อะบราคาดาบรา (เพลงเลดีกากา)
"อะบราคาดาบรา" | ||||
---|---|---|---|---|
ซิงเกิลโดยเลดีกากา | ||||
จากอัลบั้มเมย์เฮม | ||||
วางจำหน่าย | 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2025 | |||
แนวเพลง | ||||
ความยาว | 3:43 | |||
ค่ายเพลง | อินเตอร์สโคป | |||
ผู้ประพันธ์เพลง |
| |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับซิงเกิลของเลดีกากา | ||||
| ||||
มิวสิกวิดีโอ | ||||
"อะบราคาดาบรา" ที่ยูทูบ |
"อะบราคาดาบรา" (อังกฤษ: Abracadabra) เป็นเพลงของนักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เลดีกากา เพลงนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2025 ผ่านทางอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ ซึ่งเป็นซิงเกิลที่สองจากอัลบั้มสตูดิโอชุดที่ 8 ของกากาที่จะออกในเร็ว ๆ นี้ ชื่อว่า เมย์เฮม (2025) ความเป็นแดนซ์ป็อปและโครงสร้างการประพันธ์เพลงนี้ได้รับการเปรียบเทียบกับผลงานก่อนหน้านี้ของเธอ มิวสิกวิดีโอเพลงนี้เปิดตัวครั้งแรกในงานประกาศรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 67
องค์ประกอบ
[แก้]"อะบราคาดาบรา" เป็นเพลงแนวแดนซ์ป็อป ที่มีอิทธิพลจากดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเฮาส์ โดยมีจังหวะที่เร้าใจ เสียงซินธ์ที่สะกดจิต และเสียงร้องที่ตื่นเต้นเร้าใจซึ่งชวนให้นึกถึงเพลงฮิตในช่วงแรก ๆ ของกาก้า [3] นักข่าวบางคนเปรียบเทียบสไตล์ของเพลงนี้กับยุค เดอะเฟมมอนสเตอร์ (2009) และ โครมาติกา (2020) ซึ่งดูมืดหม่นและเต็มไปด้วยความเป็นละครเวที[1] ส่วนหนึ่งของเพลง "อะบราคาดาบรา" ใช้ทำนองเพลง "สเปลล์บาวด์" ของซูซีแอนด์เดอะแบนชีส์[4]
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
[แก้]ไม่นานหลังจากที่กากาประกาศเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2025 ว่าอัลบั้มสตูดิโอถัดไปของเธอจะใช้ชื่อว่า เมย์เฮม[5] ได้มีการเปิดเผยว่าเธอจะเปิดตัวซิงเกิลและวิดีโอใหม่ในช่วงงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 67 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน[6][7][8][2][9] ตามรายงานของนิตยสารวาไรตี "อะบราคาดาบรา" เป็นเพลงเต้นรำจังหวะเร็ว[10]
การตอบรับ
[แก้]"อะบราคาดาบรา" ได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก โดยนักวิจารณ์ยกย่องการผลิต พลังของเพลง และท่อนร้องที่ติดหู หลายคนเปรียบเทียบกับผลงานยุคแรก ๆ ของกาก้า โดยสังเกตว่าได้รับอิทธิพลมาจากเพลงแดนซ์ป็อปช่วงปลายยุค 2000 และยังสืบสานแนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์แนวมืดหม่นจากเพลง "ดิซีส" อีกด้วย ลาริชา พอล จากนิตยสารโรลลิงสโตน กล่าวว่ากากา "มักจะใช้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดนตรีของเธอ" และอธิบายเพลงนี้ว่า "เป็นการแสดงให้เห็นถึงการกลับมาสู่แนวเพลงดาร์กป๊อป ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่ออิทธิพลที่หล่อหลอมอาชีพของเธอ"[11] โรบิน เมอร์เรย์ จากนิตยสารแคลช อธิบายว่าเพลงนี้เป็น "เพลงป๊อปที่น่าตื่นเต้นซึ่งเปลี่ยนจากแสงสว่างเป็นเงามืดได้อย่างเป็นมืออาชีพ"[12] อเลซานโดร เวียเปียนา บรรณาธิการลอฟฟิเชียล เน้นย้ำถึง "จังหวะที่เสียดแทงและเครื่องสังเคราะห์เสียงที่เร้าจังหวะ พร้อมด้วยเสียงที่สะกดจิตซึ่งดูเหมือนจะกระตุ้นให้เกิดพิธีกรรม"[13] ไคลน์ เดนนิสจากบิลบอร์ด อธิบายว่าเพลงนี้เป็น "ซิงเกิลแดนซ์ป๊อปใหม่ที่ระเบิดความมันส์" และเน้นที่ "ความเข้มข้นสูง" ของเพลงนี้ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่าเพลงนี้สืบทอดองค์ประกอบดาร์กอิเล็กทรอนิกส์มืดมิดจาก "ดิซีส" ผลงานก่อนหน้านี้ของกากา[2]
นิตยสารดีไอวาย วิจารณ์ว่า: "เลดีกากากลับมาแล้ว ซิงเกิลล่าสุดของเธอ 'อะบราคาดาบรา' เป็นเพลงจังหวะเต้นรำที่ไร้ขีดจำกัดซึ่งพาให้หวนคิดถึง เดอะเฟมมอนสเตอร์ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000" และยังเสริมว่าเพลงนี้วนเวียนอยู่กับ "ท่อนร้องประสานเสียงที่ไร้ความหมายแต่ติดหูอย่างน่าเหลือเชื่อ"[14] เจเนไซป๊อบตั้งชื่อเพลงนี้ให้เป็นเพลงแห่งวันในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2025 โดยระบุว่า "ให้ความรู้สึกเหมือนย้อนเวลากลับไปในปี 2009 แต่ด้วยการผลิตที่ปรับปรุงให้เข้ากับยุคปัจจุบัน" พร้อมทั้งอธิบายว่าเป็น "เพลงแนวอิเล็กโทรป็อปสุดดาร์กในสไตล์คลาสสิกของกากา"[15] วอลเดน กรีน จากพิตช์ฟอร์ก กล่าวว่ากากาไม่ได้ออกซิงเกิล "ที่ดี" เลยตั้งแต่ "จี.ยู.วาย" ในปี 2013 โดยเขียนว่า "'อะบราคาดาบรา' นำเสนอท่อนฮุกที่รัดแน่นแบบลาเท็กซ์ตามแบบฉบับบอร์นดิสเวย์อย่างแท้จริง แต่เมื่อฟังดี ๆ จะพบร่องรอยของการสร้างสรรค์ทางศิลปะในรูปแบบใหม่ที่สืบทอดกว่าทศวรรษ: สัมผัสของโครมาติกาจากเปียโนในบ้าน และการร้องอย่างเต็มที่ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามาจากการฝึกฝนอย่างจริงจัง"[16]
บัสเทิลกล่าวว่าเพลงนี้เป็น "เพลงแดนซ์ฮิตที่ออกแบบมาเพื่อแฟน ๆ ของเธอโดยเฉพาะ" และกล่าวว่า "อย่างที่ชื่อเพลงบ่งบอก แกเร็ธ เกเบรียล ได้ร่ายมนต์สะกดด้วยซิงเกิลใหม่ของกากา ชักชวนให้ผู้ฟังเต้นรำตลอดทั้งคืน"[17] มาร์คัส แรตเทน เขียนบทวิจารณ์สำหรับ พิงก์นิวส์ โดยกล่าวว่า "เพลงนี้ถึงจุดสุดยอดด้วยท่อนฮุกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงยูโรป็อป ตามด้วยท่อนฮุกหลังเพลงอันทรงพลังที่เมกะสตาร์ร้องซ้ำท่อนนั้นด้วยคำที่ไม่เป็นภาษาอย่างชัดเจน"[18] ในขณะเดียวกัน มิเลนิโออธิบายว่าเพลงนี้ยังคง "สไตล์ป็อป-ร็อกไว้ โดยมีช่วงที่เงียบและท่อนอะคาเปลลาที่เป็นเอกลักษณ์ของแกเร็ธ เกเบรียล"[19]
มิวสิกวีดีโอ
[แก้]มิวสิกวิดีโอเพลง "อะบราคาดาบรา" กำกับโดยกาการ่วมกับพาร์ริส โกเบล และเบธานี วาร์กัส[20] ตัวอย่างเกือบเต็มเรื่องเปิดตัวครั้งแรกในช่วงโฆษณาร่วมกับมาสเตอร์การ์ดในงานประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 67 และต่อมาได้เผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของศิลปินเอง[9] มิวสิกวิดีโอเปิดฉากด้วยกากาที่ยืนอยู่บนชั้นบนของสถานที่จัดงานอันยิ่งใหญ่โดยสวมชุดลาเท็กซ์สีแดงมีหนามแหลม เธอประกาศว่า "สิ่งที่เธอต้องทำตอนนี้คือ 'เต้น' หรือ 'ตาย' " เริ่มต้นด้วยลำดับท่าเต้นที่หนักแน่นซึ่งมีนักเต้น 40 คน ทั้งหมดสวมชุดสีขาว[11] ตลอดทั้งวิดีโอนี้ กากาจะสวมชุดสีขาวซึ่งมีพลังอย่างแรงกล้า สลับกับชุดสีแดงซึ่งยังคงนิ่งกว่า ซึ่งสื่อถึงการประชันลีลาเต้นรำระหว่างแสงสว่างกับความมืด[10]
ในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสารแอล กากาได้อธิบายว่าแนวคิดของมิวสิกวิดีโอนี้คือการ "เตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทาย" โดยหญิงสาวในชุดสีแดงจะท้าให้ผู้ชม "เต้นรำเพื่อเอาชีวิตรอด" เธอยังกล่าวถึงภาพดังกล่าวว่าเป็นการเสริมเนื้อเพลง โดยกล่าวว่า "เมื่อคุณได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก คุณอาจคิดว่า 'นี่มันเกี่ยวกับอะไรนะ ฟังก็สนุกดี แต่ว่ามันหมายถึงอะไร' สำหรับฉัน เมื่อชมมิวสิกวิดีโอนี้จบ มันแปลได้ค่อนข้างชัดว่าเราต้องก้าวเดินต่อไป" กากายังกล่าวอีกว่ามิวสิกวิดีโอนี้เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อพัฒนาตัวเอง[21] ทั้งนี้ เธอได้จัดการประกวดเต้น "ไพรซ์เลสเอ็กซ์พีเรียนซ์" ร่วมกับมาสเตอร์การ์ดและโกเบลซึ่งเป็นผู้ออกแบบท่าเต้นในมิวสิกวิดีโอนี้ เพื่อคัดเลือกผู้ร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอเวอร์ชันแฟนคลับ โดยมีกติกาให้ผู้ร่วมประกวดเต้นตามแบบในมิวสิกวิดีโอต้นฉบับพร้อมติดแฮชแท็ก #มาสเตอร์การ์ดกากาคอนเทสต์ (อังกฤษ: #MastercardGagaContest) และโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย[22]
การตอบรับมิวสิกวิดีโอ
[แก้]ไคลน์ เดนนิสจากบิลบอร์ด กล่าวว่าวิดีโอดังกล่าวทำให้คนนึกถึง "แบดโรมานซ์" ด้วย "การแสดงการผสมผสานของรูปแบบศิลปะต่างๆ อย่างพิถีพิถัน" เช่นเดียวกับสุนทรียศาสตร์แฟชั่นชั้นสูง[2] นิตยสาร โรลลิงสโตน ได้เน้นย้ำถึงท่าเต้นที่เร้าใจของมิวสิกวิดีโอ โดยอธิบายว่าเป็น "การระเบิดของความโกลาหลและความเคลื่อนไหว" พร้อมทั้งระบุว่า "สุนทรียศาสตร์ของมิวสิกวิดีโอช่วยตอกย้ำแนวคิดของอัลบั้ม เมย์เฮม และเมื่อรวมกับเพลงแล้ว จะทำให้หวนนึกถึงยุค เดอะเฟมมอนสเตอร์ ด้วยสไตล์ภาพที่มืดหม่นและดุดัน"[11]
ประวัติการเผยแพร่
[แก้]ภูมิภาค | วันที่ | รูปแบบ | ค่าย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ทั่วโลก | 3 กุมภาพันธ์ 2025 |
|
อินเตอร์สโคป | [23] |
อิตาลี | การออกอากาศทางวิทยุ | ยูนิเวอร์แซล | [24] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Goldberg, Alyssa (February 3, 2025). "At Grammys, Lady Gaga debuts surprise song 'Abracadabra,' shares message for trans people". USA Today. ISSN 0734-7456. OCLC 8799626. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Denis, Kyle (February 3, 2025). "Lady Gaga Debuts New Single 'Abracadabra' & Music Video at 2025 Grammys". Billboard. ISSN 0006-2510. OCLC 732913734. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ "Lady Gaga estrena 'Abracadabra' y nos hace una propuesta: "Baila o Muere"" [Lady Gaga releases 'Abracadabra' and makes us a proposal: "Dance or Die"] (ภาษาสเปนแบบยุโรป). Los 40. February 3, 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Gonçalves, Julien (February 3, 2025). ""Le clip de l'année" : Lady Gaga ressuscite la pop avec l'incroyable "Abracadabra"" ["Video of the Year": Lady Gaga Resurrects Pop with Incredible "Abracadabra"] (ภาษาฝรั่งเศส). Puremédias. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Monroe, Jazz (January 27, 2025). "Lady Gaga Announces New Album Mayhem". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Grein, Paul (February 1, 2025). "Lady Gaga & Bruno Mars, Shaboozey Added as Performers to 2025 Grammys". Billboard. ISSN 0006-2510. OCLC 732913734. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Grutter, Felipe (January 30, 2025). "Lady Gaga indica qual será o próximo single do álbum Mayhem" [Lady Gaga hints at the next single from her Mayhem album]. Rolling Stone Brasil (ภาษาโปรตุเกส). ISSN 0035-791X. OCLC 969027590. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Garcia, Thania; Aswad, Jem (January 27, 2025). "Lady Gaga's Next Album, Mayhem, Due March 7". Variety. ISSN 0042-2738. OCLC 60626328. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ 9.0 9.1 Strauss, Matthew (February 3, 2025). "Lady Gaga Shares Video for New Song "Abracadabra"". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 4, 2025.
- ↑ 10.0 10.1 Willman, Chris (February 3, 2025). "Lady Gaga Premieres New Single and Music Video, 'Abracadabra,' During Grammys Commercial Break". Variety. ISSN 0042-2738. OCLC 60626328. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 2, 2025.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Paul, Larisha (February 3, 2025). "Lady Gaga Sprinkles Some Magic Over 2025 Grammys With Surprise Single 'Abracadabra'". Rolling Stone. ISSN 0035-791X. OCLC 969027590. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Murray, Robin (February 3, 2025). "Lady Gaga Shares New Single 'Abracadabra'". Clash. ISSN 1743-0801. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Viapiana, Alessandro Viapiana (February 3, 2025). ""Abracadabra", Lady Gaga presenta a sorpresa il nuovo singolo ai Grammys" ["Abracadabra", Lady Gaga surprises new single at Grammys]. L'Officiel (ภาษาอิตาลี). ISSN 0030-0403. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Carter, Daisy (February 3, 2025). "Lady Gaga debuts video for club-ready banger 'Abracadabra'". DIY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Cárcoba, Gabriel (February 3, 2025). "Lady Gaga vuelve a su era 'Bad Romance' en 'Abracadabra'" [Lady Gaga returns to her 'Bad Romance' era in 'Abracadabra']. Jenesaispop (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Green, Walden (February 3, 2025). "Lady Gaga: "Abracadabra"". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Viswanath, Jake (February 3, 2025). "You Have To See Lady Gaga's New "Abracadabra" Music Video". Bustle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Wratten, Marcus (February 3, 2025). "Lady Gaga fans go wild for new 'banger' single Abracadabra: 'Return to form'". PinkNews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Villegas, Ricardo Cervantes (February 2, 2025). "Lady Gaga estrena la canción 'Abracadabra'; escúchala aquí" [After winning a Grammy, Lady Gaga releases the song 'Abracadabra'; listen to it here]. Milenio (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Fell, Nicole (February 3, 2025). "Lady Gaga Returns to Pop Roots with New Song and Music Video "Abracadabra"". The Hollywood Reporter. ISSN 0018-3660. OCLC 44653726. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Jeffs, Lotte (February 3, 2025). "Lady Gaga Tells Us Everything You Want To Know About 'Abracadabra' After That Spectacular Grammys Reveal". Elle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ "Mastercard and Lady Gaga team up to debut "Abracadabra" music video, celebrating fans with Priceless Experiences" (Press release). MasterCard. February 3, 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2025. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.
- ↑ Gaga, Lady. "Abracadabra – Single". Apple Music. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2025. สืบค้นเมื่อ February 2, 2025.
- ↑ Fusi, Eleonora (February 3, 2025). "LADY GAGA "Abracadabra" | (Radio Date: 03/02/2025)" (Press release) (ภาษาอิตาลี). Airplay Control. สืบค้นเมื่อ February 3, 2025.