อะเลคเซย์ เลโอนอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเลคเซย์ เลโอนอฟ
Алексе́й Архи́пович Лео́нов
อะเลคเซย์ เลโอนอฟ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1974
เกิด30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934(1934-05-30)
ลีสต์เวียนคา, ดินแดนไซบีเรียตะวันตก, สาธารณรัฐรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
เสียชีวิต11 ตุลาคม ค.ศ. 2019(2019-10-11) (85 ปี)
มอสโก, รัสเซีย
สัญชาติชาวโซเวียต, ชาวรัสเซีย
อาชีพนักบิน, นักบินอวกาศ
รางวัลวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
อาชีพในอวกาศ
นักบินอวกาศชาวโซเวียต
ยศพลอากาศตรี, กองทัพอากาศโซเวียต [1]
อยู่บนอวกาศ
7 วัน 00 ชั่วโมง 33 นาที 02 วินาที[2]
การคัดเลือกกลุ่มกองทัพอากาศที่ 1
ปฏิบัติการนอกยาน
1
เวลาปฏิบัติการนอกยาน
12 นาที, 9 วินาที
ภารกิจวอสฮอด 2, โซยุซ 19 (ASTP)
เครื่องหมายภารกิจ
ลายมือชื่อ

อะเลคเซย์ อาร์ฮีโปวิช เลโอนอฟ (รัสเซีย: Алексе́й Архи́пович Лео́нов, สัทอักษรสากล: [ɐlʲɪˈksʲej ɐˈrxʲipəvʲɪtɕ lʲɪˈonəf]) (30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 – 11 ตุลาคม ค.ศ. 2019) เป็นนักบินอวกาศ ทหารอากาศ นักเขียนและศิลปินชาวโซเวียต-รัสเซีย ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 เขาเป็นบุคคลแรกที่กระทำการเดินอวกาศ ด้วยออกจากแคปซูลในภารกิจวอสฮอด 2 เป็นเวลา 12 นาที 9 วินาที เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นพลเมืองโซเวียตคนแรกในโครงการลงจอดมนุษย์บนดวงจันทร์ แต่ถึงกระนั้นโครงการได้ถูกยกเลิกไป

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1975 เลโอนอฟเป็นผู้บัญชาการยานอวกาศโซยุซในภารกิจอะพอลโล–โซยุซ ซึ่งเชื่อมต่อกับยานอวกาศอะพอลโลของสหรัฐในอวกาศเป็นเวลา 2 วัน

วัยเยาว์และการรับราชการทหาร[แก้]

เลโอนอฟเกิดที่เมืองลีสต์เวียนคา ในดินแดนไซบีเรียตะวันตก สาธารณรัฐรัสเซีย ในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 [3] อะเลคเซย์เป็นบุตรระหว่างเยฟโดเคีย (สกุลเดิม: ซอตนิโควา) กับอาร์คฮิป เลโอนอฟ เขาเป็นบุตรคนที่แปดจากบุตรเก้าคนที่รอดชีวิต[a][4] บิดาของเขาเป็นช่างไฟฟ้าและคนงานเหมือง[5]

ใน ค.ศ. 1936 บิดาของเขาถูกจับกุมและประกาศว่าเป็น "ศัตรูแห่งประชาชน" เลโอนอฟเขียนในอัตชีวประวัติของเขาว่า: "เขาไม่ได้ถูกจับเพียงคนเดียว: ผู้อื่นอีกมากก็ถูกจับ มันเป็นส่วนหนึ่งของมโนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้มีอำนาจเพื่อกำจัดใครก็ตามที่แสดงบุคลิกที่เป็นอิสระหรือแข็งแกร่งเกินไป เหตุการณ์นี้เกิดในช่วงของการกวาดล้างของสตาลิน หลายคนหายตัวไปในกูลักและไม่เคยกลับมาอีกเลย"[6] ครอบครัวของเลโอนอฟย้ายไปอยู่ที่เมืองเคเมโรโว บิดาของเขากลับมาอยู่ที่เคเมโรโวหลังจากที่เขาถูกปล่อยตัว เขาได้รับการชดเชยจากการถูกกักขังโดยมิชอบ[4] เลโอนอฟใช้งานศิลปะเป็นช่องทางในการหาเลี้ยงครอบครัวเพิ่มเติม เขาเริ่มอาชีพศิลปินโดยการวาดลายดอกไม้บนเตาอบ และในภายหลังเขาวาดทิวทัศน์ลงบนผ้าใบ[4]

รัฐบาลโซเวียตสนับสนุนในพลเมืองย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนปรัสเซียที่ถูกยิดครองโดยสหภาพโซเวียต ด้วยเหตุนั้น ใน ค.ศ. 1948 ครอบครัวของเขาย้ายไปยังเมืองคาลีนินกราด[7] เลโอนอฟสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาหมายเลข 21 ใน ค.ศ. 1953[7] เขาสมัครเข้าสู่สถาบันศิลปะในรีกา, สาธารณรัฐลัตเวีย แต่ตัดสินใจไม่เข้าเรียนเนื่องจากค่าเล่าเรียนสูง เลโอนอฟตัดสินใจเข้าร่วมโรงเรียนเตรียมการบินของยูเครนในเครเมนชุก เขาบินด้วยตนเองครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1955 พร้อมกับไล่ตามความชอบในศิลปะโดยการศึกษานอกเวลาในริกา เลโอนอฟเริ่มหลักสูตรการบินขั้นสูงสองปีเพื่อจะเป็นนักบินขับไล่ที่โรงเรียนทหารอากาศขั้นสูงชูกูเอฟในสาธารณรัฐยูเครน[7]

ในวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1957 เลโอนอฟสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาเกียรตินิยม และได้รับการแต่งตั้งเป็นร้อยโทในกรมทหารพลร่มที่ 113 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองพลวิศวกรรมการบินที่ 10 กองทัพอากาศภาคที่ 69 ในเคียฟ[7] ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1959 เขาสมรสกับสเวตลานา ปาฟลอฟนา โดเซนโค[8]หนึ่งวันก่อนที่เขาจะย้ายไปเยอรมันตะวันออกหลังจากเขาถูกแต่งตั้งให้ไปยังกรมลาดตระเวนที่ 294 กองทัพอากาศภาคที่ 16[7]

โครงการอวกาศโซเวียต[แก้]

อะเลคเซย์ เลโอนอฟ (แถวหลัง ซ้ายสุด) กับเพื่อนนักบินอวกาศใน ค.ศ. 1965

เขาเป็นหนึ่งในนักบิน 20 คนของกองทัพอากาศโซเวียตซึ่งถูกคัดเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มฝึกซ้อมนักบินอวกาศชุดแรกใน ค.ศ. 1960[9] เหมือนกับนักบินอวกาศส่วนใหญ่ เลโอนอฟเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต การเดินอวกาศของเขาแรกเริ่มแล้วถูกวางแผนไว้สำหรับภารกิจวอสฮอด 1 แต่ได้มีการเปลี่ยนแผน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นี้จึงเกิดขึ้นในภารกิจวอสฮอด 2แทน[10] ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1965 เขาออกไปภายนอกยานอวกาศเป็นเวลา 12 นาที และ 9 วินาที โดยตัวเขาเชื่อมต่อกับยานอวกาศด้วยสายเชื่อมยาว 4.8-เมตร (16-ฟุต)[9] ในช่วงปลายของการเดินอวกาศ ชุดอวกาศของเลโอนอฟได้บวมขึ้นจากสภาพสูญญากาศของอวกาศจนถึงระดับที่เขาไม่สามารถกลับเข้ายานอวกาศผ่านประตูกักอากาศได้[9] เขาเปิดวาล์วเพื่อลดแรงดันภายในชุดอวกาศและสามารถกลับเข้าไปในยานอวกาศได้อย่างยากลำบาก[9][11] ขณะดำเนินภารกิจ เลโอนอฟได้ร่างภาพดวงอาทิตย์ขึ้นจากวงโคจร เป็นงานศิลปะชิ้นแรกที่ถูกสร้างขึ้นในอวกาศ[12] เลโอนอฟใช้เวลาสิบแปดเดือนในการฝึกซ้อมสภาพไร้แรงโน้มถ่วงเป็นสำหรับภารกิจนี้[13]

ใน ค.ศ. 1968 เลโอนอฟได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้บัญชาการภารกิจโซยุซ 7K-L1 ในการบินรอบดวงจันทร์ ภารกิจนี้ถูกยกเลิกเพราะความล่าช้าในการทำการบินรอบดวงจันทร์ที่เชื่อถือได้ (ภารกิจซอนด์ 7และซอนด์ 8 เป็นเพียงสองภารกิจในโครงการบินรอบดวงจันทร์ที่ประสบความสำเร็จ) และภารกิจอะพอลโล 8ได้ประสบความสำเร็จในก้าวนั้นในการการแข่งขันอวกาศไปก่อนแล้ว เขายังได้รับคัดเลือกให้เป็นพลเมืองโซเวียตคนแรกที่จะลงจอดบนดวงจันทร์ บนยานอวกาศLOK/N1[10] แต่ภารกิจนี้ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน (การออกแบบจำเป็นที่จะต้องมีการเดินอวกาศระหว่างยาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาได้รับคัดเลือก) เลโอนอฟได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการของภารกิจโซยุซ 11ใน ค.ศ. 1971 ไปยังสถานีอวกาศซัลยุท 1 สถานีอวกาศแห่งแรก แต่ชุดลูกเรือของเขาถูกสลับกับชุดสำรองหลังจากหนึ่งในสมาชิกนักบินอวกาศ วาเลริ คูบาซอฟถูกสงสัยว่าจะติดเชื้อวัณโรค[14]

เลโอนอฟได้รับแต่งตั้งให้บัญชาการภารกิจไปยังสถานีอวกาศซัลยุท 1 แต่แผนนี้ถูกยกเลิกหลังจากการเสียชีวิตขิงลูกเรือภารกิจโซยุซ 11 และสถานีอวกาศก็ไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้[15] สถานีอวกาศทั้งสองที่ถูกปล่อยตามมานั้นถูกทำลายในการปล่อยหรือล้มเหลวไม่นานหลังจากนั้น การลูกเรือของเลโอนอฟพร้อมสำหรับภารกิจต่อไป แต่เมื่อสถานีอวกาศซัลยุท 4ถูกปล่อยสู่วงโคจรสำเร็จ เลโอนอฟก็ถูกย้ายไปยังโครงการที่มีความสำคัญมากกว่านั้นแล้ว[16][17]

การเดินทางสู่อวกาศครั้งที่สองของเลโอนอฟ เขาไปในฐานะผู้บัญชาการยานอวกาศโซยุซ 19ซึ่งเป็นฝั่งของโซเวียตในโครงการทดสอบอะพอลโล–โซยุซในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งเป็นภารกิจอวกาศร่วมระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก[16][18] ระหว่างโครงการ เลโอนอฟได้เป็นเพื่อนกับผู้บังคับบัญชาฝั่งสหรัฐ โทมัส แพตเทน สแตฟฟอร์ด โดยเลโอนอฟได้เป็นบิดาทูนหัวของบุตรของสแตฟฟอร์ด[19][20] สแตฟฟอร์ดได้กล่างบทสรรเสริญเป็นภาษารัสเซียในงานศพของเลโอนอฟในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019[21][22]

ระหว่าง ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1982 เลโอนอฟเป็นผู้บัญชาการของคณะนักบินอวกาศ ("หัวหน้านักบินอวกาศ") และเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ฝึกซ้อมนักบินอวกาศยูรี กาการิน ที่ซึ่งเขาดูแลการฝึกซ้อมของนักบินอวกาศ เขายังเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นักบินอวกาศเนปจูน เขาเกษียณอายุใน ค.ศ. 1992[10]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. บุตรอีกสามคนเสียชีวิตขณะยังเป็นทารก[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Soyuz Crew Eager for Another Flight". The New York Times. UPI. 23 July 1975. p. 55.
  2. Burgess & Hall 2009, p. 383.
  3. Burgess & Hall 2009, p. 54.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Burgess & Hall 2009, p. 55.
  5. French & Burgess 2007, p. 353.
  6. Scott & Leonov 2004, p. 8.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Burgess & Hall 2009, p. 56.
  8. "Алексей Архипович Леонов" [Alexei Arkhipovich Leonov]. Космическая энциклопедия ASTROnote [Space Encyclopedia ASTROnote]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Alexei Leonov: First person to walk in space dies aged 85". BBC News. 11 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  10. 10.0 10.1 10.2 Hall & Shayler 2003, pp. 332–333.
  11. McKinnon, Mika (18 March 2015). "50 Years Ago, The First Spacewalk Nearly Ended in Tragedy". Gizmodo. สืบค้นเมื่อ 28 January 2018.
  12. "First picture drawn in space to appear in cosmonauts show in London". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
  13. "Cosmonaut Leonov recalls life-threatening challenges during historical space walk". UNIS Vienna. 2015. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  14. Evans, Ben (20 February 2014). "Valeri Kubasov, Veteran ASTP Cosmonaut, Dies Aged 79". America Space. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  15. Hall & Shayler 2003, p. 173.
  16. 16.0 16.1 Hall & Shayler 2003, p. 210.
  17. Harland & Catchpole 2002, p. 77.
  18. Dicati 2017, p. 61.
  19. Kellie Morgan (15 July 2015). "How historic handshake in space brought superpowers closer". CNN. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
  20. "Apollo–Soyuz: A cold war handshake in space, 40 years on". New Scientist. 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
  21. "Russia bids farewell to first man who walked in space". MSN. 15 October 2019.
  22. Reuters Staff (2019-10-15). "Russia buries cosmonaut Alexei Leonov, first human to walk in space". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]