อาดเลอร์ทาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัดเลอร์ทาค)
ยุทธการที่บริเตน
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง

สมรภููมิทางอากาศ ค.ศ. 1940
วันที่13 สิงหาคม ค.ศ.1940[1]
สถานที่
ผล อังกฤษชนะ[2]
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Hugh Dowding
Keith Park
Charles Portal
แฮร์มันน์ เกอริง
อัลแบร์ท เคสเซิลริง
ฮูโก ชแปร์เริล
ความสูญเสีย
Fighter Command:
13 fighters (air)[3]
1 fighter (ground)[2]
3 fighter pilots killed[2]
RAF Bomber Command:
11 bombers (air)[2]
24 aircrew killed[2]
9 captured[4]
Other:
47 miscellaneous aircraft (ground)[2]
c. several hundred civilians[5]
47[3][6]–48[7] aircraft destroyed (air)
39 severely damaged[7]
circa 200 killed or captured including:
44 killed
23 wounded
at least 45 missing[8]

อาดเลอร์ทาค (เยอรมัน: Adlertag)[9][10][11][12][13] หรือ วันนกอินทรี เป็นชื่อที่ใช้เรียกวันแรกของ "ปฏิบัติการอินทรีขย้ำ" (เยอรมัน: Unternehmen Adlerangriff) ซึ่งได้เป็นรหัสนามของปฏิบัติการทางทหารโดยกองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟอ)ของนาซีเยอรมนีเพื่อทำลายกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ(RAF) โดยเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องพบความปราชัยในยุโรปตะวันตกและสแกนดิเนเวีย แทนที่จะหันไปทำข้อตกลงกับเยอรมนี อังกฤษได้ปฏิเสธการทาบทามทั้งหมดเพื่อเจรจาสันติภาพ

ในช่วงยุทธการที่บริเตน ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งที่ 16 กับกองทัพเยอรมัน(เวร์มัคท์) ให้เตรียมความพร้อมสำหรับการรุกรานสหราชอาณาจักร ปฏิบัติการครั้งนี้ถูกเรียกรหัสนามว่า ปฏิบัติการสิงโตทะเล (เยอรมัน: Unternehmen Seelöwe) ก่อนที่จะดำเนินการครั้งนี้ เยอรมันจำเป็นต้องครองน่านฟ้าให้ได้เสียก่อน ลุฟท์วัฟเฟอจะต้องทำลายกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษเพื่อป้องกันไม่ให้อังกฤษโจมตีหมู่เรือยกพลขึ้นบกของเยอรมัน หรือให้การป้องกันแก่กองเรือของราชนาวีอังกฤษที่หมายจะสกัดกั้นการยกพลขึ้นบกทางทะเลของเยอรมัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งลุฟท์วัฟเฟอ จอมพล แฮร์มันน์ เกอริงและกองบัญชาการสูงสุดกองทัพอากาศเยอรมัน (OKL) ด้วยคำสั่งที่ 17 เพื่อเปิดฉากการจู่โจมทางอากาศ

เป้าหมายที่สำคัญคือ กองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะทำให้อังกฤษสูญเสียศักยภาพการครองน่านฟ้าทันที ทั้งนี้ตลอดช่วงเดือนกรกฏาคมและต้นเดือนสิงหาคม แม้เยอรมันจะมีความพร้อมออกปฏิบัติการอาดเลอร์ทาคทุกเมื่อ แต่วันปฏิบัติการกลับถูกเลื่อนออกไปหลายครั้งเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ในที่สุดก็สามารถออกปฏิบัติการได้ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1940 การโจมตีของเยอรมันในวันดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดเสียหายอย่างหนักและทั้งชีวิตและทรัพย์สินในภาคพื้นดิน อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยการข่าวกรองและการสื่อสารที่ย่ำแย่ ฝ่ายเยอรมันไม่ได้ประสบความสำเร็จในการทำลายอำนาจการครองน่านฟ้าของอังกฤษมากนัก

เกอริงได้ให้สัญญากับฮิตเลอร์ว่า อาดเลอร์ทาคและอาดเลอร์กริฟจะบรรลุผลตามที่ต้องการภายในไม่กี่วันหรือในสัปดาห์ที่เป็นอย่างช้า หมายความว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของกองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ แต่อาดเลอร์ทาคและปฏิบัติการครั้งต่อๆมากลับล้มเหลว เยอรมันไม่สามารถทำลายกองทัพอากาศหลวงอังกฤษและไม่สามารถครองน่านฟ้าอังกฤษได้ ทำให้ปฏิบัติการสิงโตทะเลต้องถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. Bungay 2000, p. 207.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bungay 2000, p. 211.
  3. 3.0 3.1 Bungay 2000, p. 371.
  4. Donnelly 2004, pp. 88–89.
  5. Note excluding 4 casualties from Australia; the Commonwealth War Graves Commission lists only 25 Civilian casualties 13 August 1940
  6. Taylor and Moyes 1968, p. 23.
  7. 7.0 7.1 Hough and Richards 2007, p. 162.
  8. Mason 1969, pp. 240–243.
  9. Hough and Richards 2007, p. 154.
  10. Murray 1983, p. 50.
  11. Bungay 2000, p. 203.
  12. Fiest 1993, p. 28.
  13. Mason 1969, p. 236.