โอกุสต์ แอ็สกอฟีเย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ออกุสต์ เอสโคฟิเอร์)
โอกุสต์ แอ็สกอฟีเย
เกิดฌอร์ฌ โอกุสต์ แอ็สกอฟีเย
28 ตุลาคม ค.ศ. 1846(1846-10-28)
วีลเนิฟว์-ลูแบ ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1935(1935-02-12) (88 ปี)
มงเต-การ์โล ประเทศโมนาโก
สัญชาติฝรั่งเศส
อาชีพหัวหน้าคนครัว, นักภัตตาคาร, นักเขียน
คู่สมรสแดลฟีน ดาฟี (สมรส 1878; เสียชีวิต 1935)
บุตรปอล, ดาเนียล, แฌร์แมน
ลายมือชื่อ

ฌอร์ฌ โอกุสต์ แอ็สกอฟีเย (ฝรั่งเศส: Georges Auguste Escoffier; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1846 – 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1935) เป็นหัวหน้าคนครัว นักภัตตาคาร และนักเขียนด้านอาหารชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ปรับปรุงและทำให้วิธีการปรุงอาหารฝรั่งเศสแบบดั้งเดิมเป็นที่นิยม เทคนิคส่วนใหญ่ของแอ็สกอฟีเยมีพื้นฐานมาจากเทคนิคของมารี-อ็องตวน กาแรม ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประมวลตำรับตำราอาหารฝรั่งเศสชั้นสูง แต่ความสำเร็จของแอ็สกอฟีเยคือการทำให้รูปแบบที่ประณีตหรูหราของกาแรมมีความเรียบง่ายและทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาได้รวบรวมสูตรซอสแม่ทั้งห้า สื่อฝรั่งเศสให้ฉายาเขาว่าเป็น "ราชาแห่งเชฟและเชฟแห่งราชา" (roi des cuisiniers et cuisinier des rois[1] — แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยให้ฉายากาแรมเช่นนี้เช่นกัน) แอ็สกอฟีเยมีชื่อเสียงโดดเด่นในลอนดอนและปารีสระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1890 ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

นอกจากสูตรอาหารแล้ว แอ็สกอฟีเยยังยกระดับอาชีพอีกด้วย ในช่วงเวลาที่ห้องครัวที่เสียงดัง สถานที่ที่วุ่นวายซึ่งการดื่มในงานเป็นเรื่องปกติ แอ็สกอฟีเยเรียกร้องความสะอาด วินัย และความเงียบจากพนักงานของเขา ในการนำความเป็นระเบียบมาสู่ห้องครัว เขาใช้ประสบการณ์ทางการทหารของเขาเพื่อการพัฒนาระบบบริเกด เดอ ควิซีนตามลำดับชั้นเพื่อการจัดระเบียบพนักงานในห้องครัวซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานในภัตตาคารหลากหลายแห่งในปัจจุบัน เขาทำงานร่วมกับเจ้าของโรงแรม ซีซาร์ ริทซ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังร่วมกันที่ซาวอยในลอนดอนเพื่อการให้บริการชนชั้นสูงในสังคม และต่อมาที่โรงแรมริทซ์ในปารีสและคาร์ลตันในลอนดอน

สิ่งตีพิมพ์[แก้]

Ma Cuisine (ค.ศ. 1934)
  • Le Traité sur L'art de Travailler les Fleurs en Cire (1886)
  • Le Guide Culinaire (1903)
  • Les Fleurs en Cire (1910)
  • Le Carnet d'Epicure (1911–1914)
  • Le Livre des Menus (1912)
  • L'Aide-memoire Culinaire (1919)
  • Le Riz (Rice) (1927)
  • La Morue (Cod) (1929)
  • Ma Cuisine (1934)
  • Le Guide Culinaire (1903)
  • 2000 French Recipes (1965) ISBN 1-85051-694-4
  • Memories of My Life (1996), ISBN 0-471-28803-9
  • Les Tresors Culinaires de la France (2002)

อ้างอิง[แก้]

  1. Claiborne, Craig & Franey, Pierre. Classic French Cooking

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]