เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม
Cadbury Research Library, มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
folio 1 verso (ขวา) และ folio 2 recto (ซ้าย)
วันที่เขียนระหว่าง ป. 568 และ 645
ภาษาอาหรับ
อาลักษณ์Unknown
วัสดุ
รูปแบบvertical
อักษรอักษรฮิญาซ
เนื้อหาส่วนของซูเราะฮ์ที่ 18 ถึง 20
การเข้าถึง1572a
การเปรียบเทียบระหว่างอัลกุรอานในศตวรรษที่ 21 (ซ้าย) และอัลกุรอานที่เขียนด้วยมือที่เบอร์มิงแฮม (ขวา)

เอกสารตัวเขียนอัลกุรอานเบอร์มิงแฮม (อังกฤษ: Birmingham Quran manuscript) เป็นแผ่นหนังสัตว์ที่เขียนอัลกุรอานในช่วงยุคต้นของอิสลามเอาไว้ โดยในปี ค.ศ. 2015 เอกสารนี้ ซึ่งอยู่ในความถือครองของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม[1] ได้ผ่านการตรวจหาอายุด้วยคาร์บอนแล้ว กำหนดอายุได้ว่า เขียนขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 568 และ ค.ศ. 645 (ตรงกับช่วงเวลาระหว่าง 56 ปีก่อน ฮ.ศ. และ ฮ.ศ. 25 ตามปฏิทินอิสลาม)[2][3] เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเอกสารตัวเขียนตะวันออกกลางมินกานาซึ่งอยู่ในความถือครองของหอสมุดวิจัยแคดเบอรี มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม[2]

ตัวเอกสารเขียนด้วยน้ำหมึกบนแผ่นหนังสัตว์ เขียนเป็นภาษาอาหรับ อักษรฮิญาซ และยังคงอ่านได้ชัดเจน[3] แผ่นหนังนี้ช่วยรักษาบางส่วนบางตอนของซูเราะฮ์ที่18 (อัล-กะฮ์ฟ) ถึง 20 (ฏอฮา) เอาไว้[4] มีการจัดแสดงเอกสารนี้ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมเมื่อปี ค.ศ. 2015 หลังจากนั้น ย้ายไปที่พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์เบอร์มิงแฮมจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2016[5]

การกำหนดอายุ[แก้]

การหาอายุจากคาร์บอนกัมตรังสี ซึ่งดำเนินการที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด กำหนดอายุของเอกสารนี้ได้เป็น 1465±21 ปีก่อนปัจจุบัน (ก่อน ค.ศ. 1950) ซึ่งเมื่อปรับผลคำนวณแล้ว มั่นใจราว 95.4% ได้ว่า เอกสารเขียนขึ้นระหว่าง ค.ศ. 568–645[6][7]

ความสำคัญ[แก้]

การกำหนดอายุดังกล่าวมีความสำคัญ เนื่องจากศาสดามุฮัมมัดมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. ประมาณ 570 ถึง ค.ศ. 632[8] และตามประเพณีของมุสลิมนิกายซุนนี อบูบักร์ (ครองราชย์ ค.ศ. 632-634) เป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรกที่รวบรวมอัลกุรอานขึ้น แล้วเคาะลีฟะฮ์อุสมานจึงทำให้กุรอานเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก แล้วสั่งให้เผาสำเนากุรอานรุ่นก่อนหน้านั้นให้หมด[9]

ในประกาศของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม มุฮัมมัด อีซา วาเลย์ (Muhammad Isa Waley) หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ กล่าวว่า[2]

สังคมมุสลิมในสมัยนั้นยังไม่มีฐานะมากพอที่จะเก็บหนังสัตว์ไว้เป็นสิบ ๆ ปี และการจะทำกุรอานฉบับสมบูรณ์นั้นจะต้องใช้หนังสัตว์จำนวนมาก...

เดวิด โธมัส ศาสตราจาร์ยศาสนาคริสต์และอิสลามประจำมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม กล่าวว่า[2]

การทดสอบที่กระทำต่อแผ่นหนังเอกสารของเบอร์มิงแฮมนี้ ให้ผลลัพธ์ว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งที่แผ่นหนังผืนนี้นำมาจากตัวสัตว์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของศาสดามุฮัมมัดหรือไม่นานหลังจากนั้น นี่หมายความว่า อัลกุรอานส่วนที่เขียนลงบนแผ่นหนังผืนนี้สามารถกำหนดอายุได้เป็นไม่เกิน 20 ปีหลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต ส่วนนี้คงเขียนขึ้นในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับรูปแบบของอัลกุรอานซึ่งเราอ่านกันในทุกวันนี้อย่างยิ่ง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Virtual Manuscript Room". University of Birmingham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Birmingham Qur'an manuscript dated among the oldest in the world". University of Birmingham. 22 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015.
  3. 3.0 3.1 "'Oldest' Koran fragments found in Birmingham University". BBC. 22 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015.
  4. "Tests show UK Quran manuscript is among world's oldest". CNN. 22 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2015.
  5. Authi, Jasbir (22 กรกฎาคม 2015). "Worldwide media frenzy as 'oldest Koran' found lying forgotten at University of Birmingham". Birmingham Mail. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2015.
  6. "FAQs: About the Birmingham Qur'an manuscript". University of Birmingham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2015.
  7. T. F. G. Higham, C. Bronk Ramsey, D. Chivall, J. Graystone, D. Baker, E. Henderson and P. Ditchfield (19 เมษายน 2018). "Radiocarbon Dates from the Oxford AMS System: Archaeometry Datelist 36". Archaeometry.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Elizabeth Goldman (1995), p. 63, gives 8 June 632, the dominant Islamic tradition. Many earlier (mainly non-Islamic) traditions refer to him as still alive at the time of the invasion of Palestine. See Stephen J. Shoemaker,The Death of a Prophet: The End of Muhammad's Life and the Beginnings of Islam,[ต้องการเลขหน้า] University of Pennsylvania Press, 2011
  9. Leaman, Oliver (2006). "Canon". The Qur'an: an Encyclopedia. New York, NY: Routledge. pp. 136–139. ISBN 0-415-32639-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]