิรบิดในบัลกออ์ (ทรานส์จอร์แดน) ซึ่งอยู่ในญุนด์ดิมัชก์ (เขตทหารของดามัสกัส) เมื่อวันที่ 26 ชะอ์บาน ฮ.ศ. 105 (28 มกราคม ค.ศ. 724)[1] อัลวะลีด พระราชโอรส หรือฮิชาม พระเชษฐาร่วมพระราชบิดา เป็นผู้นำละหมาดพระศพ[2] ยะซีดตั้งพระทัยแต่งตั้งอัลวะลีดเป็นผู้สืบทอด แต่มัสละมะฮ์เกลี้ยกล่อมให้แต่งตั้งฮิชามก่อน แล้วค่อยต่อด้วยอัลวะลีด[3]

พระชนม์ชีพช่วงต้น

[แก้]

ขึ้นครองราชย์

[แก้]
ดีนารทองคำของอัลวะลีดที่ 2 อิบน์ ยะซีด

ฮิชามสวรรคตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 743 และมัสละมะฮ์ พระราชโอรส เป้นผู้นำละหมาดพระศพ[4] อัลวะลีดที่ 2 ขึ้นครองเป็นเคาะลีฟะฮ์และสั่งให้อัลอับบาส อิบน์ อัลวะลีด ลูกพี่ลูกน้อง ให้จับกุมลูกชายของฮิชามที่ริศอฟะฮ์ ใกล้แพลไมราในทันที แต่ห้ามมิให้รบกวนมัสละมะฮ์หรือครัวเรือนของเขาโดยเด็ดขาด เพื่อแสดงความเคารพต่อความเป็นพระสหายเก่าของทั้งสอง และป้องกันอัลวะลีดจากเคาะลีฟะฮ์ฮิชามของมัสละมะฮ์[5][6]

รัฐเคาะลีฟะฮ์

[แก้]

สวรรคต

[แก้]

ยะซีดแอบเข้าไปในดามัสกัสและโค่นล้มอัลวะลีดด้วยการรัฐประหาร ตามมาด้วยการเบิกจ่ายเงินจากกระทรวงการคลัง[7] องค์เคาะลีฟะฮ์ถูกล้อมในปราสามนอกเมือง โดยสู้รบอย่างดี จนกระทั่งวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 744 ที่ Al-Aghdaf ตรงบริเวณประเทศจอร์แดนในปัจจุบัน พระองค์พ่ายแพ้และถูกสังหารโดยกองกำลังของซุลัยมาน อิบน์ ฮิชาม ยะซีดที่ 3 ลูกพี่ลูกน้อง ขึ้นครองราชย์ต่อ

ตามรายงานของตัวยะซีดเองระบุว่า ยะซีดส่งอับดุลอะซีซ อิบน์ อัลฮัจญาจญ์ ไปพบกับอัลวะลีดที่ al-Bakhra[8] อับดุลอะซีซเสนอที่จะจัดตั้งสภาเผ่า (ชูรอ) เพื่อตัดสินอนาคตของอาณาจักร วะลีดปฏิเสธข้อเสนอนี้และโจมตี ซึ่งทำให้พระองค์สูญเสียชีวิต[9]

พระราชวงศ์

[แก้]

อาติกะฮ์ บินต์ อุษมาน อิบน์ มุฮัมมัด ธิดาคนหนึ่งของอุษมาน อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ อะบีซุฟยาน สมรสกับเคาะลีฟะฮ์อัลวะลีดที่ 2[10][11] อัลวะลีดยังนำนักขับร้องสองคนนาม Shuhda และ Al-Nawar เป็นพระสนม[12]

อัลวะลีดที่ 2 มีพระราชโอรสสองพระองค์ คือ อัลฮะกัมและอุษมาน พระองค์แต่งตั้งให้ทั้งสองเป็นผู้สืบทอด แต่เมื่อยะซีดที่ 3 ชนะและขึ้นครองราชย์ พระองค์สั่งให้คุมขังอุษมานและฮะกัม[13][14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Powers 1989, pp. 193–194.
  2. Powers 1989, p. 194.
  3. Blankinship 1989, p. 87, note 439.
  4. Hillenbrand 1989, p. 72.
  5. Judd 2008, p. 453.
  6. Hillenbrand 1989, p. 100.
  7. Theophilus. Quoted Robert Hoyland, Seeing Islam as Others Saw It (Darwin Press, 1998), 660
  8. 1234 Chronicle apud Hoyland confirms this, 660; it was a fortress near Palmyra. 1234 and Muslim sources dispute over whether Walid was there all along or whether he had fled there.
  9. Patricia Crone, God's Caliph (Cambridge University Press, 1986), 127
  10. Howard 1990, pp. 197–198, note 655.
  11. Robinson 2020, p. 146.
  12. Bernards, M.; Nawas, J.A. (2005). Patronate And Patronage in Early And Classical Islam. Islamic History and Civilization. Brill. p. 335. ISBN 978-90-04-14480-4.
  13. Theophilus and Muslim sources apud Hoyland, 660-1
  14. God's Caliph 124-5

บรรณานุกรม

[แก้]