อวตาร (แฟรนไชส์)
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อวตาร | |
---|---|
สร้างโดย | เจมส์ แคเมรอน |
งานต้นฉบับ | อวตาร |
เจ้าของ | ทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ (เดอะวอลต์ดิสนีย์) |
ปี | ค.ศ. 2009–ปัจจุบัน |
ภาพยนตร์และโทรทัศน์ | |
ภาพยนตร์ |
|
เว็บไซต์ทางการ | |
avatar.com |
อวตาร (อังกฤษ: Avatar) เป็นสื่อแฟรนไชส์อเมริกันที่สร้างโดยเจมส์ แคเมรอน ประกอบด้วยซีรีส์ที่วางแผนไว้ของภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ตำนาน ผลิตโดยไลท์สตอร์ม เอนเตอร์เทนเมนท์ และจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีสตูดิโอส์ รวมถึงเกมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องและเครื่องเล่นในสวนสนุก แฟรนไชส์ อวตาร เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ที่แพงที่สุดที่เคยดำเนินการ โดยงบประมาณรวมของภาพยนตร์เรื่องแรกและภาคต่อสี่เรื่องอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์
ภาคแรก อวตาร ออกฉายเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009 และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล แผนของซีรีส์ได้รับการประกาศโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552 หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ อวตาร จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ได้ยืนยันแฟรนไชน์เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2010
เช่นเดียวกับภาพยนตร์ต้นฉบับ ภาคต่อที่วางแผนไว้ทั้งสี่เรื่องมีโครงเรื่องแบบแยกเดี่ยวที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์นำมาสู่ข้อสรุปของตัวเอง ภาพยนตร์ทั้งสี่เรื่องมีเนื้อเรื่องที่ครอบคลุมซึ่งเชื่อมโยงพวกเขาเพื่อสร้างซากาขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อถึงกัน[1] เจมส์ คาเมรอนบรรยายภาคต่อว่าเป็นเหมือน "ส่วนขยายตามธรรมชาติของธีมทั้งหมด ตัวละคร และคลื่นใต้น้ำทางจิตวิญญาณ" ของภาพยนตร์เรื่องแรก โดยมี โจชัว อิซโซ เป็นผู้ควบคุมเรื่องราวในจักรวาลให้มีในทิศทางเดียวกันและยังเป็นผู้เขียนหนังสือ The World of Avatar: การสำรวจด้วยภาพ และ งานศิลป์แห่งอวตาร วิถีแห่งสายน้ำ
ภาพยนตร์ใน แฟรนไชน์ภาพยนตร์ทำเงินรวมเป็นอันดับที่ 13 ทั้งสองเรื่องประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในด้านรายได้และคำวิจารณ์ ทำเงินรวมประมาณ 5.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลของโลกเป็นอันดับหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องที่สองเป็นอันดับสี่ ในขณะนี้
ภาพยนตร์[แก้]
เรื่อง | วันที่วางจำหน่ายในสหรัฐ | กำกับโดย | บทภาพยนตร์โดย | เรื่องโดย | ผลิตโดย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|
อวตาร | 18 ธันวาคม ค.ศ. 2009 | เจมส์ คาเมรอน | เจมส์ คาเมรอน | เจมส์ คาเมรอน และ จอน แลนโด | ฉายแล้ว | |
อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ | 16 ธันวาคม ค.ศ. 2022 | เจมส์ คาเมรอน & ริค จาฟฟา & อแมนด้า ซิลเวอร์ | เจมส์ คาเมรอน & ริก จาฟฟา & อแมนด้า ซิลเวอร์ & จอช ฟรีดแมน & เชน ซาแลร์โน | ฉายแล้ว | ||
อวตาร 3 ผู้ถือครองเมล็ดพันธุ์ | 20 ธันวาคม ค.ศ. 2024 | เจมส์ คาเมรอน & เชน ซาเลอร์โน | หลังการผลิต | |||
อวตาร 4 ผู้ควบโทลคูน | 18 ธันวาคม ค.ศ. 2026 | เจมส์ คาเมรอน และ จอช ฟรีดแมน[2] | กำลังถ่ายทำ | |||
อวตาร 5 ภารกิจแห่งเอวา | 22 ธันวาคม ค.ศ. 2028 | รอประกาศ[3] | เจมส์ คาเมรอน | ก่อนการผลิต |
อวตาร (2009)[แก้]
เรื่องราวมุ่งเน้นไปที่ความขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่บนดาวแพนดอร่า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของดวงจันทร์ขนาดเท่าโลกของโพลีฟีมัส ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของดาวก๊าซยักษ์ที่โคจรรอบอัลฟา เซนทอรี เอ บนดาวแพนดอร่า มนุษย์อาณานิคมและชาวพื้นเมืองคล้ายมนุษย์ที่มีความรู้สึกนึกคิดของแพนดอร่า ชาวนาวี มีส่วนร่วมใน สงครามแย่งชิงทรัพยากรของโลกและการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของดาวเคราะห์ ชื่อเรื่องของภาพยนตร์กล่าวถึงร่างกายของมนุษย์บนดาว ชาวนาวี่ ที่ควบคุมจากระยะไกลและดัดแปลงพันธุกรรมซึ่งตัวละครมนุษย์ในภาพยนตร์ใช้โต้ตอบกับชาวพื้นเมือง ผ่านตัวละครของแซม ซัลลี่ อดีตนาวิกโยธินสหรัฐพิการที่กลายเป็นตัวแปรสำคัญของสงครามครั้งนี้
อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ (2022)[แก้]
เรื่องราวเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องแรกกว่า 15 ปี วิถีแห่งสายน้ำมุ่งเน้นไปที่การกลับมาของ RDA ซึ่งกระตุ้นให้ครอบครัวของเจคสำรวจพื้นที่แห่งทะเลของดาวแพนดอร่า เพื่อพยายามปกป้องกันและกันให้ปลอดภัยและเผชิญหน้ากับภัยคุกคามที่พวกเขาคุ้นเคยและไม่คุ้นเคย คาเมรอนให้สัมภาษณ์ว่าในขณะที่ภาพยนตร์เรื่องแรกเกี่ยวกับ "ความกลัวและความพิศวง" ภาคต่อจะเน้นไปที่ "ตัวละคร" มากกว่า โดยได้มีการปรากฎตัวของตัวละครใหม่มากมายทั้งในฝั่งของมนุษย์และชาวนาวี่เผ่าใหม่อย่าง เม็ตคายีน่า
อวตาร: ผู้ถือครองเมล็ดพันธุ์ (2024)[แก้]
เรื่องราวเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องสองกว่าหลายสัปดาห์ ผู้ถือครองเมล็ดพันธุ์ มุ่งเน้นไปที่ความสูญเสีย ความรู้สึกผิดของครอบครัวซัลลี่ภายหลังความสูญเสียในเผ่าเม็ตคายีน่า และการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคใหม่อย่างเผ่าเถ้าถ่านที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพวกเขา นอกจากนี้ RDA ยังรุกเต็มกำลังเพื่อความหวังที่จะทำให้ดาวแพนดอร่ากลายเป็นอาณานิคมใหม่ของมวลมนุษย์ แคเมรอนให้สัมภาษณ์ว่าภาพยนตร์จะเน้นไปที่ "นาวี่ที่ไม่ดี และมนุษย์ที่ดี" ผ่านตัวละครใหม่และเก่าจากภาคที่แล้ว เนื่องจากความจริงภาพยนตร์เรื่องที่สองและสามเคยจะเป็นเรื่องเดียวกัน โดยจะถูกนำเสนอผ่านการบรรยายของ โล'อัค ซัลลี่ ลูกชายของเจคที่ได้ขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินเรื่องแทนพ่อของตน
ภาพยนตร์มีกำหนดฉายในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567[4] ซึ่งจะเป็นการครบรอบ 15 ปีของแฟรนไชส์
อวตาร: ผู้ควบโทลคูน (2026)[แก้]
ภาพยนตร์เรื่องที่สี่มีกำหนดฉายในวันที่ 18 ธันวาคม 2569 จอน แลนเดา โปรดิวเซอร์ได้กล่าวว่ากล่าวว่า เนื่องจากการแสดงภาคแรกเว้นเวลาไป 6 ปี ทำให้หนึ่งในสามองค์ของ อวตาร 4 ถ่ายทำไปแล้วเนื่องจากอายุของนักแสดงเด็ก มีการประกาศที่งาน D23 Expo เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2022 ว่าการถ่ายภาพหลักสำหรับ อวตาร 4 ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเรื่องราวจะมีระยะห่างของเรื่องราว 6 ปีหลังจากเหตุการณ์ในองค์แรกเพื่อให้นักแสดงที่มีฝีมือสามารถดำเนินเรื่องได้อย่างลงตัว
อวตาร: ภารกิจแห่งเอวา (2028)[แก้]
ภาพยนตร์เรื่องที่ห้าได้รับการประกาศแล้วและมีกำหนดฉายในวันที่ 22 ธันวาคม 2028 Jon Landau ระบุว่า อวตาร 5 จะดำเนินเรื่องบนโลก หลังจากถูกตัดออกในภาคแรก โดยที่ เนย์ทิรีจะได้มาเยือนที่โลก
อนาคต[แก้]
ในปี 2022 คาเมรอนระบุว่าเขามีแผนสำหรับภาพยนตร์เรื่องที่หกและเจ็ด และจะสร้างขึ้นหากมีความต้องการจากผู้ชม
นักแสดงและตัวละคร[แก้]
รายการตัวบ่งชี้
ส่วนนี้แสดงถึงตัวละครที่จะปรากฏตัวหรือปรากฏตัวแล้วในแฟรนไชน์
- ส่วนที่ว่างเป็นสีเทาเข้ม หมายถึง ตัวละครไม่ได้อยู่ในภาพยนตร์หรือการปรากฏของตัวละครไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ
- U หมายถึง ปรากฏตัวแต่ไม่มีชื่อในเครดิต
- Y หมายถึง วัยเด็กของตัวละคร
แลงและริบิชี่ เป็นนักแสดงเพียงสองคนที่ปรากฎตัวในทุกสื่อเคลื่อนไหวในแฟรนไชน์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์ห้าภาค และ วิดีโอเกมที่เป็นคนละเวอร์ชั่น แลงอยู่ในวิดีโอเกมฉบับคอนโซล ในขณะที่ริบิชี่ปรากฎตัวเพียงเสียงรับเชิญในเกมฉบับเครื่องพกพา
ตัวละคร | ภาพยนตร์ | วิดีโอเกม | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
อวตาร | อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ | อวตาร 3 ผู้ถือครองเมล็ดพันธุ์ | อวตาร 4 ผู้ควบโทลคูน | อวตาร 5 ภารกิจแห่งเอวา | อวตาร: เดอะเกม | |
2009 | 2022 | 2024 | 2026 | 2028 | 2009 | |
เจค ซัลลี | แซม เวิร์ธธิงตัน | |||||
เนย์ทิริ | โซอี ซัลดานา | |||||
พันเอก ไมลส์ ควอริทช์ | สตีเฟ่น แลง | |||||
ปาร์คเกอร์ เซลฟริดจ์ | จีโอวานนี่ รีบิซี | |||||
ดร. นอร์ม สเปลแมน | โจเอล เดวิด มัวร์ | |||||
ดร. แมกซ์ พาเทล | ไดลีป เรา | |||||
จ่าสิบโท ไลล์ เวนฟลีท | แมตต์ เจอรัลด์ | |||||
โมแอต | ซีซีเอช เพาเดอร์ | |||||
ดร. เกรซ ออกัสติน | ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ | |||||
ทรูดี ชาร์คอน | มิเชลล์ ราดรีเกซ | มิเชลล์ ราดรีเกซ | ||||
ยูทูแคน | เวส สตูดี้ | |||||
ทซูเทย์ | ลาซ อาลอนโซ่ | |||||
คิรี | ซิกัวร์นีย์ วีเวอร์ | |||||
โรนัล | เคต วินสเล็ต | |||||
โตโนวารี | คลิฟฟ์ เคอร์ติส | |||||
นายพล ฟรานเซส อาร์ดมอร์ | อีดี ฟัลโก | |||||
กัปตันมิก สกอร์สบี้ | เบรนแดน คาเวลล์ | |||||
ดร. เอียน การ์วิน | เจเมน เคลเมนต์ | |||||
ไมลส์ "สไปเดอร์" ซอคคอร์โร | แจ็ค แชมเปียน | |||||
เนเทยัม | เจมี่ แฟลตเตอร์ส | |||||
โอลิเวอร์ เดวิด มัวร์Y | ||||||
โล'อัค | ไบรอัน ดอลตัน | บริเตน ดัลตัน | ||||
โคลอี้ โคลแมนY | ||||||
ทู้คทิรี "ทู้ค" | ทรินิตี้ บลิส | |||||
ศีเรยา "เรยา" | เบลีย์ แบส | |||||
อาวนุง | ฟิลิป เกลโจ | |||||
ร็อตโซ่ | ดูแอน วิชแมน-อีวานส์ | |||||
ล่ามของเม็ตคายีน่า | ซี เจ โจนส์U | |||||
ชาร์ลส์ สตริงเกอร์ | ฟีล บราวน์ | |||||
ดร. แคริน่า โมค | มิเชล โหย่ว | |||||
วารัง | อูน่า แชปลิน | |||||
เปย์ลักษณ์ | เดวิด ธิวลิส |
ผลตอบรับ[แก้]
การทำรายได้[แก้]
ภาพยนตร์ภาคแรก อวตาร ทำเงินไป 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดทั่วโลก ภาพยนตร์ภาคที่สอง วิถีแห่งสายน้ำ ทำเงินไปแล้ว 2.117 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินเป็นอันดับที่ 4 ของโลก
ภาพยนตร์ | วันออกฉาย | รายได้รวม | อันดับบ็อกซ์ออฟฟิศ | ทุนสร้าง | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อเมริกาเหนือ | นอกอเมริกา | ทั่วโลก | อเมริกาเหนือ | ทั่วโลก | |||
อวตาร | 18 ธันวาคม 2009 | $785,221,649 | $2,137,696,265 | $2,922,917,914 | 4 | 1 | 237 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ | 16 ธันวาคม 2022 | $620,580,771 | $1,496,000,000 | $2,116,580,771 | 23 | 10 | 350-460 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
รายได้รวม | $1,405,802,420 | $3,633,696,265 | $5,039,498,685 | 21 | 13 | $1.337–1.447 billion |
คำวิจารณ์[แก้]
Film | Critical | Public | ||
---|---|---|---|---|
Rotten Tomatoes | Metacritic | CinemaScore | PostTrak | |
อวตาร | 82% (319 บทวิจารณ์)[5] | 83 (35 บทวิจารณ์)[6] | A[7] | — |
อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ | 77% (395 บทวิจารณ์)[8] | 67 (68 บทวิจารณ์)[9] | A[10] | 91%[10] |
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
- ภาพยนตร์ภาคแรก อวตาร ชนะรางวัล Academy Awards ในสาขา Art Direction, Cinematography, และ Visual Effects, ขณะมีสาขาที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ได้แก่ Picture, Director, Film Editing, Original Score, Sound Editing, และ Sound Mixing.[11]
- ภาพยนตร์อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ ได้รับการเข้าชิงใน Academy Awards สาขา Art Direction, และ Visual Effects, Picture, Director
Category | ||
---|---|---|
82nd Academy Awards | 95th Academy Awards | |
Avatar | The Way of Water | |
Picture | เสนอชื่อเข้าชิง | รอผล |
Director | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Art Direction | ชนะ | รอผล |
Cinematography | ชนะ | |
Editing | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Score | เสนอชื่อเข้าชิง | |
Sound | เสนอชื่อเข้าชิง | รอผล |
Sound Editing | เสนอชื่อเข้าชิง | ตัดสิทธิ์ |
Visual Effects | ชนะ | รอผล |
เพลงประกอบ[แก้]
- อวตาร: เพลงประกอบภาพยนตร์ ประพันธ์โดย เจมส์ ฮอร์เนอร์ และวางจำหน่าย วันที่ 15 ธันวาคม 2009 โดย Atlantic Records และ Fox Music.
- อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ (เพลงประกอบ) ประพันธ์โดย ไซมอน แฟรงเลน และวางจำหน่าย วันที่ 15 ธันวาคม 2022 โดย Hollywood Records.
ซิงเกิลโปรโมท[แก้]
- "ไอซียู (ธีมฟรอมอวตาร) - ฉันเห็นเธอ (เพลงประกอบอวตาร) ขับร้องโดย เลโอนา ลูวิส
- "นอตติงอิสลอสต์ (ยูกิฟมีสเตรนจ์) - ไม่จางหาย (เธอมอบพลัง)" ขับร้องโดย เดอะวีกเอนด์
สื่ออื่น ๆ[แก้]
วิดีโอเกม[แก้]
ชื่อ | รายละเอียด |
---|---|
วันที่เปิดตัวครั้งแรก:[12][13]
|
ปีที่เปิดตัวโดยเครื่องเล่นเกม: 2009 – ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, นินเท็นโด ดีเอส, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล, วี (เครื่องเล่นเกม), เอกซ์บอกซ์ 360 , ไอโฟน 2010 – ไอแพด, แอนดรอยด์
|
หมายเหตุ:
| |
วันที่เปิดตัวครั้งแรก:[14][15]
|
ปีที่เปิดตัวโดยเครื่องเล่นเกม: 2020 – ไอโอเอส, แอนดรอยด์ |
หมายเหตุ:
| |
วันที่เปิดตัวครั้งแรก:[17]
|
ปีที่เปิดตัวโดยเครื่องเล่นเกม: 2023 – ไอโอเอส, แอนดรอยด์ |
หมายเหตุ:
| |
วันที่เปิดตัวครั้งแรก:[18][19]
|
ปีที่เปิดตัวโดยเครื่องเล่นเกม: 2023/2024 – ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 5, Xbox Series X/S, สตาเดีย, และ Amazon Luna. |
หมายเหตุ:
|
นิยาย[แก้]
หลังจากการฉายของอวตาร เจมส์ แคเมรอน ตั้งใจจะเขียนนิยายภาพที่สร้างจากภาพยนตร์ "ผมอยากบอกเล่าเรื่องราวของหนัง" แต่ มีหลายอย่างที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องราวมากมายที่เราไม่มีเวลาจะอธิบาย"[20]
ในปี 2013,แผนนี้ถูกแทนที่ด้วยการประกาศนวนิยายใหม่สี่เล่มที่ตั้งขึ้นใน "จักรวาลขยายอวตาร" ซึ่งเขียนโดยสตีเวน โกลด์ หนังสือมีกำหนดจัดพิมพ์โดย Penguin Random House แม้ว่าตั้งแต่ปี 2017 จะไม่มีการอัปเดตชุดหนังสือที่วางแผนไว้ แต่ใน กรกฎาคม 2022 นิยายภาพเรื่องแรกจากแฟรนไชน์ก็ได้รับการประกาศ อวตาร: เหนือนภา (Avatar: The High Ground)
ชื่อ | วันจำหน่าย | เหมาะสำหรับ | ประเภทงาน | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
อวตาร: เหนือนภา (Avatar: The High Ground) | 6 ธันวาคม, 2022 – 10 มกราคม 2023 | ผู้อ่านทุกวัย | นวนิยายภาพ | [21][22][23][24][25][26] |
|
หนังสือ[แก้]
งานศิลป์แห่งอวตาร หนังสือเกี่ยวกับงานสร้างภาพยนตร์ วางจำหน่าย วันที่ 30 พฤศจิกายน 2009 โดย Abrams Books.
The World of Avatar: การสำรวจด้วยภาพ เป็นหนังสือที่เฉลิมฉลอง สำรวจ และอธิบายถึงโลกอันน่าอัศจรรย์ของแพนดอรา วางจำหน่าย วันที่ 31 พฤษภาคม 2022, โดย DK Books ลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายในประเทศไทยโดย สำนักพิมพ์: วารา
งานศิลป์แห่งอวตาร วิถีแห่งสายน้ำ พาสำรวจเบื้องหลังสุดพิเศษในการสร้างและกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ในภาพยนตร์ อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ วางจำหน่าย วันที่ 16 ธันวาคม 2022 โดย DK Books
อวตาร วิถีแห่งสายน้ำ พจนานุกรมภาพถ่าย คือ หนังสือภาพที่แสดงตัวละคร ยานพาหนะ อาวุธ สถานที่ และอื่น ๆ จากในภาพยนตร์ อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ พร้อมทั้งรายละเอียดสุดพิเศษที่น่าตื่นตา วางจำหน่าย วันที่ 16 ธันวาคม โดย DK Books
หนังสือการ์ตูน[แก้]
ตุลาคม 2015 Dark Horse Comics ได้เซ็นสัญญา 10 ปี เพื่อเป็นหุ้นส่วนร่วมผลิตหนังสือการ์ตูน อวตาร[28]
6 พฤษภาคม 2017 Dark Horse Comics ได้ตีพิมพ์ เรื่องสั้น วันหนังสือการ์ตูนฟรี ชื่อว่า FCBD 2017 เจมส์ แคเมรอน อวตาร/ Briggs Land, ที่รวมเรื้องสั้นที่อยู่ในโลกของภาพยนตร์อวตารที่มีชื่อว่า "ภราดา" (Avatar: Brothers).[29][30] จากนั้น เดือนมกราคมจนถึงสิงหาคม ปี 2019 Dark Horse ได้ตีพิมพ์หนังสือมินิซีรีส์ 6 ฉบับ "อวตาร: วิถีทซูเทย์ (Avatar: Tsu'tey's Path).[31][32][33][34][35][36][30] วิถีทซูเทย์ ได้ถูกรวมเล่มในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2019 พร้อมเรื่องสั้น "ภราดา" ทั้งสองเรื่องนี้บอกเล่าเหตุการณ์ในภาพยนตร์ แต่เป็นมุมมองของตัวละครนอกเหนือจากเจค ซัลลี่ เช่น ทซูเทย์ คู่หมั้นของเนทิรีที่พยายามหาหนทางรับมือกับความสูญเสียหลังการปรากฏตัวของเจค ซัลลี่ [30]
6 มกราคม 2017 Dark Horse Comics ได้ตีพิมพ์ มินิซีรีส์ 4 ฉบับ อวตาร: มหันตภัยครั้งใหม่ (Avatar: The Next Shadow) ที่บอกเล่าเรื่องราวต่อจากภาพยนตร์อวตารภาคแรก เล่าเหตุการณ์สองอาทิตย์หลังจากภาพยนตร์ และต่อมา 11 พฤษภาคม 2022 อวตาร: ยักเยื้องหรือมรณา (Avatar: Adapt or Die) มินิซีรีส์ 6 ฉบับที่ถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เดียวกันได้ตีพิมพ์ บอกเล่าเรื่องราวที่นำไปสู่ภาพยนตร์อวตาร ผ่านตัวละคร ดร.เกรซ ออกัสตินที่พยายามาสร้างสะพานแห่งสันติกับเผ่าโอมาติคาย่า
ฉบับ | บทเรื่อง | วันจำหน่าย | เรื่อง | ภาพ | ลงสี | หน้าปก | รวมเล่ม |
---|---|---|---|---|---|---|---|
FCBD 2017 | "ภราดา" (Brothers) | 6 พฤษภาคม 2017 | Sherri L. Smith | Doug Wheatley | Wes Dzioba | Dave Wilkins | อวตาร: วิถีทซูเทย์ (Avatar: Tsu'tey's Path) RELEASED: 27 พฤศจิกายน 2019ISBN 9781506706702 |
#1 | "วิถีทซูเทย์" (Tsu'tey's Path) | 16 มกราคม 2019 | Sherri L. Smith | Jan Duursema (pencils)
Dan Parson (inks) |
Wes Dzioba | Doug Wheatley
Shea Standefer (หน้าปกอื่น ๆ) | |
#2 | 13 กุมภาพันธ์ 2019 | ||||||
#3 | 20 มีนาคม 2019 | ||||||
#4 | 1 พฤษภาคม 2019 | ||||||
#5 | 26 มิถุนายน 2019 | ||||||
#6 | 21สิงหาคม 2019 | ||||||
#1 | "มหันตภัยครั้งใหม่" (The Next Shadow) | 6 มกราคม 2021 | Jeremy Barlow | Josh Hood | Wes Dzioba | Guilherme Balbi
ร่วมกับ Wes Dzioba |
อวตาร: มหันตภัยครั้งใหม่ (Avatar: The Next Shadow) RELEASED: 11 สิงหาคม 2021
ISBN 9781506722429 |
#2 | 3 กุมภาพันธ์ 2021 | ||||||
#3 | 3 มีนาคม 2021 | ||||||
#4 | 7 เมษายน 2021 | ||||||
#1 | "ยักเยื้องหรือมรณา" (Adapt or Die) | 4 พฤษภาคม 2022 | Corinna Bechko | Beni Lobel | Mark Molchan | Wes Dzioba | อวตาร: ยักเยื้องหรือมรณา (Avatar: Adapt or Die) RELEASED: 23 กุมภาพันธ์ 2023ISBN 9781506730714 |
#2 | 1 มิถุนายน 2022 | ||||||
#3 | 6 กรกฎาคม 2022 | ||||||
#4 | 1 สิงหาคม 2022 | ||||||
#5 | 9 กันยายน 2022 | ||||||
#6 | 5 ตุลาคม 2022 |
โชว์สด[แก้]
โทรุก เดอะ เฟิสต์ ไฟลท์ เป็นการแสดงโชว์ที่สร้างจาก คณะโชว์เซิร์ค ดู โซเลย์ของมอนทรีอัลที่เปิดแสดงระหว่าง ธันวาคม 2015 และ มิถุนายน 2019 สร้างจาก ภาพยนตร์อวตาร โดยตั้งเรื่องราวที่อดีตของแพนดอราที่มีคำทำนายเกี่ยวกับมหันตภัยร้ายที่หวังคุกคามต้นไม้แห่งจิตวิญญาณและภารกิจเพื่อโทเท็มในเผ่าที่ต่างกันมากมาย ผู้ชมสามารถดาวน์โหลดแอพเพื่อที่จะได้มีส่วนรวมในการแสดงโชว์ ในวันที่ 18 มกราคม มันถูกประกาศในเฟซบุ๊คว่า การถ่ายทำสำหรับดีวีดได้เสร็จสิ้นและกำลังอยู่ในขั้นของการตัดต่อ
นิทรรศการ[แก้]
อวตาร: นิทรรศการคือนิทรรศการท่องเที่ยวที่สร้างจากภาพยนตร์ เปิดให้เข้าชมในเมือง เฉิงตู ประเทศจีน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2021 และปิดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2021.[37][38] นิทรรศการกำลังจะมีทัวร์รอบเอเชียในอนาคตแต่ถูกหยุดลง[39]
เครื่องเล่นในสวนสนุก[แก้]
ในปี 2011 แคเมรอน, ไลต์สตอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ และ ทเวนตีเฟิสต์เซนจูรีฟอกซ์ได้เข้าร่วมข้อตกลงพิเศษกับวอลท์ ดิสนีย์ คอมพานี่ ให้จัดเครื่องเล่นใน ดิสนีย์พาร์ก, เอ็กซ์พีเรียนซ์แอนด์โปรดักส์ ทั่วทุกมุมโลก, รวมไปถึงตีมหลักสำหรับ ดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม ใน Lake Buena Vista, Florida. พื้นที่ดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ แพนดอรา – เดอะเวิลด์ออฟอวตาร, เริ่มเปิดให้เข้าชม 27 พฤษภาคม 2017.[40][41]
ตีมหลักถูกตั้งให้อยู่ในช่วงอนาคตหลายรุ่นหลังภาพยนตร์และประกอบไปด้วยสองเครื่องเล่น Avatar Flight of Passage และ Na'vi River Journey.
ข้อพิจารณาด้านวัฒนธรรม[แก้]
กลุ่มชนพื้นเมืองบางกลุ่มทั่วโลกรวมถึงชนพื้นเมืองอเมริกันบางคนเรียกร้องให้คว่ำบาตรแฟรนไชส์เนื่องจากการจัดการวัฒนธรรมพื้นเมืองและการจัดสรรวัฒนธรรมแบบ "ไม่เข้าใจ" ภาพยนตร์อวตาร ทั้งสองเรื่องได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการคัดเลือกนักแสดงผิวขาวและไม่ใช่ชนพื้นเมืองหลายคนในบทบาทของคนพื้นเมืองต่างดาว แคเมรอนกล่าวว่าเขาพยายามหลีกหนีจากเรื่องเล่าของผู้กอบกู้ผิวขาว[42][43][44] ภาพยนตร์ชุดนี้ถูกวิจารณ์ว่า "ทำให้การล่าอาณานิคมเป็นไปอย่างโรแมนติก" และนำเสนอภาพคนพื้นเมืองที่เป็นแบบเหมารวมตามมุมมองเดี่ยว.[45]
แคเมรอนยังเผชิญกับคำวิจารณ์สำหรับความคิดเห็นที่เกิดขึ้นหลังจากภาพยนตร์เรื่องแรกออกฉาย[46][47][48] ในปี 2010 แคเมรอนและนักแสดง Avatar สนับสนุนชาว Xingu ในการต่อต้านการสร้างเขื่อนเบโลมอนเต ประเทศบราซิล[49] ในปี 2012 คาเมรอนกล่าวว่า อวตาร เป็นการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของอเมริกาเหนือและใต้ในยุคอาณานิคมตอนต้น “ด้วยความขัดแย้งและการนองเลือดระหว่างผู้รุกรานทางทหารจากยุโรปและชนพื้นเมือง”[50][51]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Avatar producer teases the four sequels: "The connected story arc creates an even larger epic saga"". 8 December 2021.
- ↑ "Josh Friedman Avatar 4". November 2, 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Ferguson, Sarah (September 27, 2022). "Why James Cameron may not direct the final 'Avatar' movie". 7.30. ABC News (Australia). สืบค้นเมื่อ September 28, 2022.
- ↑ McNary, Dave (April 22, 2017). "'Avatar' Sequel Release Dates Set, Starting in December 2020". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2017. สืบค้นเมื่อ July 31, 2017.
- ↑ "Avatar". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "Avatar". Metacritic. Red Ventures. สืบค้นเมื่อ June 18, 2018.
- ↑ D'Alessandro, Anthony (December 18, 2022). "Avatar: The Way Of Water Opens To $134M; Why Pic's Box Office Fate Will Be Determined Through The Holidays – Sunday AM Update". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2022. สืบค้นเมื่อ December 18, 2022.
- ↑ "Avatar: The Way of Water (2022)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022.
- ↑ "Avatar: The Way of Water Reviews". Metacritic. Red Ventures. สืบค้นเมื่อ December 22, 2022.
- ↑ 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCinemaScore
- ↑ "Oscar winners 2010: full list". the Guardian. March 8, 2010. สืบค้นเมื่อ December 27, 2022.
- ↑ ยูบิซอฟต์ (July 24, 2007). "ยูบิซอฟต์ และ ฟ็อกซ์ทีม ฟอร์ อวตาร เกม". Comingsoon.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2007. สืบค้นเมื่อ July 25, 2007.
- ↑ Miller, Ross (July 24, 2007). "Miller, Ross; "James Cameron selects Ubisoft to adapt Avatar"; joystiq.com; July 24, 2007". Joystiq.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ June 4, 2009.
- ↑ "Scopely acquires Disney's FoxNext Games, maker of Marvel Strike Force". VentureBeat. January 22, 2020.
- ↑ "Avatar: Pandora Rising". Scopely. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ "AVATAR Pandora Rising Shutting Down".
- ↑ "Avatar Reckoning". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ A New 'Avatar' Video Game Was Announced and People Have Mean Jokes
- ↑ "Avatar Frontiers of Pandora". Ubisoft. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ Flood, Alison (February 18, 2010). "James Cameron to write novel based on Avatar". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 8, 2014. สืบค้นเมื่อ March 8, 2021.
- ↑ "Avatar: The High Ground Volume 1". Barnes & Noble. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ "Avatar: The High Ground Volume 2". Barnes & Noble. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ "Avatar: The High Ground Volume 3 (Avatar, 3)". Amazon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ "Avatar: The High Ground Volume 1". Penguin Random House. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2022. สืบค้นเมื่อ September 24, 2022.
- ↑ "Avatar: The High Ground Volume 2". Penguin Random House. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2022. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022.
- ↑ "Avatar: The High Ground Volume 3". Penguin Random House. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2022. สืบค้นเมื่อ December 26, 2022.
- ↑ "AVATAR: THE HIGH GROUND VOLUME 1 HC".
- ↑ "NYCC 2015: James Cameron's Avatar Comes to Dark Horse Comics". October 9, 2015.
- ↑ "FREE COMIC BOOK DAY 2017: JAMES CAMERON'S AVATAR/ BRIGGS LAND". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 "AVATAR: TSU'TEY'S PATH TPB". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: TSU'TEY'S PATH #1". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: TSU'TEY'S PATH #2". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: TSU'TEY'S PATH #3". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: TSU'TEY'S PATH #4". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: TSU'TEY'S PATH #5". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: TSU'TEY'S PATH #6". Dark Horse Comics. Dark Horse Comics. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ "AVATAR: EXPLORE PANDORA Welcomes Guests In Chengdu". April 30, 2021. สืบค้นเมื่อ February 2, 2022.
- ↑ "Avatar the Exhibition". 20th Century Studios. สืบค้นเมื่อ October 11, 2022.
- ↑ "Exclusive: The Walt Disney Company and Lightstorm Entertainment on 'Avatar 2' Collaborations and Consumer Products". March 22, 2022. สืบค้นเมื่อ March 28, 2022.
- ↑ Cody, Anthony (September 22, 2011). "Disney to build Avatar attractions at its theme parks". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2022. สืบค้นเมื่อ September 23, 2011.
- ↑ Levy, Dani (February 7, 2017). "Disney's 'Avatar'-Themed Land Opening Date Revealed, Star Wars Land Coming in 2019". Variety. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
- ↑ "James Cameron's old comments prompt Native American boycott of new 'Avatar' sequel". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ ""Avatar" faces calls for boycott over accusations of racism". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "People are boycotting Avatar: The Way of Water over 'cultural appropriation'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-23. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ Magazine, Smithsonian; Feldman, Ella. "Indigenous Activists Criticize 'Avatar' Sequel". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "James Cameron's old comments prompt Native American boycott of new 'Avatar' sequel". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ ""Avatar" faces calls for boycott over accusations of racism". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "People are boycotting Avatar: The Way of Water over 'cultural appropriation'". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-23. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "Avatar director James Cameron joins Amazon tribe's fight to halt giant dam". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ Acuna, Kirsten. "James Cameron Swears He Didn't Rip Off The Idea For 'Avatar'". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาพยนตร์ |
- CS1 maint: bot: original URL status unknown
- ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2565
- ภาพยนตร์ที่กำกับโดย เจมส์ คาเมรอน
- ภาพยนตร์โดยทเวนตีธ์เซนจูรีฟอกซ์
- ภาพยนตร์อเมริกัน 3 มิติ
- ภาพยนตร์ไซไฟ
- ภาพยนตร์แฟนตาซี
- ภาพยนตร์อเมริกัน
- ภาพยนตร์ผจญภัยในอวกาศ
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐฮาวาย
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในรัฐแคลิฟอร์เนีย
- ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศนิวซีแลนด์
- ภาพยนตร์ไอแมกซ์
- บทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์