อัลกะฮฟ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัลกะฮฟ์[1] (อาหรับ: الكهف) เป็นซูเราะฮ์ที่ 18 จากอัลกุรอานที่มี 110 อายะฮ์

อรรถกถา[แก้]

18:9-26 "ชาวถ้ำ"[แก้]

โองการที่ 9–26[2] ของบทนี้กล่าวถึงนิทานพื้นบ้านคริสเตียนที่มีชื่อว่า "ชาวถ้ำ"[3] กลุ่มผู้ศรัทธาในวัยหนุ่มในช่วงที่ผู้ศรัทธาถูกทำร้าย ด้วยทางนำของพระเจ้า พวกเขาหนีออกจากเมืองพร้อมกับสุนัขไปหลบในถ้ำแล้วงีบหลับไป เมื่อพวกเขาตื่นขึ้น จึงพบว่าคนในเมืองเป็นผู้ศรัทธาหมดแล้ว

18:27 ไม่มีที่ว่างสำหรับความหลากหลาย[แก้]

และจงอ่านสิ่งที่ถูกวะฮีย์แก่เจ้า จากคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า ไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงคำกล่าวของพระองค์ และเจ้าจะไม่พบที่พึ่งใด ๆ เลยนอกจากพระองค์ แปลโดยยูซุฟ อะลี (ต้นฉบับ ค.ศ. 1938)[4]

จากอรรถกถาของโอซมา นาซิร มาการิม ชิราซี (Ozma Nasir Makarim Shirazi) กล่าวว่า "ไม่มีที่ว่างแก่ความหลากหลายที่จะเข้าไปยังคำพูดและความรู้ของพระองค์ คำพูดและความรู้ของพระองค์ไม่เหมือนกับคำพูดและความรู้ของมนุษย์ที่จะมีสิ่งใหม่หรือข้อมูลใหม่มาเปลี่ยนแปลงเสมอ"[5]: 18:27  อิบน์ กะษีร กล่าวถึงอายะฮ์นี้ให้มีความหมายว่า "ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลง, บิดเบือน หรือตีความผิดจากมันได้"[1]: 18:27 

18:32-45 พระเจ้าทรงทำลายในสิ่งที่พระองค์ได้ประทาน[แก้]

ในโองการที่ 32–44 ของซูเราะฮ์กล่าวถึงนิยายเปรียบเทียบของชายสองคน คนหนึ่งได้รับพรจากพระเจ้า และอีกคนยากจน คนรวยได้ทำผิดและเริ่มอ้างทรัพย์สินและเชื้อสายของตน

และเขาได้รับผลิตผล ดังนั้นเขาจึงกล่าวแก่เพื่อนของเขา ขณะที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ว่า "ฉันมีทรัพย์สินมากกว่าท่าน และมีข้าบริพารมากกว่า"

— Quran, Al-Kahf (The Cave), Ayah 34[6][7]

โองการที่ 36 อธิบายต่อว่า คนรวยได้พูดแก่เพื่อนของเขาว่าเขาสงสัยในเรื่องวันพิพากษา ในตอนจบ พระเจ้าได้ทำลายทุกสิ่งที่เขามีจนหมด[8]

18:60-82 โมเสสในมุมมองของศาสนาอิสลาม[แก้]

เรื่องที่สามในบทนี้ (โองการที่ 60–82[9]) เกี่ยวกับมูซา (โมเสส) เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้จากผู้รับใช้พระเจ้าที่ไม่ทราบชื่อ ในตัฟซีรของอิบน์ กะษีร ท่านมีชื่อว่าอัลคิฎร์[10]

18:83-98 ซูลก็อรนัยน์[แก้]

ท้ายที่สุด ในโองการที่ 83–98[11] กล่าวถึงชายที่เดินทางตั้งแต่ฝั่งตะวันตกถึงตะวันตกของโลก – มีชื่อว่า ซูลก็อรนัยน์ กุรอานได้กล่าวซ้ำในตำนานของซีเรียเกี่ยวกับกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ช่วยผู้คนสร้างกำแพงเหล็กขนาดใหญ่ระหว่างสองภูเขา และจะยังคงอยู่จนกระทั่งวันพิพากษา[12] กำแพงนี้อาจเป็นผลสะท้อนของความรู้เกียวกับกำแพงเมืองจีน (นักวิชาการในศตวรรษที่ 12 มุฮัมมัด อัลอิดรีซีวาดแผนที่แก่โรเจอร์ที่ 1 แห่งซิซิลี แสดงบริเวณ "ดินแดนก็อกและมาก็อก" ในมองโกเลีย) หรือกำแพงของจักรวรรดิแซสซานิดที่สร้างในทะเลแคสเปียนเพื่อกันพวกป่าเถื่อนทางตอนเหนือ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง[13]

คุณธรรม[แก้]

มีฮะดีษที่บันทึกในเศาะฮีฮ์ มุสลิม ว่า ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า (ความกังวัลเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ปลอม อัลมะซีฮุดดัจญ์ญาล):

"ใครก็ตามในหมู่พวกท่านเจอมัน ก็จงอ่านอายัตแรก ๆ ของซูเราะฮ์ อัลกะฮฟ์"

— Sahih Muslim, Book 41, Number 7015[14]

"ใครที่อ่านซูเราะฮ์อัลกะฮฟ์ในวันศุกร์ จะมีแสงสว่างปรากฏแก่เขาระหว่างสองศุกร์"[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Ibn Kathir. "Tafsir Ibn Kathir (English): Surah Al Kahf". Quran 4 U. Tafsir. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  2. Surat Al-Kahf (18:9–26) – The Holy Qur'an – القرآن الكريم
  3. อัศฮาบุลกะฮฟ์ (อาหรับ: أَصـحـاب الـكَـهـف
  4. https://www.islamawakened.com/quran/18/27/
  5. Nasir Makarim Shirazi, Ozma. "An Enlightening Commentary into the Light of the Holy Qur'an vol. 9". Imam Ali Foundation. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
  6. Surat Al-Kahf (18:34) – The Holy Qur'an – القرآن الكريم
  7. "Quran Surah Al-Kahf ( Verse 34 )". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  8. Surah Al-Kahf (18:32–44) – The Holy Qur'an – القرآن الكريم
  9. Surat Al-Kahf (18:60–82) – The Holy Qur'an – القرآن الكريم
  10. The Story of Musa and Al-Khidr – Tafsir Ibn Kathir
  11. Surat Al-Kahf (18:83–98) – The Holy Qur'an – القرآن الكريم
  12. http://quranx.com/18.96-97
  13. Glassé & Smith 2003, p. 39.
  14. Sahih Muslim – Book 41, Hadith No. 7015
  15. Al-Mustadrak alaa al-Sahihain, by Hakim al-Nishaburi.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]