อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คีริลล์
Кирилл
อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 – ปัจจุบัน
ก่อนหน้าอัครบิดรอะเลคเซย์ที่ 2 แห่งมอสโก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วลาดีมีร์ มีไคโลวิช กันดาเยฟ

(1946-11-20) 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 (77 ปี)
เลนินกราด, รัสเซียโซเวียต, สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติรัสเซีย
ศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์http://patriarchia.ru/

อัครบิดรคีริลล์ (รัสเซีย: Патриарх кирилл ชื่อจริง:วลาดีมีร์ มีไคโลวิช กันดาเยฟ รัสเซีย: Владимир Михайлович Гундяев) หรือที่ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่าพระอัครบิดรคีริลล์ เป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ทั้งในประเทศรัสเซียและนอกประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งอัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยทรงได้รับการยอมรับจากอัครบิดรของคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ทุกองค์[1]

ก่อนที่ท่านจะทรงได้รับสมณศักดิ์เป็นอัครบิดร ท่านทรงเคยดำรงตำแหน่งเป็นมุขนายก อัครมุขนายก และมุขนายกมหานครแห่งสโมเลนสค์และคาลินินกราดตามลำดับ และในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นมุขนายกมหานครอยู่นั้น ก็ได้เป็นประธานความสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ต่างประเทศอีกด้วย และเป็นสมาชิกถาวรของสมัชชาศักดิ์สิทธิ์เมื่อปี ค.ศ. 1989

ประวัติช่วงต้น[แก้]

ครอบครัว[แก้]

อัครบิดรคีริลล์เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 ที่เลนินกราด (ปัจจุบันคือเมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก) ประเทศรัสเซีย เป็นบุตรของมิเกล กันดาเยพ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1974 และไรยซา กันดาเยพ ครูซึ่งสอนอยู่ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1984 มีนามเดิมว่า วลาดีมีร์ มีไคโลวิช กันดาเยฟ ทรงมีพี่ชาย 1 คน คือหัวหน้าบาทหลวงชื่อ นิโคไล กันดาเยพ เป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันเทววิทยาเลนินกราดและเป็นอธิการมหาวิหารพระเยซูทรงสำแดงพระองค์อย่างรุ่งเรืองอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนปู่ของท่านก็เป็นบาทหลวงชื่อวาซิลี กันยาเยฟ ท่านเป็นนักโทษในคุกซอโลฟกี ซึ่งเป็นค่ายผู้ใช้แรงงานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่กลางเกาะ ๆ หนึ่งในทะเลขาว ท่านถูกคุมขังและถูกเนรเทศในช่วงทศวรรษ 1920, 1930 และ 1940 จากการกระทำอันไม่เหมาะสมของท่านในคริสตจักรและต่อสู้กับการปฏิรูปคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ซึ่งถูกจัดตั้งโดยพวกคอมมิวนิสต์[2][3]

การศึกษา[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว มิไคยโลวิชได้ทำงานสำรวจทางธรณีวิทยาเลนินกราดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ควบคู่กับการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา[2] และจบการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1964 ซึ่งหลังจากที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาแล้วท่านได้เข้าศึกษาต่อที่เซมินารีเลนินกราดและศึกษาต่อที่สถาบันเทววิทยาเลนินกราด โดยท่านจบปริญญาเทววิทยาและได้เกียรตินิยมมาด้วยเมื่อปี ค.ศ. 1970[3]

ท่านยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากหลาย ๆ สถานศึกษาด้วย เช่นปริญญาเอกเทววิทยากิตติมศักดิ์จากสถาบันเทววิทยาบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อปี ค.ศ. 1987[4]

รับศีลบวช[แก้]

วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1969 มุขนายกมหานครนิโคดิม (โรตอฟ) แห่งเลนินกราดและนอฟกอรอดได้โปรดศีลบวชให้ โดยได้นามว่า "คีริลล์" และวันที่ 7 เมษายน ก็ได้โปรดศีลบวชเป็นพันธบริกรนักพรต และต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน เป็นนักพรตบาทหลวง[2]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 - ค.ศ. 1971 บาทหลวงคีริลล์ได้ทำหน้าที่สอนเทววิทยาหลักความเชื่อและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักเรียนที่โรงเรียนเทววิทยาเลนินกราด และในเวลาเดียวกัน ท่านก็ทำงานเป็นเลขานุการส่วนตัวของมุขนายกมหานครนิโคดิมและเป็นผู้ดูแลครูผู้สอนในนักเรียนเซมินารีชั้นปีที่หนึ่ง[2]

บาทหลวง[แก้]

อัครบิดรคิริลล์ เมื่อครั้งเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2001 และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

อัครบิดรคีริลล์เคยมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการมาแล้วในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งการเยือนประเทศไทยในครั้งนั้นส่งผลให้อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ (คริสตจักรแห่งกรุงมอสโกประจำประเทศไทย) และบาทหลวงโอเลก เชเรปานิน เป็นผู้แทนคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย ได้เดินทางไปแนะแนวทางจิตวิญญาณแก่หมู่ประชาชนชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยที่ประเทศลาวและประเทศกัมพูชาเป็นเวลายาวนานกว่า 15 ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์ทอดอกซ์[5]

เจ้าวัด[แก้]

บาทหลวงคีริลล์ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าอธิการอารามเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1971 และได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเขตอัครบิดรมอสโก ของทางคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในสภาคริสตจักรโลกที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จนถึงปี ค.ศ. 1974 และตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ท่านได้ทำหน้าที่เป็นอธิการบดีของวิทยสถานและเซมินารีเลนินกราดจนถึงวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 และตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1975 เขาได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลาง และคณะกรรมการจัดงานประเพณี[2]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 ที่ท่านได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเขตอัครบิดรแห่งมอสโก ท่านก็มีส่วนร่วมในกิจกรรมของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซียทั่วโลกตั้งแต่นั้นมา[2]

หัวหน้าบาทหลวง[แก้]

คีริลล์ครั้งประชุมเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์และการปลดอาวุธในอัมสเตอร์ดัมในปี ค.ศ. 1981
  • 14 มีนาคม ค.ศ. 1976 เจ้าอธิการคีริลล์ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกแห่งไวบอร์ก และผู้แทนมุขมณฑลแห่งเลนินกราด
  • 2 กันยายน ค.ศ. 1977 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นอัครมุขนายก
  • ตั้งแต่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1984 เป็นอัครมุขนายกแห่งสโมเลนสก์และวยาซมา
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นผู้บริหารของตำบลในเขตคาลินินกราด
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เป็นอัครมุขนายกแห่งสโมเลนสก์และคาลินินกราด
  • ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานแห่งฝ่ายความสัมพันธ์ภายนอกคริสตจักร และได้เป็นสมาชิกถาวรของซินอดอันศักดิ์สิทธิ์
  • ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นมุขนายกมหานคร

ส่วนผู้มีอำนาจสูงสุดในคริสตจักรเรียงตำแหน่งของคีริลล์ดังนี้

  • ค.ศ. 1975 - 1982 – ประธานสภามุขมณฑลเลนินกราด
  • ค.ศ. 1975 - 1998 – สมาชิกคณะกรรมการกลาง และผู้บริหารของสภาคริสตจักรโลก
  • ค.ศ. 1976 - 1978 – รองอัครบิดรในยุโรปตะวันออก
  • ค.ศ. 1976 - 1984 – สมาชิกของซินอดอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อความสามัคคีของชาวคริสต์
  • ค.ศ. 1978 - 1984 – ผู้บริหารของรัฐโบราณในประเทศฟินแลนด์
  • ค.ศ. 1978 - 1988 – กรรมการจัดงานครบรอบสหัสวรรษของการรับศีลล้างบาปของเจ้าชายวลาดิมีร์ในประเทศรัสเซีย
  • ค.ศ. 1989 - 1996 – ผู้บริหารของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศฮังการี
  • ค.ศ. 1990 – สมาชิกของคณะกรรมาธิการเตรียมความพร้อมสำหรับสภาท้องถิ่นของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์รัสเซีย
  • ค.ศ. 1990 – สมาชิกของคณะกรรมการขอความช่วยเหลือในการเอาชนะผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล
  • ค.ศ. 1990 - 1991 – ผู้บริหารชั่วคราวของมุขมณฑลเฮกและเนเธอร์แลนด์
  • ค.ศ. 1990 - 1993 – ผู้บริหารชั่วคราวของมุขมณฑลคอร์ซุน
  • ค.ศ. 1990 - 1993 – ประธานคณะกรรมการสมัชชาศักดิ์สิทธิ์เพื่อฟื้นฟูศาสนาและจริยธรรม[2]

การศึกษาและการกุศล[แก้]

  • ค.ศ. 1990 - 2000 – ประธานคณะกรรมการสมัชชาศักดิ์สิทธิ์สำหรับการแก้ไขธรรมนูญของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ ซึ่งกฎหมายนี้ถูกนำมาใช้โดยสภามุขนายกเมื่อปี ค.ศ. 2000
  • ค.ศ. 1994 - 2002 – สมาชิกของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการฟื้นฟูของคริสตจักรแห่งพระคริสต์พระผู้ช่วยให้รอด
  • ค.ศ. 1994 - 1996 – สมาชิกของสภากระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียในการกำหนดนโยบายต่างประเทศและผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบเข้าไปในรัสเซีย
  • ค.ศ. 1995 - 2000 – ประธานการประชุมทางศาสนาเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในการรักษาความสัมพันธ์และปัญหาของสังคมสมัยใหม่ทั้งหมด
  • ค.ศ. 1995 - 1999 – สมาชิกของคณะกรรมการจัดงานเหตุการณ์อนุสรณ์ครบ 50 ปี การสิ้นสุดมหาสงครามของผู้รักชาติ
  • ค.ศ. 1996 - 2000 – สมาชิกของคณะกรรมการกำกับดูแลมูลนิธิครบรอบ 50 ปี แห่งชัยชนะในมหาสงครามของผู้รักชาติ
  • ค.ศ. 2006 - 2008 – ผู้นำของกลุ่มชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานของคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 – ประธานสภาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมฝ่ายความสัมพันธ์ภายนอกโบสถ์ (ปัจจุบันสภาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและจริยธรรมอยู่ภายใต้อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง)
  • ในวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2006 อัครบิดรคีริลล์ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์อะเลคซันดร์ เนฟสกี จากแกรนด์ดัชเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย[2]

พิธีกร[แก้]

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 อัครบิดรคีริลล์ได้เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ประจำสัปดาห์ "วจนะของชุมพาบาล" (รัสเซีย: Слово пастыря) ออกอากาศทางช่องหนึ่งอัสตานกินะและช่องหนึ่งรัสเซีย[2]

อัครบิดรแห่งมอสโก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Religious Belief and National Belonging in Central and Eastern Europe". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Биография Святейшего Патриарха Московского и всея Руси Кирилла". Official Website of the Moscow Patriarchate. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  3. 3.0 3.1 "Patriarch Kirill of Moscow and All Russia". Official Website of the Department of External Church Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-09. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
  4. "His Holiness the Patriarch". The Russian Orthodox Church. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.
  5. "ความเป็นมาของการเริ่มก่อตั้งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย". มูลนิธิชาวคริสต์ศาสนิกชนออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]