อมรนาถมนเทียร

พิกัด: 34°12′54″N 75°30′03″E / 34.2149°N 75.5008°E / 34.2149; 75.5008
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ้ำอมรนาถ
ศิวลึงค์น้ำแข็งแห่งอมรนาถ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตอำเภออนันตนัค
เทพพระศิวะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งปหัลคัม
รัฐชัมมูและกัศมีร์
ประเทศประเทศอินเดีย
อมรนาถมนเทียรตั้งอยู่ในชัมมูและกัศมีร์
อมรนาถมนเทียร
ที่ตั้งในชัมมูและกัศมีร์
อมรนาถมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อมรนาถมนเทียร
อมรนาถมนเทียร (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์34°12′54″N 75°30′03″E / 34.2149°N 75.5008°E / 34.2149; 75.5008
เว็บไซต์
shriamarnathjishrine.com

ถ้ำอมรนาถ หรือ อมรนาถมนเทียร เป็นโบสถ์พราหมณ์ในชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย ถ้ำนี้ตั้งแยู่ที่ความสูง 3,888 m (12,756 ft) จากน้ำทะเล[1] ตั้งอยู่ประมาณ 141 km (88 mi) จากศรีนคร เมืองหลวงฤดูร้อนของชัมมูและกัศมีร์ ผ่านทางเมืองปหัลคัม มนเทียรนี้มีความสำคัญมากในศาสนาฮินดู[2] ที่นี่เป็นหนึ่งในมนเทียรที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของฮินดู[3] อมรนาถมนเทียรเป็นหนึ่งใน 51 ศักติปีฐที่บูชาร่างของพระแม่สตีที่ร่วงหล่นลงมาบนโลก

ภายในถ้ำอมรนาถที่ความสูงกว่า 40 m (130 ft) พบหินงอกที่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำที่หยดลงมาจากเพดานถ้ำลงไปบนพื้นดินจนในที่สุดได้ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเป็นหินงอกน้ำแข็งจากพื้นถ้ำ[4] ชาวฮินดูนับถือบูชาหินงอกนี้ว่าเป็นศิวลึงค์ ที่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ[5] ศิวลึงค์จะขยายขนาดขึ้นตลอดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมที่ซึ่งหิมะบนเทือกเขาหิมาลัยเหนือถ้ำเริ่มละลายและหยดลงมาแข็งตัวเพิ่มขึ้น[1] ตามความเชื่อในศาสนาเชื่อว่าศิวลึงค์จะโตขึ้นและหดลงตามจันทรคติ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ต่อความเชื่อนี้[6]

ประวัติ[แก้]

หนังสือราชตะรังคีนี (Book VII v.183) ได้กล่าวถึงอมรนาถ โดยเชื่อว่าพระราชิตีสุริยมาตีในคริสตศตวรรษที่ 11 ได้ถวายตรีศูล พนลึงค์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ แก่มณเฑียรแห่งนี้[7] หนังสือราชวลีปาตากาซึ่งเริ่มเขียนโดยพระยาภัทธะได้อ้างถึงการแสวงบุญที่ถ้ำแห่งนี้ นอกเหนือจากนี้ ยังมีตำราโบราณอีกหลายเล่มที่กล่าวถึงการแสวงบุญ ณ ที่แห่งนี้

การค้นพบถ้ำศักดิ์สิทธิ์[แก้]

François Bernier แพทย์ชาวฝรั่งเศสที่ติดตามจักรพรรดิออรังเซบระหว่างการเยี่ยมกัศมีร์ใน ค.ศ. 1663 ได้เขียนหนังสือ "เดินทางในจักรวรรดิโมกุล" เขากล่าวว่า ระหว่างมีเดินทางเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ในกัศมีร์ เขาได้ "เดินทางแสวงบุญไปยังถ้ำที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ในสองวันหลังจากออกจาก Sangsafed" "ถ้ำ" ที่เขากล่าวถึง คือถ้ำอมรนาถ โดยบรรณาธิการหนังสือฉบับภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ครั้งสอง แว็งซองต์ เอ. สมิท ได้ไขข้อสงสัยนี้ให้กระจ่าง เขาเขียนว่า "ถ้ำที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์นี้ ก็คือถ้ำอมรนาถ ซึ่งไปหินงอกน้ำแข็งที่ก่อตัวจากน้ำที่หยดลงมา หินงอกนี้ได้รับการบูชาจากชาวฮินดูจำนวนมากว่าเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ"[8]

การระบาดทั่วของโรคโควิด-19[แก้]

วันที่ 22 เมษายน 2020 คณะกรรมการมณเทียรศรีอมรนาถประกาศหยุดการแสวงบุญชั่วคราว เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ตาม มีการประกาศฉบับใหม่ที่ยกเลิกการระงับการแสวงบุญนี้[9] ผู้ว่าราชการ Lieutenant G. C. Murmu กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งสุดท้ายขึ้นกับการพัฒนาในอนาคตที่เกี่ยวกับการระบาด[10] ในอีกแง่มุมของการระบาดนี้เอง วันที่ 4 กรกฎาคม รัฐบาลดินแดนสหภาพอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเพียง 500 คน สามารถเดินทางทางถนนเพื่อมาแสวงบุญ ณ มณเทียรแห่งนี้ได้ ทุกคนที่เดินทางเข้ามาในดินแดนสหภาพชัมมูและกัศมีร์แห่งนี้ จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยจะต้องกักตัวภายในสถานที่พักจนกว่าจะพบผลตรวจเป็นลบ[11] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 กรกฎาคม คณะกรรมการมณเทียรศรีอมรนาถสั่งระงับการแสวงบุญ เนื่องจากการระบาดที่หนักขึ้น หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อในดินแดนสหภาพแห่งนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Amarnathji Yatra - a journey into faith". Official Web Site of Jammu and Kashmir Tourism. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2006. สืบค้นเมื่อ 15 June 2006.
  2. "New shrine on Amarnath route". The Hindu. Chennai, India. 30 May 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2007. สืบค้นเมื่อ 15 November 2006.
  3. "The pilgrimage to Amarnath". BBC News. 6 August 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2012. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
  4. "Stalactites and Stalagmites - Cave, Water, Caves, and Growth - JRank Articles". Science.jrank.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-04-15.
  5. "lingam". Encyclopædia Britannica. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
  6. Ortner, Jon, "On the road again" เก็บถาวร 17 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. PDN Gallery.
  7. "Amarnath Yatra: In Search Of Salvation". Shriamarnathyatra.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2013.
  8. Mohini Qasba Raina (2013). Kashur The Kashmiri Speaking People. Partridge Publishing Singapore. p. 327. ISBN 978-1-4828-9945-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
  9. "Coronavirus outbreak: Uncertainty over Amarnath yatra as SASB release announcing decision to cancel pilgrimage withdrawn". 22 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
  10. "Decision on Amarnath Yatra after review of Covid-19 situation: J&K LG Murmu". Business Standard India. 26 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
  11. "Amarnath Yatra 2020: J&K administration allows 500 pilgrims per day". India Today. 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
  12. "Amarnath Yatra cancelled due to spike in coronavirus infections". Hindustan Times. 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 22 July 2020.