อัตลักษณ์ประจำสถานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อัตลักษณ์ประจำสถานี (อังกฤษ: Station identification) หรือที่เรียกกันว่า ไอเด้นท์ (อังกฤษ: ident) คือส่วนหนึ่งของสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ ซึ่งจะบอกชื่อประจำรายการ หรือชื่อประจำสถานีที่ออกอากาศอยู่ในขณะนั้น อัตลักษณ์ประจำสถานียังมีส่วนเกี่ยวกับโลโก้ผลิตที่ใช้ในรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ต่างๆด้วย

ในการออกอากาศรายการทางโทรทัศน์ เมื่อจบช่วงนั้นของรายการที่ออกอากาศอยู่แล้ว จะแสดงอัตลักษณ์ประจำสถานี เพื่อเป็นการปิดท้ายช่วงนั้นของรายการ

ทวีปเอเชีย[แก้]

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไอเด้นท์จะรู้จักกันในชื่อ มอนเทจ (อังกฤษ: montage)[ต้องการอ้างอิง] ส่วนประเทศกัมพูชาและเวียดนามจะรู้จักกันในชื่อ อินเตอร์ลูด (อังกฤษ: interlude)

การใช้ไอเด้นท์ในฟิลิปปินส์จะแตกต่างจากที่ประเทศอื่นๆใช้ คือนำมาใช้สำหรับบอกฤดูที่ออกอากาศรายการนั้น แทนที่จะบอกชื่อและสัญลักษณ์ประจำรายการหรือสถานีโทรทัศน์ อันได้แก่ tag-init (ฤดูร้อน), tag-ulan (ฤดูฝน), และ Pasko (ฤดูช่วงวันคริสต์มาส) โดยจะแสดงผลเป็นระยะเวลา 3-6 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานีโทรทัศน์ด้วย โดยไอเด้นท์ที่ออกอากาศระยะเวลายาวที่สุดมีชื่อว่า "Thank You Ang Babait Ninyo" ซึ่งออกอากาศทางช่องเอบีเอส-ซีชีเอ็น เมื่อ พ.ศ. 2557 โดยออกอากาศเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 10 นาที 36 วินาที

ออสเตรเลีย[แก้]

สำหรับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในออสเตรเลียนั้น จะใช้ชื่อเมือง ชื่ออำเภอ หรือชื่อบริษัทที่ออกอากาศในอัตลักษณ์ประจำสถานี เช่น ชาร์เตอร์ส ทาวเวอร์ส เป็นต้น โดยอัตลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์ต่างๆจะใช้ชื่อบริษัทที่ออกอากาศแทน

สหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป[แก้]

สถานีโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร และในทวีปยุโรปนั้น จะแสดงอัตลักษณ์ประจำสถานีกับแสดงการแจ้งผังรายการไปในเวลาเดียวกัน โดยรูปแบบกราฟิกที่นำมาใช้ในไอเด้นท์ยุคแรกๆของสถานีโทรทัศน์ต่างๆในสหราชอาณาจักร และในทวีปยุโรป มีวิวัฒนาการมาจากสิ่งประดิษฐ์เครื่องจักรกลทั้งสิ้น (ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ลูกโลกที่บีบีซีนำมาใช้) และในสมัยคริสต์ทศวรรษ 1980 ก็ได้เริ่มมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างงานกราฟิกประเภทนี้ด้วย และจะใช้ไอเด้นท์พิเศษเมื่อออกอากาศในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยตกแต่งให้เหมาะกับช่วงเทศกาลนั้นด้วย