อันทักยา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อันทักยา | |
---|---|
พิกัด: 36°12′09″N 36°09′38″E / 36.20250°N 36.16056°E | |
ประเทศ | ตุรกี |
ภูมิภาค | เมริเตอร์เรเนียน |
จังหวัด | ฮาเตย์ |
พื้นที่[1] | |
• เขต | 858.08 ตร.กม. (331.31 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 67 เมตร (220 ฟุต) |
ประชากร (2012)[2] | |
• เขตเมือง | 216,960 คน |
• เขต | 470,833 |
• ความหนาแน่นเขต | 550 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+3 (TRT) |
รหัสไปรษณีย์ | 31xxx |
รหัสพื้นที่ | (+90) 326 |
แผ่นป้ายทะเบียนรถ | 31 |
เว็บไซต์ | www |
อันทักยา (ตุรกี: Antakya, เสียงอ่านภาษาตุรกี: [ɑnˈtɑkjɑ]) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในประเทศตุรกี เดิมชื่อ แอนติออก ซึ่งเป็นชื่อที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ อันฏอกียะหฺ ซึ่งมาจากคำว่า Ἀντιόχεια อันติออเคีย ในภาษากรีก หรือ Antiochia ในภาษาละติน ก่อตั้งโดย Seleucus I ซึ่งเป็นอดีตทหารของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 300 ก่อนคริสตกาล ต่อมาในช่วงปี 261-281 ก่อนคริสตกาล แอนติออกุส ลูกครึ่งกรีกเปอร์เซียขึ้นปกครองเป็นจักรพรรดิครองเมืองนี้ ตั้งแต่นั้นมาก็มีจักรพรรดิใช้ชื่อนี้หลายคน เมืองนี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนามแอนติออกสืบมา ประชาชนที่อาศัยในเมืองนี้เป็นชาวกรีก
ในปี 40-39 ก่อนคริสตกาล แอนติออกถูกชาวพารเธีย (เปอร์เซียโบราณ) เข้ายึดครอง และต่อมาก็ตกภายใต้อาณาจักรโรมัน ประวัติศาสตร์ระบุว่า สาส์นของนบีอีซา (เยซู) เริ่มมาถึงแอนติออกในปี 34 หรือ 36 แล้วในปี 37 ก็เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง จนจักรพรรดิ์กาลิกุลา (Caligula) แห่งโรม ซึ่งขึ้นปกครองในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 37 ต้องส่งคนไปตรวจสอบเพื่อรายงานความเสียหาย
แอนติออกในสมัยต้นอิสลาม
[แก้]ในปี ค.ศ. 637 กองทัพอิสลามภายใต้การปกครองของคอลีฟะหฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ สามารถเข้ายึดเมืองแอนติออกไดั ต่อมาในปี ค.ศ. 969 เมืองแอนติออกก็ถูกกองทัพของจักรพรรดินิเซฟอรุส ที่ 2 แห่งไบซันไทน์ เข้ายึดต่อมาถูกชาวอาร์เมเนียเข้ายึดครองอีก จนกระทั่งในที่สุดก็ถูกกองทัพของพวกซัลญูกเข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1084
แอนติออกในสมัยสงครามครูเสด
[แก้]ในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ชาวยุโรปได้บุกตีเมืองแอนติออก จนต้องตกภายใตัพวกเขาเป็นเวลานาน ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1268 เมืองแอนติออกถูกกองทัพของกษัตริย์บัยบรัส มัมลูก แห่งอิยิปต์เข้ายึดครอง
แอนติออกในสมัยปัจจุบัน
[แก้]ปัจจุบันแอนติออกเป็นที่รู้จักกันในนาม อันทักยา อยู่ในประเทศตุรกี ติดกับชายแดนซีเรียและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชาวเมืองยังคงพูดภาษาอาหรับ สำเนียงซีเรีย ในเมืองนี้มีภูเขาลูกหนึ่งมีชื่อว่า ฮะบีบ อันนัจญารฺ
ดูเพิ่ม
[แก้]- ↑ "Area of regions (including lakes), km²". Regional Statistics Database. Turkish Statistical Institute. 2002. สืบค้นเมื่อ 2013-03-05.
- ↑ "Population of province/district centers and towns/villages by districts - 2012". Address Based Population Registration System (ABPRS) Database. Turkish Statistical Institute. สืบค้นเมื่อ 2013-02-27.