อะบุล กะลาม อาซาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมาลานา ซายยิด
อะบุล กะลาม อาซาด
รัฐมนตรีการศึกษาคนแรก
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม 1947 – 2 กุมภาพันธ์ 1958
นายกรัฐมนตรี ชวาหัรลาล เนหรู
ก่อนหน้า ประเดิมตำแหน่ง
ถัดไป เค แอล ศรีมาลี
สมาชิกรัฐสภารัฐธรรมนูญอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
พฤศิจกายน 1946 – 26 มกราคม 1950
ประธานคองเกรสแห่งชาติอินเดีย
ดำรงตำแหน่ง
1923–1924
ก่อนหน้า โมฮัมมัด อะลี ชาวหัร
ถัดไป มหาตมะ คานธี
ดำรงตำแหน่ง
1940–1946
ก่อนหน้า ราเชนทร ประสาท
ถัดไป เจ บี กรีปาลานี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1888(1888-11-11)[1]
มักกะฮ์ เฮยัซ จักรวรรดิออตโตมัน
(ปัจจุบัน ซาอุดิอาระเบีย)
เสียชีวิต 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958(1958-02-22) (69 ปี)
เดลี อินเดีย
สาเหตุการเสียชีวิต เส้นเลือดในสมองแตก
ที่ไว้ศพ มัสยิดจามา เดลี
พรรค คองเกรสแห่งชาติอินเดีย
คู่สมรส Zulaikha Begum
อาชีพ นักเทววิทยา, นักวิชาการ, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
ลายมือชื่อ Autograph of Maulana Abul Kalam Azad.jpg
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
บำเหน็จ ภารตรัตนะ
(หลังเสียชีวิต, 1992)

อะบุล กะลาม ฆุลาม มุฮิยุดดีน อาห์เมด บิน ไครุดดีน อัล-ฮุสไซนี อาซาด (อักษรโรมัน: Abul Kalam Ghulam Muhiyuddin Ahmed bin Khairuddin Al-Hussaini Azad, (เกี่ยวกับเสียงนี้ listen ); 11 พฤศจิกายน 1888 – 22 กุมภาพันธ์ 1958) หรือเป็นที่รู้จักสั้น ๆ ว่า เมาลานาอาซาด (อักษรโรมัน: Maulana Azad) เป็นนักเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชอินเดีย, นักเทววิทยาอิสลาม, นักเขียน และผู้นำอาวุโสของคองเกรสแห่งชาติอินเดีย หลังอินเดียได้รับเอกราช เขาขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีศึกษาธิการคนแรกของอินเดีย ชื่อ "เมาลานาอาซาด" ของเขามาจากคำว่า "เมาลานา" เป็นคำเรียกนำหน้าเชิงให้เกียรติที่แปลว่า "นายท่าน" ส่วน "อาซาด" (อิสระ) เป็นนามปากกาของเขา เขามีบทบาทสำคัญมากต่อการวางรากฐานการศึกษาในประเทศอินเดีย วันเกิดของเขาได้รับการเฉลิมฉลองเป็นวันการศึกษาแห่งชาติ (National Education Day) ไปทั่วประเทศอินเดีย[2][3]

เมื่อครั้นเป็นหนุ่ม อาซาดเป็นผู้ประพันธ์บทกวีภาษาอูรดู และยังศึกษาปรัชญากับศาสนา เขาเริ่มมีบทบาทมากขึ้นจากการทำงานเป็นนักข่าวและตีพิมพ์ชิ้นงานที่วิจารณ์รัฐบาลของบริติชราชและสนับสนุนแนวคิดชาตินิยมอินเดีย อาซาดได้กลายมาเป็นผู้นำขบวนการกีลาฟัต ที่ซึ่งเขาได้มีโอกาสใกล้ชิดกับมหาตมะ คานธี ต่อมาอาซาดจึงมีความสนใจมากต่อขบวนการดื้อแพ่งของคานธีและทำงานเพื่อจัดการประท้วงโดยขบวนการดื้อแพ่งเพื่อต่อต้านพระราชบัญญัติโรวราตปี 1919 อาซาดวางตนสนับสนุนแนวคิดของคานธี สนับสนุน สวเทศี (ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น) และ สวราช (ปกครองตนเอง) ในปี 1923 เมื่ออายุได้ 35 ปี เขาขึ้นเป็นประธานคองเกรสแห่งชาติอินเดีย เป็นประธานคนที่อายุน้อยที่สุดในตอนนั้น

ในปี 1931 เขามีบทบาทมากในการจัดการธรรสนสัตยเคราะห์ และกลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำการเรียกร้องเอกราชที่โดดเด่นที่สุดในเวลานั้น โดยมีบทบาทเด่นในการชูความสามัคคีระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิม และยังผลักดันแนวคิดแบบฆราวาสนิยมและสังคมนิยม เขายังทำงานให้กับ อัลฮิลาล หนังสือพิมพ์สนับสนุนแนวคิดสามัคคีระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมเช่นกัน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Fahad, Obaidullah (2011). "Tracing Pluralistic Trends in Sīrah Literature: A Study of Some Contemporary Scholars". Islamic Studies. 50 (2): 238. JSTOR 41932590.
  2. "International Urdu conference from Nov. 10". The Hindu. 7 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2010. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
  3. Chawla, Muhammad (2016). "Maulana Azad and the Demand for Pakistan: A Reappraisal". Journal of the Pakistan Historical Society. 64 (3): 7–24.
  4. "Maulana Abul Kalam Azad Biography – Maulana Azad Indian Freedom Fighter – Information on Maulana Azad – History of Maulana Abul Kalam Azad". www.iloveindia.com. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.

บรรณานุกรม[แก้]