อักษรรูปลิ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรลิ่ม)
อักษรรูปลิ่ม
อักษรรูปลิ่มที่กล่าวถึงเซอร์ซีสที่ 1 ในป้อมแวน ที่ประเทศตุรกี, ซึ่งมีทั้งภาษาเปอร์เซียโบราณ, แอกแคด และอีลาไมต์
ชนิดที่มีพยางค์ภาพ
ภาษาพูดแอกแคด, เอ็บลาไอต์, อีลาไมต์, ฮัตติก, ฮิตไทต์, ฮูร์เรีย, ลูเวีย, ซูเมอร์, ยูราร์เทีย, เปอร์เซียโบราณ
ผู้ประดิษฐ์ประมาณ 3200 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ช่วงยุคประมาณศตวรรษที่ 31 ก่อนคริสตกาล ถึง ศตวรรษที่ 1
ระบบแม่
(Proto-writing)
  • {{{name}}}
ระบบลูกไม่มี
ช่วงยูนิโคด
ISO 15924Xsux
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ

อักษรรูปลิ่ม (อังกฤษ: cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยูโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วยอักษรนี้ เช่น

แผ่นดินเหนียว ตัวกลางของอักษรรูปลิ่ม[แก้]

อักษรรูปลิ่มบนดินเหนียว

ตัวอย่างเก่าสุดของอักษรในเมโสโปเตเมีย เริ่มราว 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พบในบริเวณอูรุก (Uruk) นิปปูร์ ซูซา และอูร์ (Ur) ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเกี่ยวกับการค้าขาย บันทึกเหล่านี้พัฒนามาจากระบบการนับที่ใช้มาตั้งแต่ 5,000 ปี ก่อนหน้านั้น แผ่นดินเหนียวเริ่มใช้ตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในเมโสโปเตเมียโดยทั่วไป เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบนและแผ่นซ้อน

  • แบบแผ่นแบน เป็นรูปแบบโบราณ พบตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในบริเวณกว้าง ตั้งแต่ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่า คล้ายกับว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทางเกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช
  • แบบแผ่นซ้อน เป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมาย เริ่มพบในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของเมโสโปเตเมีย ใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูป ซึ่งพบในบริเวณที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เช่น ซูเมอร์ ตัวอย่างที่เก่าสุดพบในวิหารเทพีอินันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ของชาวซูเมอร์ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหารใช้บันทึกเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าของวิหาร

จากแผ่นดินเหนียวสู่ตัวอักษร[แก้]

แผ่นดินเหนียวถูกเขียนให้เป็นเรื่องราว โดยใช้วัตถุที่เป็นของแข็งและแหลม แล้วถูกเก็บในห่อที่แข็งแรงทำด้วยดินเหนียว เรียกว่าบุลลา (bulla) เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากการนับแผ่นดินเหนียวภายในบุลลาหลังการผนึกทำได้ยาก การแก้ปัญหาจึงใช้การกดแผ่นดินเหนียวลงบนผิวนอกของบุลลาในขณะที่ดินเหนียวยังอ่อนตัวอยู่ แล้วจึงใส่แผ่นดินเหนียวเข้าไปข้างในและปิดผนึก การนับจำนวนแผ่นดินเหนียวอีกครั้งใช้การนับรอยกดบนผิวด้านนอก จากรอยกดนี้ ชาวซูเมอร์ได้พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์รูปลิ่ม เพื่อใช้บอกความหมายและจำนวน เช่น รูปลิ่ม 1 อัน หมายถึง 1 รูปวงกลม หมายถึง 10 การบันทึกว่า “แกะ 5 ตัว” ใช้การกดลงบนดินเหนียวเป็นรูปลิ่ม 5 อัน แล้วตามด้วยสัญลักษณ์ของแกะ

ยูนิโคด[แก้]

อักษรรูปลิ่มบนยูนิโคดมีหลายช่วง แต่อักษรแบบหลักอยู่ที่

  • U+12000–U+1236E (879 ตัวอักษร) อักษรรูปลิ่มสำหรับอักษรซูเมอร์และอักษรแอกแคด[2]
  • U+12400–U+12473 (103 ตัวอักษร) อักษรรูปลิ่มแทนจำนวนและเครื่องหมายวรรคตอน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "...The Mesopotamians invented writing around 3200 bc without any precedent to guide them, as did the Egyptians, independently as far as we know, at approxi- mately the same time" The Oxford History of Historical Writing. Vol. 1. To AD 600, page 5
  2. Cuneiform Unicode chart
  3. Cuneiform Numbers and Punctuation Unicode chart

ดูเพิ่ม[แก้]