อะบูบักร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะบูบักรฺ)
อะบูบักร์
أَبُو بَكْرٍ
อัศศิดดีก
อะตีก
อะบูบักร์ อัศศิดดีกในอักษรวิจิตรอิสลาม
เคาะลีฟะฮ์องค์แรกแห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
เคาะลีฟะฮ์8 มิถุนายน ค.ศ. 632 – 23 สิงหาคม ค.ศ. 634
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ผู้สืบทอดอุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ
ประสูติ27 ตุลาคม ค.ศ. 573(573-10-27)
มักกะฮ์, ฮิญาซ, คาบสมุทรอาหรับ
สวรรคต23 สิงหาคม ค.ศ. 634(634-08-23) (60 ปี)
มะดีนะฮ์, ฮิญาซ, รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
ฝังพระศพมัสยิดอันนะบะวี, มะดีนะฮ์
ภรรยา
พระราชบุตรลูกชาย
พระนามเต็ม
อะบูบักร์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุษมาน อะบูกุฮาฟะฮ์
(อาหรับ: أَبُو بَكْرٍ عَبْدُ ٱللهِ بْنُ عُثْمَانَ أَبِي قُحَافَةَ)
พระราชบิดาอุษมาน อบูกุฮาฟะฮ์
พระราชมารดาซัลมา อุมมุลค็อยร์
พี่/น้องชาย
  • มุอ์ตัก[b]
  • อุตัยก์[c]
  • กุฮาฟะฮ์
พี่/น้องสาว
  • ฟัดเราะฮ์
  • เกาะรีบะฮ์
  • อุมมุอะมีร
เผ่ากุเรช (บนูตัยม์)
ศาสนาอิสลาม
อาชีพนักธุรกิจ
ผู้ว่า นักเศรษฐศาสตร์

อะบูบักร์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุษมาน (อาหรับ: أَبُو بَكْرٍ عَبْدُ ٱللهِ بْنِ عُثْمَانَ; ป. ค.ศ. 573  – 23 สิงหาคม ค.ศ. 634)[หมายเหตุ 1] เป็นเศาะฮาบะฮ์และพ่อตาของศาสดามุฮัมมัดผ่านทางอาอิชะฮ์ ลูกสาวของเขา[1] แล้วเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกแห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนเช่นกัน

ตอนแรกเคยเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวยและน่าเคารพ อะบูบักร์เป็นหนึ่งในกลุ่มคนแรกที่เข้ารับอิสลาม และนำทรัพย์สินไปใช้ในการสนับสนุนมุฮัมมัดอย่างกว้างขวาง เขาเป็นหนึ่งในมิตรสหายของมุฮัมมัดที่ใกล้ชิดท่านที่สุด[2] โดยร่วมกับท่านในการอพยพไปะดีนะฮ์ และมีส่วนร่วมทางทหารหลายครั้ง เช่น ยุทธการที่บะดัรและสงครามอุฮุด

หลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 อะบูบักร์ได้สืบทอดเป็นหัวหน้าของสังคมมุสลิมในฐานะเคาะลีฟะฮ์องค์แรก[3] แล้วเสียชีวิตจากการป่วย โดยครองราชย์ไป 2 ปี 2 เดือน และ 14 วัน

เชื้อสายและตำแหน่ง[แก้]

รัฐเคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูนในรัชสมัยของอะบูบักร์

ชื่อเต็มของอะบูบักร์คือ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุษมาน อิบน์ อะมีร อิบน์ อัมร์ อิบน์ กะอับ อิบน์ ซะอัด อิบน์ ตัยม์ อิบน์ มุรเราะฮ์ อิบน์ กะอับ อิบน์ ลุอัยย์ ฆอลิบ อิบน์ ฟิฮร์[4]

ในภาษาอาหรับ อับดุลลอฮ์ หมายถึง "ผู้รับใช้อัลลอฮ์" หนึ่งในชื่อช่วงแรกก่อนที่เขาจะเข้ารับอิสลามคือ อะตีก หมายถึง "ผู้ถูกช่วยเหลือ" มุฮัมมัดได้เปลี่ยนชื่อเมื่อท่านกล่าวว่าอะบูบักร์คือ "อะตีก"[5] มุฮัมมัดให้ฉายาเขาว่า อัศศิดดีก (ผู้พูดความจริง)[1] หลังจากเขาเชื่อว่าท่านในเหตุการณ์อิสรออ์กับมิอ์รอจญ์ในขณะที่คนอื่นไม่เชื่อ และอะลียืนยันฉายานั้นหลายครั้ง[6] เขาถูกอิงในอัลกุรอานเป็น "คนที่สองจากเพื่อนร่วมคุกทั้งสอง" โดยมาจากเหตุการณ์ฮิจเราะห์ ที่มุฮัมมัดซ่อนตัวในถ้ำที่ญะบัลเษาร์จากกลุ่มของชาวมักกะฮ์ที่จะมาจับท่าน[7]

ช่วงต้น[แก้]

อะบูบักร์เกิดในมักกะฮ์ประมาณ ค.ศ. 573 ในครอบครัวร่ำรวยแห่งเผ่าบนูตัยม์ของสมาพันธ์ชนเผ่ากุเรช[8] พ่อของเขาชื่อว่าอุษมาน มีฉายา (ละก็อบ) ว่า อบูกุฮาฟะฮ์ และแม่ของเขาชื่อว่าซัลมา บินต์ เศาะค็อร ผู้มีฉายาว่า อุมมุลค็อยร์[2]

เขาใช้ชีวิตในวัยเด็กส่วนใหญ่อยู่กับพวกเบดูอินโดยอยู่กับเผ่า อะฮ์ลุลบะอีร- ชาวอูฐ ในวัยเด็ก เขาเล่นกับลูกอูฐและแพะ ด้วยความรักของเขา ทำให้ได้ชื่อเล่น (กุนยะฮ์) ว่า "อะบูบักร์" พ่อของลูกอูฐ[9][10]

เหมือนกับลูก ๆ ของพ่อค้าชาวมักกะฮ์ที่ร่ำรวย อะบูบักร์สามารถเขียนและชื่นชอบกวี โดยเคยเข้าร่วมอุกาซประจำปี และมีส่วนร่วมในการประชุมเชิงกวี เขามีความจำดีและมีความรู้เกี่ยวกับลำดับวงศ์ตระกูลของเผ่า, เรื่องราว และการเมืองอาหรับ[11]

มีเรื่องราวว่า เมื่ออะบูบักร์ยังเด็ก พ่อของเขาพาเขาไปที่กะอ์บะฮ์ และบอกให้เขาสักการะรูปปั้น พ่อของเขาจากไป เพื่อไปทำธุระ และอะบูบักร์อยู่คนเดียวหน้ารูปปั้น อะบูบักร์กล่าวว่า "โอ้พระเจ้าของข้า ผมต้องการเสื้อสวย; โปรดประทานแก่ข้าด้วยเถิด" รูปปั้นไม่ตอบสนอง จากนั้นเขาเรียกอีกรูปปั้นหนึ่ง กล่าวว่า "โอ้พระเจ้า โปรดประทานอาหารแก่ข้าด้วย เพราะว่าผมหิวมาก" รูปปั้นยังคงไม่ตอบสนอง นั่นทำให้อะบูบักร์วัยหนุ่มทนไม่ไหว เขาได้ถือหิน และกล่าวแก่รูปปั้นว่า "นี่ผมจะขว้างหินแล้ว ถ้าเจ้าคือพระเจ้าจริง ๆ จงปกป้องตัวเจ้าเสีย" อะบูบักร์ขว้างหินใส่รูปปั้นแล้วออกจากกะอ์บะฮ์[12] ไม่สำคัญว่าจะเป็นอย่างไร ก็มีบันทึกว่าก่อนเข้ารับอิสลาม อะบูบักร์มีประสบการณ์เป็น ฮะนีฟ และไม่เคยสักการะรูปปั้นใด ๆ ทั้งสิ้น[13]

เข้ารับอิสลาม[แก้]

หลังกลับมาจากการทำธุรกิจที่เยเมน มีเพื่อนบอกตอนที่เขาไม่อยู่ว่า มุฮัมมัดได้ประกาศตนเองเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์และก่อตั้งศาสนาใหม่ นักประวัติศาสตร์ อัฏเฏาะบะรี บันทึกในหนังสือ ตารีคุฏเฏาะบะรี ว่า รายงานจากมุฮัมมัด อิบน์ ซะอัด อิบน์ อบีวักกอส ว่า:

ผมถามพ่อผมว่า อะบูบักร์เป็นมุสลิมคนแรกไหม เขาตอบว่า 'ไม่ มีคนกว่า 50 คนที่เข้ารับอิสลามก่อนอะบูบักร์ แต่เขาเป็นมุสลิมที่ยิ่งใหญ่สำหรับเรา และหลังจากชาย 45 คน และหญิง 2 คน อุมัร อิบน์ ค็อฏฏอบได้เข้ารับอิสลาม สำหรับผู้ที่สำคัญในด้านอิสลามและการศรัทธามากที่สุดคืออะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ'[14][15]

มุสลิมซุนนีกลุ่มอื่นและชีอะฮ์ทั้งหมดยืนยันว่า บุคคลที่สองที่ยอมรับมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์อย่างเปิดเผยคือ อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ ส่วนคนแรกคือเคาะดีญะฮ์ ภรรยาของมุฮัมมัด[16] อิบน์ กะษีรกล่าวปฏิเสธในหนังสือ อัลบิดายะฮ์ วัลนิฮายะฮ์ ไว้ว่า หญิงคนแรกที่เข้ารับอิสลามคือเคาะดีญะฮ์ ซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ เป็นทาสที่เป็นไทคนแรกที่เข้ารับอิสลาม อะลี อิบน์ อบีฏอลิบ เป็นเด็กคนแรกที่เข้ารับอิสลาม โดยยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในขณะที่อะบูบักร์ เป็นชายไทคนแรกที่เข้ารับอิสลาม[17]

ชีวิตภายหลังเข้ารับอิสลามในมักกะฮ์[แก้]

กุตัยละฮ์ บินต์ อับดุลอุซซา ภรรยาของเขา ไม่เข้ารับอิสลาม และเขาได้หย่ากับเธอ ส่วนอุมมุรูมาน ภรรยาอีกคน เข้ารับอิสลาม ลูก ๆ ทุกคนเข้ารับอิสลาม ยกเว้นอับดุรเราะฮ์มาน คำพูดของเขาทำให้หลายคนเข้ารับอิสลาม และชักชวนเพื่อนที่ใกล้ชิดให้เข้ารับอิสลามด้วย[18][19] คนที่เข้ารับอิสลามโดยอะบูบักร์ ได้แก่:[20]

การยอมรับของอะบูบักร์เป็นก้าวสำคัญในภารกิจของมุฮัมมัด การค้าทาสเป็นเรื่องทั่วไปในมักกะฮ์ และทาสหลายคนเข้ารับอิสลาม เนื่องจากว่าทาสจะไม่ได้รับความคุ้มครองและมักถูกข่มเหง อะบูบักร์จึงรู้สึกเห็นอกเห็นใจแก่ทาส ดังนั้น เขาจึงซื้อ 8 คน (ชาย 4 และหญิง 4) ด้วยเงิน 40,000 ดินาร และปล่อยเป็นไท[21][22] ทาสส่วนใหญ่ที่อะบูบักร์ปล่อยให้เป็นไทอาจเป็นทั้งหญิงหรือชายแก่และอ่อนแอ[23]

ผู้ชายได้แก่

ผู้หญิงได้แก่:

การข่มเหงโดยชาวกุเรชใน ค.ศ. 613[แก้]

สามปีหลังศาสนาอิสลามกำเนิด มุสลิมยังคงเก็บความศรัทธาเป็นความลับ ตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม ใน ค.ศ. 613 พระเจ้าสั่งให้มุฮัมมัดเรียกผู้เข้าให้เข้ารับอิสลามอย่างเปิดเผย ในตอนประกาศในที่สาธารณะครั้งแรกเพื่อเรียกผู้คนให้ความจงรักภักดีต่อมุฮัมมัดโดยอะบูบักร์[24] มีชายหนุ่มคนหนึ่งจากเผ่ากุเรชวิ่งมาหาอะบูบักร์แล้วชกใส่เขาจนหมดสติ[25] หลังจากเหตุการณ์นั้น ทำให้แม่ของอะบูบักร์เข้ารับอิสลาม

ปีสุดท้ายในมักกะฮ์[แก้]

ใน ค.ศ. 620 อบูฏอลิบ อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ ลุงและผู้ปกป้องของมุฮัมมัด และเคาะดีญะฮ์ ภรรยาของมุฮัมมัด เสียชีวิต อาอิชะฮ์ ลูกสาวของเขาได้หมั้นกับมุฮัมมัด อย่างไรก็ตาม จะมีการจัดงานแต่งงานในภายหลัง อะบูบักร์เป็นคนแรกที่พิสูจน์อิสรออ์กับมิอ์รอจญ์ (การเดินทางในเวลากลางคืน) ของมุฮัมมัด[26]

อพยพไปยังมะดีนะฮ์[แก้]

ใน ค.ศ. 622 มุฮัมมัดสั่งให้มุสลิมอพยพไปยังมะดีนะฮ์ และหลังจากหลบหนีจากการลอบสังหาร อะบูบักร์ร่วมเดินทางกับมุฮัมมัดไปยังมะดีนะฮ์ เนื่องจากอันตรายจากพวกกุเรช พวกเขาจึงไม่ใช้ถนน แต่เดินทางไปทางตรงกันข้าม โดยหลบซ่อนในถ้ำที่ญะบัลเษาร์ ซึ่งห่างจากมักกะฮ์ทางตอนใต้ไป 5 ไมล์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อบีบักร์ ลูกชายของอะบูบักร์ จะฟังแผนและบทสนทนาของพวกกุเรช และในเวลากลางคืน เขาจะนำข่าวมาให้ผู้ลี้ภัยในถ้ำ อัสมา บินต์ อบีบักร์ ลูกสาวของอะบูบักร์ นำกับอาหารมาให้พวกเขาทุกวัน[27] อามิร บริวารของอะบูบักร์ จะนำฝูงแพะมาปากถ้ำทุกคืน เพื่อให้พวกเขาดื่มนม พวกกุเรชส่งพรรคพวกไปทุกที่ โดยกลุ่มหนึ่งมาใกล้ปากถ้ำ แต่ไม่เห็นพวกเขา ด้วยเหตุนี้ จึงมีการประทานอัลกุรอานโองการ 9:40

หลังอยู่ในถ้ำเป็นเวลาสามวันและสามคืน อะบูบักร์กับมุฮัมมัดเดินทางไปยังมะดีนะฮ์ โดยพักอาศัยชั่วคราวที่กุบาอ์

ชีวิตในมะดีนะฮ์[แก้]

ในมะดีนะฮ์ ศาสดามุฮัมมัดตัดสินใจที่จะสร้างมัสยิด โดยอะบูบักร์เลือกและซื้อที่ดิน แล้วสร้างมัสยิดอันนะบะวี อะบูบักร์ ถูกจับคู่กับคอริญะฮ์ อิบน์ ซะอีด อันศอรี (ผู้มาจากมะดีนะฮ์) ในฐานะพี่น้องศาสนาเดียวกัน โดยทั้งคู่อาศัยที่ซุนฮ์ ชานเมืองมะดีนะฮ์ หลังจากครอบครัวอะบูบักร์มาที่มะดีนะฮ์ เขาจึงซื้อบ้านอีกหลังใกล้กับบ้านของมุฮัมมัด[28]

ในขณะที่สภาพภูมิอากาศของมักกะฮ์นั้นแล้ง สภาพภูมิอากาศของมะดีนะฮ์นั้นชื้น ทำให้ผู้อพยพส่วนใหญ่ป่วย รวมถึงอะบูบักร์ด้วย ที่มักกะฮ์ อะบูบักร์เคยเป็นพ่อค้าขายส่งผ้า และเขาเริ่มงานเดิมในมะดีนะฮ์ ต่อมากิจการของเขารุ่งเรือง ในช่วงต้น ค.ศ. 623 อาอิชะฮ์ ลูกสาวของอะบูบักร์ที่หมั้นกับมุฮัมมัด ได้แต่งงานแบบเรียบง่าย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอะบูบักร์กับมุฮัมมัดแข็งแรงขึ้น[29]

การทหารภายใต้คำสั่งของมุฮัมมัด[แก้]

ยุทธการที่บะดัร[แก้]

ใน ค.ศ. 624 อะบูบักร์มีส่วนร่วมในสงครามครั้งแรกระหว่างมุสลิมกับกุเรชแห่งมักกะฮ์ แต่ไม่ได้ต่อสู้ เพราะเขาทำหน้าที่เป็นหนึ่งในการ์ดที่เต้นท์ของมุฮัมมัด ต่อมา อะลีกล่าวโดยนัยว่า ใครเป็นชายที่กล้าหาญที่สุด ทุกคนตอบว่าอะลี อะลีจึงตอบว่า:

ไม่ อะบูบักร์เป็นชายที่แข็งแกร่งที่สุด ในยุทธการที่บะดัร เราเตรียมพลับพลาแก่ท่านศาสดา แต่เมื่อเราถูกถามว่าใครจะเป็นคนเฝ้าดู ไม่มีใครเลยที่จะทำงานนี้นอกจากอะบูบักร์... ดังนั้น ท่านคือชายที่กล้าหาญที่สุด[30]

ยุทธการที่อุฮุด[แก้]

ใน ค.ศ. 625 เขามีส่วนร่วมในยุทธการที่อุฮุด ซึ่งฝ่ายมุสลิมพ่ายแพ้และเขาได้รับบาดเจ็บ[31] ก่อนเริ่มสงคราม ลูกชายของเขา [อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ อบีบักร์]] ในตอนนั้นยังไม่เข้ารับอิสลาม และอยู่ฝ่ายกุเรช เดินมาข้างหน้าและท้าดวล อะบูบักร์รับคำท้า แต่ท่านศาสดามุฮัมมัดหยุดเขาไว้[32] จากนั้น อับดุรเราะฮ์มานเผชิญหน้ากับพ่อเขาและบอกว่า "นายเล็งผมเป็นเป้าหมาย แต่ผมหลีกหนีไปจากเจ้า และไม่ฆ่าเจ้า" อะบูบักร์จึงตอบว่า "อย่างไรก็ตาม ถ้าเจ้าเล็งข้าเป็นเป้าหมาย ข้าจะไม่หนีไปจากเจ้า"[33] ในช่วงที่สองของสงคราม ทหารม้าของคอลิด อิบน์ อัลวะลีด โจมตีฝ่ายมุสลิมจากทางด้านหลัง ทำให้เปลี่ยนจากชัยชนะไปเป็นความพ่ายแพ้ของฝายมุสลิม[34][35] หลายคนหนีไปจากสนามรบ"[36]

ยุทธการสนามเพลาะ[แก้]

ใน ค.ศ. 627 เขามีส่วนร่วมในยุทธการสนามเพลาะและการบุกรุกของบนูกุร็อยเซาะฮ์[29] ในยุทธการสนามเพลาะ มุฮัมมัดแบ่งสนามเพลาะเป็นส่วน ๆ และตั้งยามในแต่ละส่วน หนึ่งในนั้นอยู่ภายใต้คำสั่งของอะบูบักร์ ฝ่ายศัตรูพยายามจะข้ามสนามเพลาะ แต่ถูกขับไล่ไปทั้งหมด เพื่อรำลึกเหตุการณ์นี้ จึงมีการสร้าง 'มัสยิด อัศศิดดีก'[37] ใบริเวณที่อะบูบักร์ขับไล่ศัตรู[29]

ยุทธการที่ค็อยบัร[แก้]

อะบูบักร์มีส่วนร่วมในยุทธการที่ค็อยบัร ตัวเมืองมีป้อม 8 แห่ง ป้อมที่แข็งแกร่งและป้องกันมากที่สุดมีชื่อว่า อัลเกาะมุส มุฮัมมัดส่งอะบูบักร์พร้อมกับกลุ่มนักรบไปยึดมัน แต่ทำไม่ได้ ท่านจึงส่งอุมัรกับกลุ่มนักรบ และอุมัรก็ยึดป้อมนั้นไม่ได้เช่นกัน[38][39][40][41] มุสลิมบางคนพยายามยึดป้อม แต่ไม่สำเร็จ[42] ท้ายที่สุด มุฮัมมัดจึงส่งอะลี และสามารถเอาชนะหัวหน้าศัตรูได้[40][43]

การทหารในช่วงสุดท้ายของมุฮัมมัด[แก้]

ใน ค.ศ. 629 มุฮัมมัดส่งอัมร์ อิบน์ อัลอาสไปที่ซาอะตุลซัลละซัล ตามมาด้วยกำลังเสริมของอบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรเราะฮ์ อะบูบักร์และอุมัรควบคุมทหารของญัรเราะฮ์ โจมตีและชนะเหนือฝ่ายศัตรู[44]

ยุทธการที่ฮุนัยน์กับฏออิฟ[แก้]

ใน ค.ศ. 630 กองทัพมุสลิมถูกซุ่มโจมตีโดยพลธนูของชนเผ่าท้องถิ่นในหุบเขาฮุนัยน์ ประมาณ 11 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงเหนือขของมักกะฮ์ ทำให้กองทัพมุสลิมระส่ำระส่าย อย่างไรก็ตาม มุฮัมมัด ยังคงอยู่นิ่ง พร้อมกับเศาะฮาบะฮ์ 9 คน รวมไปถึงอะบูบักร์ ภายใต้คำสั่งของมุฮัมมัด อับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ ตะโกนเรียกมุสลิมให้รวมตัวกัน แล้วโจมตีศัตรู จนทำให้พวกเขาแพ้และหนีไปที่เอาตาส

มุฮัมมัดตั้งกองทหารที่ทางผ่านฮุนัยน์ และนำกองทัพหลักไปที่เอาตาส ในการเผชิญหน้ากันที่เอาตาส ชนเผ่าไม่สามารถสู้รบกับฝ่ายมุสลิมได้ จึงทำลายค่ายและหนีไปที่ฏออิฟ

มุฮัมมัดสั่งอะบูบักร์ให้ไปสู้รบที่ฏออิฟ ชนเผ่านั้นได้ปิดประตูในป้อมและไม่ยอมออกมาสู้กลางแปลง ทำให้ต้องล้อมเมืองเป็นเวลาสองสัปดาห์ แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณของความอ่อนแอ ตอนนั้น มุฮัมมัดดำรงตำแหน่งสภาแห่งสงคราม อะบูบักร์แนะนำว่าควรหยุดล้อมเมืองเสีย เผื่ออัลลอฮ์ทรงเตรียมการทำลายป้อมเอง โดยมีการยอมรับคำแนะนำนี้ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 630 จึงเลิกล้อมเมือง และกองทัพมุสลิมจึงเดินทางกลับมักกะฮ์ ไม่กี่วันต่อมา มาลิก อิบน์ เอาฟ์ ผู้บัญชาการ มาที่มักกะฮ์ และเข้ารับอิสลาม[45]

อะบูบักร์ในฐานะอะมีรุลฮัจญ์[แก้]

ใน ค.ศ. 631 มุฮัมมัดได้ส่งคณะผู้แทน 300 คนจากมะดีนะฮ์ เพื่อทำพิธีฮัจญ์ตามแบบอิสลามและให้อบูบักร์เป็นผู้นำคณะผู้แทน ในวันที่อะบูบักร์กับกลุ่มของเขาออกไปทำฮัจญ์ มุฮัมมัดได้รับโองการใหม่: ซูเราะฮ์เตาะบะฮ์ บทที่ 9 ในอัลกุรอาน[46] กล่าวกันว่า เมื่อมีการประทานโองการ บางคนแนะนำมุฮัมมัดว่า ท่านควรส่งข่าวให้กับอะบูบักร์ มุฮัมมัดก่าวว่า มีแค่ชายในบ้านนี้เท่านั้นที่สามารถประกาศโองการได้[47] จุดประสงค์หลักของการประกาศคือ:

  1. จากนี้ไป ไม่อนุญาตผู้ไม่ใช่มุสลิมเข้าไปเยี่ยมชมกะอ์บะฮ์หรือทำพิธีแสวงบุญ
  2. ห้ามใครก็ตามแก้ผ้าเดินวนรอบกะอ์บะฮ์
  3. ไม่มีที่ยืนแก่พหุเทวนิยม โดยให้เวลาออกจากที่นี่เป็นเวลา 4 เดือน

การเดินทางของอะบูบักร์ อัศศิดดีก[แก้]

อะบูบักร์นำทางแค่ครั้งเดียวในการเดินทางของอะบูบักร์ อัศศิดดีก[48] ซึ่งเกิดขึ้นที่นัจด์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 628 (เราะบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 7)[48] ทำให้หลายคนถูกฆ่าและจับเป็นเชลย[49] โดยมีการบันทึกในฮะดีษของ ซุนัน อบูดาวูด[50]

การเดินทางของอุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์[แก้]

ใน ค.ศ. 632 มุฮัมมัดสั่งให้เดินทางไปซีเรียเพื่อล้างแค้นจากการพ่ายแพ้ของมุสลิมในยุทธการที่มุอ์ตะฮ์ ซึ่งนำโดยอุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์ บุตรของซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ ผู้เป็นพ่อของเขาและบุตรบุญธรรมของมุฮัมมัด ถูกฆ่าในสงครามที่แล้ว[51] เนื่องจากอายุไม่ถึง 20 ปี ไม่มีประสบการณ์และไม่ได้ฝึกซ้อม ทำให้การจัดทหารมีปัญหา[52][53] แม้กระนั้น ก็ยังมีการเดินทางต่อ หลังจากได้ข่าวว่ามุฮัมมัดเสียชีวิต ทำให้กองทัพต้องกลับไปยังมะดีนะฮ์[52]

มุฮัมมัดเสียชีวิต[แก้]

หลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต สังคมมุสลิมไม่ได้เตรียมรับการสูญเสียผู้นำและหลายคนรู้สึกช็อกอย่างมาก อุมัรประกาศว่า มุฮัมมัดแค่ไปปรึกษาอัลลอฮ์และจะกลับมาในเร็ววัน แล้วจะทำร้ายใครก็ตามที่กล่าวว่ามุฮัมมัดตายแล้ว[54] อะบูบักร์ ได้กลับมายังมะดีนะฮ์[55] แล้วเรียกให้อุมัรใจเย็นโดยการเผยร่างกายของมุฮัมมัด เพื่อให้เขาเชื่อว่าท่านเสียชีวิตแล้ว[56] เขาได้เรียกผู้คนมารวมตัวที่มัสยิด แล้วกล่าวว่า "ใครก็ตามที่สักการะมุฮัมมัด จงรู้เถิดว่าท่านเสียชีวิตแล้ว ถ้าใครสักการะอัลลอฮ์ พระองค์ทรงมีชีวิต เป็นอมตะ" จากนั้น เขาได้กล่าวโองการหนึ่งจากอัลกุรอานว่า: "และมุฮัมมัดนั้นหาใช่อื่นใดไม่นอกจากเป็นร่อซูลผู้หนึ่งเท่านั้น ซึ่งบรรดาร่อซูลก่อนจากเขาก็ได้ล่วงลับไปแล้ว..."[54][อัลกุรอาน 3:144]

ครองราชย์[แก้]

หลังได้รับตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์ได้กล่าวคำปราศรัยไว้ว่า:

ประชาชนทั้งหลาย ฉันได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองของพวกท่าน ฉันก็มิได้ดีไปกว่าพวกท่าน ถ้าหากว่าฉันทำดี ท่านทั้งหลายจงให้การช่วยเหลือฉันเถิด ถ้าหากว่าฉันทำผิดพลาด ท่านทั้งหลายก็จงนำฉันสู่ทางที่เที่ยงตรงเถิด การพูดจริงเป็นความรับผิดชอบ การพูดเท็จเป็นการบิดพลิ้ว ผู้ที่อ่อนแอในพวกท่านคือผู้ที่แข็งแรงในสายตาฉัน จนกว่าฉันจะเอาสิทธิของเขากลับมาให้แก่เขา และผู้ที่แข็งแรง (ในพวกท่าน) คือผู้ที่อ่อนแอในสายตาของฉันจนกว่าจะเอาสิทธิ (ที่ถูกอธรรม) มาจากเขา –อินชาอัลลอฮ์ คนหนึ่งในพวกท่านอย่าทิ้งการญิฮาด เพราะว่าไม่มีกลุ่มชนใดละทิ้งการญิฮาด นอกจากอัลลอฮ์จะทรงทำให้เขาตกต่ำ ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังฉัน ในเมื่อฉันเชื่อฟังอัลลอฮ์และเราะซูลของพระองค์ และถ้าหากฉันฝ่าฝืนอัลลอฮ์ ท่านทั้งหลายก็ไม่ต้องเชื่อฟังฉัน (อัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ 6:305, 306)

การปกครองของอะบูบักร์อยู่นานถึง 27 เดือน ในช่วงนั้น เขาได้ปราบกบฏทั่วคาบสมุทรอาหรับในสงครามริดดะฮ์ ในเดือนสุดท้ายของการปกครอง เขาส่งคอลิด อิบน์ อัลวะลีดไปพิชิตจักรวรรดิซาเซเนียนที่เมโสโปเตเมียและจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่ซีเรีย ทำให้มีผลตามวิถีทางประวัติศาสตร์[57]

สงครามริดดะฮ์[แก้]

รัฐเคาะลีฟะฮ์ในรัชสมัยของอะบูบักร์ในช่วงสูงสุดเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634

หลังอะบูบักร์ครองราชย์ ก็เริ่มมีปัญหาขึ้น เผ่าอาหรับบางส่วนเริ่มก่อกบฎ ทำให้เกิดสงครามริดดะฮ์ ("สงครามการละทิ้งศาสนา")[58]

ขบวนต่อต้านมาในสองรูปแบบ รูปแบบหนึ่งได้ท้าทายอำนาจทางการเมืองเช่นเดียวกันกับด้านศาสนา นำโดยผู้นำทางการเมืองที่อ้างว่าเป็นศาสดาหลังจากมุฮัมมัดเสียชีวิต ได้แก่:[58]

ในประวัติศาสตร์อิสลามเรียกผู้นำเหล่านี้ว่า "ศาสดาจอมปลอม"[58]

รูปแบบที่สองมักเน้นในด้านการเมืองมากกว่า บางกลุ่มใช้รูปแบบภาษีกบฎในนัจด์ ส่วนอีกกลุ่มใช้โอกาสตอนมุฮัมมัดเสียชีวิตในการหยุดการเติบโตของรัฐอิสลามใหม่[58]

อะบูบักร์เข้าใจในสถานะการณ์นี้ จึงใช้กำลังทหารแบ่งไปหลายส่วน โดยกองทัพของคอลิด อิบน์ อัลวะลีดนำไปปราบกบฎที่นัจด์เช่นเดียวกับพวกมุซัยลิมะฮ์ ชุเราะฮ์บีล อิบน์ ฮะซะนะฮ์ กับอัลอะลาอ์ อิบน์ อัลฮัฎเราะมีถูกส่งไปที่บาห์เรน ในขณะที่อิกริมะฮ์ อิบน์ อบีญะฮัล, ฮุดัยฟะฮ์ อัลบาริกี และอัรฟะญะฮ์ อัลบาริกีถูกส่งไปที่โอมาน[59]

การเดินทางไปที่เปอร์เซียกับซีเรีย[แก้]

เมื่ออาระเบียรวมกันเป็นหนึ่ง ทำให้อะบูบักร์ตัดสินใจว่าจะเริ่มโจมตีก่อน ทำให้ใน ค.ศ. 633 จึงส่งกองทัพขนาดเล็กไปที่อิรักและปาเลสไตน์ ยึดเมืองไว้บางส่วน แม้ว่าไบแซนไทน์และซาเซเนียนสามารถตอบโต้ได้ อะบูบักร์มีเหตุผลอย่างมั่นใจ; หลังสู้รบกันหลายศตวรรษ กองทัพสองจักรวรรดิเริ่มรู้สึกเหนื่อย ทำให้การส่งกองทัพใด ๆ มาที่อาระเบียจะทำให้พวกเขาอ่อนแอและมีจำนวนน้อยลง[60]

ถึงแม้ว่าอะบูบักร์ได้เริ่มความขัดแย้งที่ทำให้เกิดการพิชิตจักรวรรดิซาเซเนียนและลิแวนต์ เขาไม่ได้เห็นการสู้รบด้วยตนเอง แต่ได้มอบภารกิจให้ผู้บังคับบัญชาแทน[60]

การรักษากุรอาน[แก้]

กล่าวกันว่า หลังจากชัยชนะเหนือมุซัยลิมะฮ์ในยุทธการที่ยะมามะฮ์ ค.ศ. 632 อุมัรเห็นว่า มีมุสลิม 500 คนที่จำกุรอานถูกฆ่า เกรงว่ามันอาจจะสูญหายหรือถูกบิดเบือน อุมัรจึงร้องขอให้อะบูบักร์รวบรวมและรักษาคำภีร์เป็นเล่ม ตอนแรกท่านเคาะลีฟะฮ์ลังเล แล้วกล่าวว่า "จะให้เราทำในสิ่งที่ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ขอให้พระองค์อัลลอฮ์ทรงอำนวยพรและทรงประทานความสันติแก่ท่าน ไม่ได้ทำ?" ต่อมาท่านอนุญาต และให้ซัยด์ อิบน์ ษาบิต ไปรวมรวมโองการจากทุกที่ ซึ่งรวมไปถึงจากกิ่งต้นปาล์ม หนังสัตว์, แผ่นหิน และ "จากใจของมนุษย์"[61][62] ฉบับสมบูรณ์ที่มี มุศฮัฟ ถูกนำเสนอแก่อะบูบักร์ แล้วยกให้อุมัร[63] เมื่ออุมัรเสียชีวิต มุศฮัฟ ถูกส่งให้ฮัฟเซาะฮ์ บินต์ อุมัร ลูกสาวของเขาที่เป็นภรรยาของมุฮัมมัด โดยเป็นต้นแบบของฉบับอุษมาน ซึ่งเป็นต้นฉบับของกุรอานในปัจจุบัน[64][หมายเหตุ 2]

เสียชีวิต[แก้]

อะบูบักร์นอนเสียชีวิตข้างอะลี

ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 634 อะบูบักร์ล้มป่วยและรักษาไม่หาย เขามีไข้สูงและต้องนอนติดเตียง และเมื่ออาการแย่ลง เขาจึงเรียกอะลีให้ทำฆุสล์แก่เขา เพราะอะลีเคยทำกับมุฮัมมัดมาก่อน

อะบูบักร์รู้สึกว่า เขาควรให้ผู้สืบทอดต่อ เพื่อที่จะได้ไม่มีความระหองระแหงระหว่างมุสลิมหลังจากเสียชีวิต แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งว่าอะลีไม่ได้เป็นคนที่ถูกเลือก[66] หลังจากปรึกษาแล้ว เขายกตำแหน่งนี้ให้กับอุมัร ทำให้บางกลุ่มยินดี แต่บางส่วนไม่ชอบ เพราะอารมณ์ที่ฉุนเฉียวของอุมัร

อุมัรเป็นผู้นำละหมาดศพและศพของอะบูบักร์ถูกฝังข้างสุสานของมุฮัมมัด[67]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หย่าประมาณ ป. 610
  2. สันนิษฐานว่าเป็นคนกลาง
  3. สันนิษฐานว่าเด็กสุด
  1. "Abu Bakr". Encyclopedia of Islam (2nd ed.). พ่อของเขาชื่อว่าอบูกุฮาฟะฮ์ ..., และบางครั้งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อิบน์ อบีกุฮาฟะฮ์. ... ชื่อ อับดุลลอฮ์ และ อะตีก ('ทาสที่เป็นอิสระ') ถูกยกให้กับเขาเหมือนกับอะบูบักร์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อเหล่านี้กับต้นฉบับยังไม่ทราบแน่ชัด ... ภายหลังเขารู้จักกันในฉายาของมุสลิมซุนนีว่า อัศศิดดีก, ผู้ซื่อสัตย์, ผู้ซื่อตรง หรือผู้ที่กล่าวความจริง
  2. มีหลายอ้างอิง ไม่เฉพาะฝั่งชีอะฮ์ เชื่อว่ามีกุรอานฉบับของอะลี แต่กลับสูญหายไป[65]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Campo, Juan Eduardo (15 April 2009). Encyclopedia of Islam. Infobase Publishing. ISBN 9781438126968 – โดยทาง Google Books.
  2. 2.0 2.1 Saritoprak, Zeki. "Abu Bakr Al-Siddiq". Oxford Bibliographies. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 12 December 2018.
  3. "Abu Bakr - Muslim caliph".
  4. Tabaqat ibn Sa'd 3/ 169
  5. Abi Na'eem, "Ma'arifat al-sahaba", no. 60
  6. Abi Na'eem, "Ma'arifat al-sahaba", no. 64, 65
  7. Glassé, Cyril (15 April 2003). The New Encyclopedia of Islam. Rowman Altamira. ISBN 9780759101906 – โดยทาง Google Books.
  8. Al-Jubouri, I.M.N. (2010). Islamic Thought: From Mohammed to September 11, 2001. Berlin. p. 53. ISBN 9781453595855.
  9. Drissner, Gerald (2016). Islam for Nerds – 500 Questions and Answers. Berlin: createspace. p. 432. ISBN 978-1530860180.
  10. War and Peace in the Law of Islam by Majid Khadduri. Translated by Muhammad Yaqub Khan Published 1951 Ahmadiyyah Anjuman Ishaat Islam. Original from the University of Michigan. Digitized 23 October 2006
  11. Al-zarkali, "al-a'alam", dar al'ilm lil'malayeen, 15th edition, May 2002
  12. Masud-ul-Hasan. Sidiq-i-Akbar Hazrat Abu Bakr. Lahore: A. Salam, Ferozsons Ltd. p. 2.
  13. "Abu Bakr Al-Siddiq – Islamic Studies – Oxford Bibliographies – obo". สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  14. "Sixth Session, Tuesday night, 28th Rajab 1345 A.H." Al-Islam.org. 26 January 2013.
  15. Tarikh al-tabari vol.2-page 60
  16. M. Th. Houtsma et al., eds., E.J. Brill's first Encyclopaedia of Islam, 1913–1936, Leiden: E. J. Brill, 8 vols. with Supplement (vol. 9), 1991. ISBN 90-04-09796-1
  17. The Biography Of Abu Bakr As Siddeeq by Dr. Ali Muhammad As-Sallaabee (Published 2007)
  18. al-Bidayah wa'an-Nihayah 3/26
  19. Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions by Wendy Doniger ISBN 978-0-87779-044-0
  20. Ashraf, Shahid (2004). Encyclopaedia Of Holy Prophet And Companion (Set Of 15 Vols.) (ภาษาอังกฤษ). Anmol Publications Pvt. Limited. ISBN 978-81-261-1940-0.
  21. Tabaqat ibn Sa'd 3/ 169, 174
  22. Tarikh ar-Rusul wa al-Muluk 3/ 426
  23. The Mohammedan Dynasties: Chronological and Genealogical Tables with Historical Introductions (1894) by Stanley Lane-Poole, published by Adamant Media Corporation ISBN 978-1-4021-6666-2
  24. Muslim persecution of heretics during the marwanid period(64-132/684-750), Judd Steven, Al-Masq:Islam & the medieval Mediterranean.Apr.2011, Vol.23 Issue 1 pg1-14.14p.
  25. Abu Bakr by Atta Mohy-ud-Din, published 1968 S. Chand Original from the University of Michigan, digitized 6 January 2006, ASIN B0006FFA0O.
  26. Islam (Exploring Religions) by Anne Geldart, published by Heinemann Library, 28 September 2000. ISBN 978-0-431-09301-7
  27. Islamic Culture by the Islamic Cultural Board Published 1927 s.n. Original from the University of Michigan, digitized 27 March 2006.
  28. Hazrat Abu Bakr, the First Caliph of Islam by Muhammad Habibur Rahman Khan Sherwani, published 1963 Sh. Muhammad Ashraf. Original from the University of Michigan. Digitized 14 November 2006.
  29. 29.0 29.1 29.2 Tabqat ibn al-Saad book of Maghazi, page no:62
  30. Sidiq-i-Akbar Hazrat Abu Bakr by Prof. Masud-ul-Hasan Page 31. Printed and published by A. Salam, Ferozsons Ltd 60 Shahrah-e-Quaid-e-Azam, Lahore
  31. Morgan, Diane (2010). Essential Islam: A Comprehensive Guide to Belief and Practice. ABC-CLIO. p. 126. ISBN 9780313360268.
  32. Sherwani, Muhammad Habibur Rahman Khan (1963). Hazrat Abu Bakr, the First Caliph of Islam. p. 23.
  33. Al-Jubouri, I.M.N. (2004). History of Islamic Philosophy: With View of Greek Philosophy and Early History of Islam. p. 119. ISBN 9780755210114.
  34. Watt, W. Montgomery (1974). Muhammad: Prophet and Statesman. United Kingdom: Oxford University Press. pp. 138–39. ISBN 0-19-881078-4.
  35. "Uhud", Encyclopedia of Islam Online
  36. Al-Jubouri (2004, p. 120, [1])
  37. Masud-ul-Hasan. Sidiq-i-Akbar Hazrat Abu Bakr. Lahore: A. Salam, Ferozsons Ltd. p. 36.
  38. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. p. 192.
  39. Ibn Ishaq. The Life of the Messenger of God.
  40. 40.0 40.1 Irving, Washington. The Life of Mohammed.
  41. Haykal, Muhammad Husayn (1935). The Life of Muhammad. Cairo. As the days went by, the Prophet sent Abu Bakr with a contingent and a flag to the fortress of Na'im; but he was not able to conquer it despite heavy fighting. The Prophet then sent Umar bin al-Khattab on the following day, but he fared no better than Abu Bakr.
  42. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. pp. 192–193. Some other captains also tried to capture the fortress but they also failed.
  43. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. p. 193.
  44. Sahih-al-Bhukari book of Maghazi, Ghazwa Saif-al-Jara
  45. Masud-ul-Hasan. Sidiq-i-Akbar Hazrat Abu Bakr. Lahore: A. Salam, Ferozsons Ltd. p. 46.
  46. Razwy, Sayed Ali Asgher. A Restatement of the History of Islam & Muslims. p. 255.
  47. ibn Ishaq, Muhammad. The Life of the Messenger of God.
  48. 48.0 48.1 Atlas Al-sīrah Al-Nabawīyah. Darussalam. 1 January 2004. ISBN 9789960897714 – โดยทาง Google Books.
  49. The life of Mahomet and history of Islam, Volume 4, By Sir William Muir, Pg 83 See bottom of page, notes section
  50. Sunan Abu Dawood, 14:2632
  51. Ahmad, Fazl (1961). Heroes of Islam Series: Abu Bakr, the first caliph of Islam. p. 42.
  52. 52.0 52.1 Powers, David S. (2011). Muhammad Is Not the Father of Any of Your Men: The Making of the Last Prophet. p. 27. ISBN 9780812205572.
  53. Balyuzi, Hasan M. (1976). Muḥammad and the Course of Islám. p. 151.
  54. 54.0 54.1 Phipps, William E. (2016). Muhammad and Jesus: A Comparison of the Prophets and Their Teachings. p. 70. ISBN 9781474289351.
  55. Syed, Muzaffar Husain; Akhtar, Syed Saud; Usmani, B. D. (2011). Concise History of Islam. p. 27. ISBN 9789382573470.
  56. Mattson, Ingrid (2013). The Story of the Qur'an: Its History and Place in Muslim Life. p. 185. ISBN 9780470673492.
  57. Donner, Fred M.; Donner, Professor of Near Eastern History in the Oriental Institute and Department of Near Eastern Languages and Civilizations Fred M. (15 May 2010). Muhammad and the Believers: At the Origins of Islam. Harvard University Press. ISBN 9780674050976 – โดยทาง Google Books.
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 Donner, Fred M. (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton University Press. p. 85. ISBN 9781400847877.
  59. Donner (1981, pp. 86–87)
  60. 60.0 60.1 Nardo, Don (2011). The Islamic Empire. Lucent Books. pp. 30, 32. ISBN 9781420506341.
  61. Fernhout, Rein; Jansen, Henry; Jansen-Hofland, Lucy (1994). Canonical Texts. Bearers of Absolute Authority. Bible, Koran, Veda, Tipitaka: a Phenomenological Study. p. 62. ISBN 9051837747.
  62. Herlihy, John (2012). Islam for Our Time: Inside the Traditional World of Islamic Spirituality. p. 76. ISBN 9781479709977.
  63. Azmayesh, Seyed Mostafa (2015). New Researches on the Quran: Why and how two versions of Islam entered the history of mankind. Mehraby Publishing House. p. 75. ISBN 9780955811760.
  64. Herlihy (2012, p. 76–77)
  65. Herlihy (2012, p. 77)
  66. Sidiq-i-Akbar Hazrat Abu Bakr by Masudul Hasan. Lahore: Ferozsons, 1976. OCLC 3478821
  67. "Islamic Review". Shah Jehan Mosque. 15 April 1967 – โดยทาง Google Books.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

ออนไลน์[แก้]

  • Abū Bakr Muslim caliph, in Encyclopædia Britannica Online, by The Editors of Encyclopaedia Britannica, Yamini Chauhan, Aakanksha Gaur, Gloria Lotha, Noah Tesch and Amy Tikkanen

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เสียงภาษาอูรดู