อักษรกลาโกลิติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อักษรกลาโกลิต)
กลาโกลิติก
ตัวอย่างข้อความจาก "หนังสือสวดมนต์เคียฟ" และ "พระวรสารแร็งส์"
ชนิดอักษร
ภาษาพูดสลาวอนิกคริสตจักรเก่า (แบบกลม), โครเอเชีย (แบบเหลี่ยม)
ผู้ประดิษฐ์นักบุญซีริลแห่งเทสซาโลนีกา
ช่วงยุคค.ศ. 862/863 ถึงสมัยกลาง
ระบบแม่
ช่วงยูนิโคด
ISO 15924Glag
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรกลาโกลิติก (อังกฤษ: Glagolitic script, ⰃⰎⰀⰃⰑⰎⰉⰜⰀ, glagolitsa) เป็นอักษรสลาฟที่เก่าที่สุดเท่าที่รู้จัก ยอมรับกันโดยทั่วไปว่านักบุญซีริล นักบวชชาวบัลแกเรียจากเทสซาโลนีกา ประดิษฐ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยมร ค.ศ. 863 จักรพรรดิมิคาเอลที่ 3 แห่งไบแซนไทน์ส่งตัวเขากับนักบุญเมโธเดียสไปที่เกรตโมเรเวีย เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์แก่ชาวสลาฟตะวันตกในบริเวณนั้น ทั้งสองจึงตัดสินใจแปลหนังสือพิธีกรรมไปเป็นภาษาสลาฟร่วมสมัยที่ประชากรทั่วไปเข้าใจ (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า) และซีริลตัดสินใจประดิษฐ์อักษรใหม่ที่มีชื่อว่า กลาโกลิติก ซึ่งอิงจากสำเนียงท้องถิ่นของชนเผ่าสลาฟจากรอบเทสซาโลนีกา หลังจากซีริลและเมโธเดียสเสียชีวิต จึงยกเลิกการใช้งานอักษรกลาโกลิติกในโมเรเวียเพื่อความต้องการทางการเมืองหรือศาสนา

ใน ค.ศ. 886 ลูกศิษย์ของซีริลและเมโธเดียสถูกขับออกจากประเทศ และย้ายไปที่จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 แทน อักษรซีริลลิกที่พัฒนาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 รวมอักษรบางส่วนที่น่าจะมาจากอักษรกลาโกลิติก ทั้งอักษรกลาโกลิติกและซีริลลิกยังคงมีผู้ใช้งานในบัลแกเรียจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13–14

เมื่อประเทศที่พูดภาษากลุ่มสลาฟหันมาใช้อักษรละตินและอักษรซีริลลิกในสมัยใหม่ตอนต้น อักษรกลาโกลิติกยังคงมีผู้ใช้งานจำกัดเพียงในด้านศาสนา และเลิกใช้งานในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่นั้นมา อักษรนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่น่าสนใจทางวิชาการ หลังมีการค้นพบทางโบราณคดีหลายครั้ง

ชื่อและศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า กลาโกลิติก มาจากภาษาละตินใหม่ glagoliticus และภาษาโครเอเชีย glagoljica ซึ่งมาจากภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า ⰳⰾⰰⰳⱁⰾⱏ (glagolŭ) ที่หมายถึง "การเปล่งเสียง" หรือ "คำศัพท์"[2]

ชื่อ glagolitsa คาดว่าพัฒนาขึ้นในประเทศโครเอเชียประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 และมีที่มาจากศัพท์ glagoljati ที่แยกเป็น "รูปกริยา (glagol) โดยใช้ (jati)" หมายถึงมิสซาในพิธีสวดของสลาวอนิกคริสตจักรเก่า[3][4]

อักษร[แก้]

คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้าในอักษร กลาโกลิติก (จากซ้าย) แบบกลม แบบเหลี่ยม และแบบตัวเขียน
ยูนิโคด แบบกลม แบบเหลี่ยม อักษรซีริลลิก เสียง ชื่อในOCS ชื่อในCS ความหมาย ต้นตอ
Azu Azu А /ɑ/ Azъ Az ฉัน/ผม อักษรฟินิเชีย aleph 𐤀‎ หรือเครื่องหมายกางเขน[5]
Bouky Bouky Б /b/ Buky Buky ตัวอักษร ไม่ทราบ,[5] น่าจะมาจากอักษรฮีบรู bet בּ[6] หรือแอราเมอิก bīt ܒ[7]
Vede Vede В /ʋ/ Vědě Vedi (คุณ/เขา/เธอ/มัน) รู้ น่าจะอักษรละติน V[5] หรือ dobro กลับหัว [8]
Glagolu Glagolu Г, Ґ /ɡ/ Glagoli Glagoli พูด (อดีตหรือมาลาสั่ง) น่าจะอักษรกรีก gamma แบบเขียน[5]
Dobro Dobro Д /d/ Dobro Dobro ความเมตตา/ดี อักษรกรีก delta Δ[5]
Jestu Jestu Є, Е, Э, Ё /ɛ/ Jestъ Yest คือ/มีอยู่ น่าจะอักษรซามาริทัน īy ‎ หรือกรีก sampi ϡ[5]
Zhivete Zhivete Ж /ʒ/ Živěte Zhivete ชีวิต/อาศัย
(มาลาสั่งพหุพจน์บุรุษที่ 2)
ไม่ทราบ[5] น่าจะคอปติก janja ϫ[ต้องการอ้างอิง] หรือสัญลักษณ์โหราศาสตร์ของราศีมีน ♓︎
Dzelo Dzelo Ѕ /d͡z/ Dzělo Zelo มาก ไม่ทราบ[5] น่าจะอักษรอาร์มีเนีย ja Ձ[9]
Zemlja Zemlja З /z/ Zemlja Zeml(j)a โลก/พื้น/ดิน น่าจะเป็นอักษรกรีก theta θ อีกรูปแบบ[5]
Ⰹ, Ⰺ I, Izhe Izhe Ι, Ї /i/, /j/ Iže Izhe ซึ่งคือ น่าจะอักษรกรีก upsilon Y[10] หรืออักษรกรีก iota ที่มีเครื่องหมายเหนือสระตัวที่สอง ϊ[5]
I I И /i/, /j/ I/ižei I/izhey และ น่าจะเลียนแบบรูปปลา[10]
Gjerv Gjerv , Ћ, Ђ /dʑ/, /tɕ/ Djervь, ǵervь Cherv, Djerv ต้นไม้/ไม้ ไม่ทราบ[5]
К /k/ Kako Kako อย่างไร/เช่น อักษรฮีบรู qoph ק‎‎[5]
Ljudie , Ljudie Ljudie Л, Љ /l/, /ʎ/ Ljudie Lyudi ผู้คน น่าจะอักษรกรีก lambda λ[5]
Myslite Myslite М /m/ Myslite Mislete คิด (พหุพจน์บุรุษที่ 2) อักษรกรีก mu μ[5] ส่วนในแบบเหลี่ยมถูกแทนที่ด้วยรูปที่คล้ายกับอักษรละติน/ซีริลลิก ส่วนหนึ่งเนื่องจากความซับซ้อน[11]
Našь, Nashi Nashi Н, Њ /n/, /ɲ/ Našь Nash ของเรา [ไม่ทราบ][5]
Onu Onu О /ɔ/ Onъ On เขา, นั่น [ไม่ทราบ][5]
Pokoi Pokoi П /p/ Pokoj Pokoy ความสงบ น่าจะอักษรกรีกตอนต้น pi อีกรูปแบบ[5]
Rici Rici Р /r/ Rьci Rtsi จงพูด!/จงสะกด! น่าจะอักษรกรีก rho ρ[5]
Slovo Slovo С /s/ Slovo Slovo คำศัพท์/คำพูด
Tvrido Tvrido Т /t/ Tvrьdo Tverdo แข็ง/ยาก/แน่ใจ อาจากมาจากแถบของอักษรกรีก tau τ[5]
Uku Uku У, Ѹ /u/ Ukъ Uk การสอน ตัวแฝดของอักษร onъ กับ izhitsa [5]
Fritu Fritu Ф /f/ Frьtъ Fert อักษรกรีก phi φ อีกแบบ[5]
Heru Heru Х /x/ Xěrъ Kher [ไม่ทราบ] (คล้ายกับ glagoli และอักษรละติน h)[5]
Out Out Ѡ /ɔ/ Otъ Oht, Omega จาก ตัวแฝดของอักษร onъ กับภาพกระจกเงา[5]
Shta Shta Щ /tʲ/, /ʃ͡t/ Šta/Šča Shta/Shcha ตัวแฝดของอักษร sha เหนืออักษร tvrьdo [5]
Ci Ci Ц /t͡s/ Ci Tsi รูปท้ายของอักษรฮีบรู tsade ץ[5]
Chrivi Chrivi Ч, Џ /t͡ʃ/ Črьvъ Cherv หนอน [ไม่ทราบ] (คล้ายกับอักษร shta ;[5] อาจเป็นอักษรฮีบรูที่ไม่ใช้รูปท้าย tsade צ‎)
Sha Sha Ш /ʃ/ Ša Sha ความเงียบ/เงียบ อักษรฮีบรู shin ש‎‎[5]
, Jeru, Jerъ Jeru, Shtapic Ъ /ŭ/, /ʊ/ Jerъ Yer, Yor น่าจะเป็นอักษรดัดแปลงของ onъ .[5] แบบ 'shtapic' อาจมาจากอักขระอะพอสทรอฟี[12]
ⰟⰊ Jery Ы /ɯ/ Jery Yerɨ ตัวแฝด; ทวิอักษรของอักษร yer () หรือ yerь () กับอักษร izhe (Ⰹ, Ⰺ) หรือ i (Ⰻ).[5]
Jeri, Jerь Jeri Ь /ĭ/, /ɪ/ Jerь Yer` น่าจะเป็นอักษรดัดแปลงของ onъ [5]
Jati Jati Ѣ, Я /æ/, /jɑ/ Jatь Yat, Ya น่าจะเป็นอักษรกรีก alpha แบบสลัก Α[5]
Ё /jo/ ไม่ทราบ:[5] สันนิษฐานว่าเป็นรูปประสมของ jonsь ข้างใต้; ในเวลานั้นออกเสียง /jo/ ไม่ได้
Jou Ю /ju/ Ju Yu ไม่ทราบ[5]
Ensu (small jousu) Ѧ /ɛ̃/ [Ensь] [yus เล็ก] อักษร epsilon ε และยังใช้ระบุเสียงนาสิก[5]
Jensu (small jousu) Ѩ /jɛ̃/ [Jensь] [iotated yus เล็ก] ตัวแฝดของอักษร jestъ กับ ensь สำหรับเสียงนาสิก[5]
Onsu (big jousu) Ѫ /ɔ̃/ [Onsь] [yus ใหญ่] ตัวแฝดของอักษร onъ กับ ensь สำหรับเสียงนาสิก[5]
Jonsu (big jousu) Ѭ /jɔ̃/ [Jonsь] [iotated yus ใหญ่] ตัวแฝดของอักษรที่ไม่ทราบกับ ensь สำหรับเสียงนาสิก[5]
Thita Ѳ /θ/ [Thita] Fita Theta อักษรกรีก theta θ[5]
Yzhica Ѵ /ʏ/, /i/ Ižica Izhitsa

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

อักษรกลาโกลิติกเป็นระบบการเขียนที่ใช้ในโลกซีรีส์หนังสือและวิดีโอเกม เดอะวิตเชอร์[13]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schenker, Alexander M. (1995), The Dawn of Slavic: An Introduction to Slavic Philology, New Haven: Yale University Press, p. 179, ISBN 0-300-05846-2
  2. "glagolitic". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ April 21, 2021.
  3. Corbett, Greville G.; Comrie, Bernard (2003). The Slavonic Languages. Milton Park, UK: Routledge. p. 29. ISBN 978-1-136-86137-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-20. สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
  4. "Hrvatski jezični portal" [Croatian language portal]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2021. สืบค้นเมื่อ April 22, 2021.
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 5.20 5.21 5.22 5.23 5.24 5.25 5.26 5.27 5.28 5.29 5.30 5.31 5.32 5.33 5.34 5.35 5.36 5.37
    Schenker, Alexander M. (1995). "Early writing". The Dawn of Slavic: An introduction to Slavic philology. New Haven, CT/London, UK: Yale University Press. pp. 168–172. ISBN 978-0-300-05846-8.
  6. Ilievski, Petar H.R. (2002). "Glagolica: An iconic script for visual evangelic preaching". Illinois Classical Studies. 27–28: 153–164. ISSN 0363-1923. JSTOR 23065457. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  7. Jung, Hakyung (January 2013). "On the origin of the Glagolitic alphabet". Scripta (ภาษาอังกฤษ). 5: 105–130. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  8. Uspenskij, Boris (2013). "Glagolitic script as a manifestation of sacred knowledge". Studi Slavistici (ภาษาอังกฤษ) (online ed.). Firenze University Press. 10: 7–27, 358. ISSN 1824-7601. ProQuest 1550519312.
  9. "Wiener slawistischer Almanach". periodika.digitale-sammlungen.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  10. 10.0 10.1 Kuznetsov, Anatoly Mikhailovich (2012). ""Бывают странные сближенья…": греческий юпсилон и глаголица". Slavistica Vilnensis (ภาษารัสเซีย). 57: 7–14. ISSN 2351-6895. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-08-26.
  11. Čunčić, Marica (1999). "Duktus tipaua glagoljskoga pisma" [Ductus of the types of Glagolitic script]. Filologija (ภาษาCroatian). Zagreb: Staroslavenski institut. 32: 33. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  12. Žagar, Mateo (2003). "Osnovni procesi konstituiranja ustavne glagoljice". ใน Božilova, Rumjana (บ.ก.). B'lgari i H'rvati prez vekovete. Sofija. pp. 31–42. สืบค้นเมื่อ 3 January 2024.
  13. "Wiedźmiński alfabet – o czym informują nas plakaty w grze Wiedźmin 3: Dziki Gon?". www.grynieznane.pl. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:Americana Poster