ข้ามไปเนื้อหา

อันดับทัวทารา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อันดับทัวทารา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
กลางยุคไทรแอซซิก - โฮโลซีน,[1] 240–0Ma
Homoeosaurus ฟอสซิส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Rhynchocephalia
Günther, 1867
Families

อันดับทัวทารา (อังกฤษ: tuatara) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchocephalia

สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ เดิมเคยมีอยู่หลากหลายชนิด และหลายวงศ์ มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง แต่จนถึงปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปเกือบหมดแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่เพียงวงศ์เดียว และมีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์เฉพาะในหมู่เกาะของนิวซีแลนด์เท่านั้น

สันนิษฐานว่าสัตว์เลื้อยคลานในอันดับทัวทาราเป็นบรรพบุรุษของ Squamata หรือ งูและกิ้งก่า เนื่องจากมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ช่องเปิดทวารร่วมเป็นรอยผ่าตามขวางลำตัว, ลิ้นมีรอยหยักทางด้านหน้า, กระบวนการลอกของผิวหนัง, การเกาะติดของฟันติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง, ตำแหน่งที่ปล่อยหางหลุดจากลำตัว, มีถุงขนาดเล็กที่อยู่ด้านท้ายของห้องทวารร่วมซึ่งเปรียบเทียบได้กับถุงพีนิสของงูและกิ้งก่า รวมทั้งโครงสร้างทางกายวิภาคหลายประการ แต่ก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างไปออกจาก Squamata เช่น กระดูกควาเดรทเป็นชิ้นเล็ก, มีกระดูกแกสทราเลียในกล้ามเนื้อผนังช่องท้อง, ฟันบนกระดูกพาลาทีนมีขนาดใหญ่, ก้านกระดูกโคโรนอยด์ของขากรรไกรล่างเป็นชิ้นใหญ่ เป็นต้น[2]

การจำแนก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jones, M. E.; Anderson, C.; Hipsley, C. A.; Müller, J.; Evans, S. E.; Schoch, R. R. (2013). "Integration of molecules and new fossils supports a Triassic origin for Lepidosauria (lizards, snakes, and tuatara)". BMC Evolutionary Biology. 13: 208. doi:10.1186/1471-2148-13-208. PMC 4016551. PMID 24063680.
  2. หน้า 370-371, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  3. Evans, S. E., Prasad, G. V. R. & Manhas, B. K., 2001: Rhynchocephalians (Diapsida: Lepidosauria) from the Jurassic Kota Formation of India. Zoological Journal of the Linnean Society: Vol. 133, #3, pp. 309-334
  4. Apesteguía S, Novas FE (2003) Large Cretaceous sphenodontian from Patagonia provides insight into lepidosaur evolution in Gondwana. Nature, 425:609–612
  5. Wu, X-C. 1994: Late Triassic-Early Jurassic sphenodontians from China and the phylogeny of the Sphenodontia. in Fraser, N. C. & Sues, H-D.. 1994: In the Shadow of the Dinosaurs. Cambridge University Press, New York. 1994
  6. Susan E. Evans and Magdalena Borsuk−Białynicka (2009). "A small lepidosauromorph reptile from the Early Triassic of Poland". เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Paleontologica Polonica 65: 179–202.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]