อักเษาหิณี
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อักเษาหิณี (สันสกฤต: अक्षौहिणी akṣauhiṇī; อังกฤษ: akshauhini) บางที่ใช้ อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี เป็นหน่วยนับจำนวนกองทัพของอินเดียโบราณ ซึ่งมักถูกใช้วัดขนาดของกองทัพในวรรณกรรมอินเดียโบราณ (อย่างเช่นเรื่อง มหาภารตะ) บางตำราถือว่า 1 อักเษาหิณี จะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ช้าง, ม้า, รถศึก และพลเดินเท้า โดยแต่ละองค์ประกอบจะมีจำนวนดังต่อไปนี้
- ช้าง 21,870 เชือก
- ม้า 65,610 ตัว
- รถศึก 21,870 คัน
- พลเดินเท้า 109,350 คน
มีกล่าวไว้ในมหาภารตะว่าในสงครามทุ่งกุรุเกษตร กองทัพปาณฑพ มีกองทัพจำนวน 7 อักเษาหิณี (นักรบ 1,530,900 คน) และกองทัพเการพ มีกองทัพจำนวนทั้งสิ้น 11 อักเษาหิณี (นักรบ 2,405,700 คน)
องค์ประกอบ[แก้]
โดยมีรายละเอียดดังนี้
ช้าง 1 เชือก (एक हाथी), รถศึก 1 คัน (एक रथ), ม้า 3 ตัว (तीन सवार), พลเดินเท้า 5 คน (पांच प्यादे) = 1 ปัตติ (१ पत्ति) หรือ 1 ปังกติ (१ पङ्क्ति)
- 3 ปัตติ = 1 เสนามุข (१ सेनामुख)
- 3 เสนามุข = 1 คุลมะ (१ गुल्म)
- 3 คุลมะ = 1 คณะ (१ गण)
- 3 คณะ = 1 วาหินี (१ वाहिनी)
- 3 วาหินี = 1 ปฤตนะ (१ पृतन)
- 3 ปฤตนะ = 1 จมู (१ चमू)
- 3 จมู = 1 อนีกินี (१ अनीकिनी) หรือ 1 อันตกินี (१ अन्तकिनी)
- 10 อนีกินี = 1 อักเษาหิณี (१ अक्षौहिणी)
อ้างอิง[แก้]
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บถาวร 2008-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน