อันนา ลินด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อันนา ลินด์
ลินด์เมื่อปี 1995
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม 1998 – 11 กันยายน 2003
นายกรัฐมนตรีเกอรัย เพร์สซัน
ก่อนหน้าเลนา ฮเยล์ม-วัลเลน
ถัดไปยัน โอ. คาร์ลซัน
รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม 1994 – 22 มีนาคม 1996
นายกรัฐมนตรีอิงวาร์ คาร์ลซัน
ก่อนหน้าโอโลฟ โยฮันซัน
ถัดไปเลนนา โซมสตัด
สภาชิกสภา
ดำรงตำแหน่ง
20 กันยายน 1998 – 11 กันยายน 2003
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน 1982 – 15 กันยายน 1985
เขตเลือกตั้งมณฑลเซอเดอร์มันลันด์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อิลวา อันนา มาริอา ลินด์ (Ylva Anna Maria Lindh)

19 มิถุนายน ค.ศ. 1957(1957-06-19)
เอ็นสเกเดพาริช ประเทศสวีเดน
เสียชีวิต11 กันยายน ค.ศ. 2003(2003-09-11) (46 ปี)
โรงพยาบาลคาโรลินสกา สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
ที่ไว้ศพโบสถ์คาทารินา
พรรคการเมืองพรรคสังคมประชาธิปไตย
คู่สมรสโบ ฮ็อล์มเบร์ย (สมรส 1991)
บุตร2
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุปซอลลา

อิลวา อันนา มาริอา ลินด์ (สวีเดน: Ylva Anna Maria Lindh; 19 มิถุนายน 1957 – 11 กันยายน 2003) เป็นนักการเมืองชาวสวีเดน สังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตย อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่ปี 1998 จนกระทั่งถูกลอบสังหารในปี 2003 และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 1994 ถึง 1996 เธอเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนเขตมณฑลเซอเดอร์มันลันด์ จากปี 1982 ถึง 1985 และอีกครั้งในปี 1998 ถึง 2003

การลอบสังหาร[แก้]

เมื่อเวลา 16:00 ของวันที่ 10 กันยายน 2003 ขณะเธอกำลังจับจ่ายสินค้าอยู่ที่ส่วนเครื่องแต่งกายสตรีในห้างนอร์ดิสกาโคมปาเนียต ในสต็อกโฮล์ม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการโต้วาทีในคืนนั้นภายใต้ประเด็นประชามติว่าด้วยการปรับมาใช้สกุลเงินยูโร ลินด์ถูกแทงเข้าที่หน้าอก, ช่องท้อง และแขนทั้งสองข้าง ระหว่างนั้นเธอไม่ได้อยู่ภายใต้การอารักขาขององครักษ์จากกองรักษาความปลอดภัยสวีเดน เหตุการณ์นี้เป็นที่ถกเถียงขึ้นมาทันที โดยเฉพาะเนื่องมาจากความคล้ายคลึงกับเหตุลอบสังหารนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งลินด์สังกัด โอโลฟ พาลเม เมื่อปี 1986[1]

ลินด์ถูกนำตัวส่งไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคาโรลินสกาในทันที การผ่าตัดและถ่ายเลือดดำเนินไปเป็นเวลาเก้าชั่วโมง รายงานในเวลาต่อมาระบุว่าเธอมีอาการเลือดไหลภายในอย่างหนักและตับได้รับบาดเจ็บ หลังการผ่าตัดสิ้นสุด เธอก็ดีขึ้นโดยทันที อย่างไรก็ตามในหนึ่งชั่วโมงต่อมา เกิดอาการแทรกซ้อน ทำให้เธอต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มเติม จนกระทั่งเมื่อเวลา 05:29 ของวันที่ 11 กันยายน 2003 แพทย์รายงานว่าเธอเสียชีวิต การเสียชีวิตของเธอเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วทั้งสหภาพยุโรป[2]

ในวันที่ 24 กันยายน ตำรวจประกาศจับผู้ต้องสงสัยก่อเหตุฆาตกรรม มิไยโล มิไวโลวิช บุคคลเชื้อสายเซอร์เบียที่เกิดในสวีเดน ถึงแม้ความนิยมของลินด์และเวลาที่เกิดเหตุจะประจวบเหมาะกันบ่งชี้ว่าการก่อเหตุนี้มีการเมืองเป็นแรงจูงใจ แต่ฆาตกรกลับปฏิเสธว่านี่ไม่เป็นการแสดงออกทางการเมืองหรือการกระทำทางการเมือง และถึงแม้ว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งจะตีพิมพ์ภาพของเขาขณะกำลังฟังปราศรัยของผู้นำพรรคเสรีชน ลาร์ส เลโยนบอร์ย ขณะที่สวมเสื้อคล้ายกับตัวที่ก่อเหตุฆาตกรรม มิไยโลวิชยอมรับว่าเขาฟังเพียงเพราะรู้สึกเป็นการปราศรัยที่ "รื่นรมย์" (entertaining) และปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการกระทำของเขาโดยสิ้นเชิง[3] ในบทสัมภาษณ์ปี 2011 กับ เอกซ์เพรสเซน มิไยโลวิชระบุว่าขณะนั้นเขา "มีความเกลียดชังต่อนักการเมือง[ทุกคน]" และกำลังอยู่ในภาวะหลอนจากยาเสพติด รวมถึงการที่ลินด์เป็นเหยื่อในวันนั้นเป็น "เรื่องบังเอิญ" เท่านั้น[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Delling, Hannes (10 September 2013). "Fallet Lindh fick Säpo att tänka om" [The Lindh case got the Swedish Security Service to rethink]. Svenska Dagbladet (ภาษาสวีเดน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 March 2018.
  2. "Sverige och världen i chock - reaktioner på Lindhs död" [Sweden and the world in shock - reactions to Lindh's death]. Sydsvenskan (ภาษาสวีเดน). 11 September 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 6 March 2018.
  3. Nylén, Susanne (13 January 2004). "Här möter mördaren Lars Leijonborg" [Here the killer meets Lars Leijonborg]. Aftonbladet (ภาษาสวีเดน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 May 2011.
  4. "Anna Lindh killer breaks silence over murder". The Local. Sweden. 28 August 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2016. สืบค้นเมื่อ 20 June 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า อันนา ลินด์ ถัดไป
เจ้าหน้าที่รัฐบาล


Görel Thurdin รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมสวีเดน
(1994–1998)
Kjell Larsson
Lena Hjelm-Wallén รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสวีเดน
(1998–2003)
Jan O. Karlsson