สิงโตแห่งลูเซิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อนุสาวรีย์สิงโต)
สิงโตแห่งลูเซิร์น

สิงโตแห่งลูเซิร์น (อังกฤษ: Lion of Lucerne) หรือที่เรียกว่า เลอเวินเด็งค์มาล (เยอรมัน: Löwendenkmal) เป็นประติมากรรมแกะสลักหินผา ตั้งอยู่ใจกลางนครลูเซิร์น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ รูปสลักสิงโตที่ใกล้ตายถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนระลึกถึงองครักษ์สวิสที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์คณะปฏิวัติบุกพระราชวังตุยเลอรีในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1792 อนุสาวรีย์นี้ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ มีผู้มากเยี่ยมชมมากกว่าล้านคนในแต่ละปี อนุสาวรีย์แห่งนี้ได้รับการคุ้มครองเป็นให้เป็นมรดกแห่งชาติสวิส

ราชสำนักฝรั่งเศสได้ว่าจ้างหน่วยทหารสวิสราว 1,200 นายได้ทำหน้าองค์รักษ์ของราชสำนัก ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติฝรั่งเศสเกิดขึ้น กลุ่มผู้ปฏิวัติที่โกรธแค้นได้บุกและยึดพระราชวังตุยเลอรีในกรุงปารีส แม้สมาชิกของราชวงศ์ได้หลบหนีออกจากวังไปแล้วก่อนที่คณะปฏิวัติจะมาถึง แต่เหล่าทหารสวิสราว 1,000 นายก็ยังคงยืนหยัดทำหน้าที่ของตนในการปกป้องพระราชวัง ทหารสวิสได้อยู่ต่อสู้กับฝูงชนเพื่อปกป้องพระราชวังที่ไร้ผู้คน ในการต่อสู้ครั้งนี้มีทหารมีเสียชีวิตประมาณ 760 นาย นอกจากนี้ ยังมีทหารสวิสอีกส่วนหนึ่งที่เสียชีวิตระหว่างคุ้มกันพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไปลี้ภัยยังอาคารสมัชชาแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

การสร้างอนุสาวรีย์นี้เป็นความคิดริเริ่มของทหารนายหนึ่งคาร์ล  ไฟเฟอร์ ฟอน อัลติสโฮเฟน   ซึ่งขณะนั้นประจำการที่กรุงปารีสและได้เดินทางมาพักผ่อนในฤดูร้อนที่เมืองลูเซิร์นในปี ค.ศ.1792 ชื่อ เขาต้องการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและระลึกถึงเพื่อนทหาร  เขาจึงเริ่มเรี่ยไรเงินในปี ค.ศ. 1818 ชาวสวิสทั้งในและนอกประเทศต่างพากันบริจาคเงินสมทบทุนรวมทั้งสมเด็จพระจักรพรรดิของรัสเซีย   พระราชาแห่งปรัสเซีย  สมาชิกราชวงศ์แห่งฝรั่งเศสเช่นเดียวกับ เจ้าชายคริสเตียน  เฟเดอริคแห่งเดนมาร์ก (ต่อมาเป็นพระราชาคริสเตียนที่ 8)

ในส่วนของที่ตั้งอนุสาวรีย์ไฟเฟอร์ได้เสนอให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้ที่กำแพงหินนอกเมืองลูเซิร์น  อย่างไรก็ตามได้มีการออกแบบอนุสาวรีย์หลายครั้งแต่ไม่เป็นตามความต้องการ ไฟเฟอร์จึงได้ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนของเขา วินเซนต์  รึททิมันซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่วินเซนต์พำนักอยู่ที่กรุงโรมและเขาได้ขอให้ช่างสลักชื่อดังชาวเดนมาร์กอย่าง  เบอร์เทล ธอร์วาเซ่นมาออกแบบอนุสาวรีย์    ในปีค.ศ. 1818 เขาได้นำเสนอแบบร่าง   ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1819 เขาได้จัดแสดงแบบของอนุสาวรีย์ 2 แบบที่ห้องทำงานของเขา แบบแรกมีสิงโตอย่างเดียว และแบบที่สองมีสิงโตอยู่ในถ้ำ

ไฮน์ริช  เคลเลอร์ยืนกรานว่าจะต้องมีการสร้างอนุสาวรีย์ตามแผนเดิมของไฟเฟอร์ และธอร์วาลเซ่นก็เห็นด้วยกับแผนที่ว่านั่นคือควรจะสร้างสิงโตอย่างเดียวโดยไม่มีถ้ำ   อย่างไรก็ตามธอร์วาเซ่นไม่เห็นด้วยกับความคิดของไฟเฟอร์ที่จะให้มีการสร้างรูปสลักสิงโตที่ตายขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เศร้าสลดที่เกิดขึ้นที่ปารีส  แต่เขาคิดว่าควรจะสร้างรูปสลักสิงโตที่กำลังจะตายดีกว่า เพื่อแสดงให้เห็นว่า “สิงโตไม่ได้ตาย แต่สิงโตจากไปอย่างสงบ” ในที่สุดได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นตามแบบของธอร์วาลเซ่นและในตอนแรกภายใต้การควบคุมของช่างสลักที่ชื่อ อัว พานคราซ  เอกเกนชวิลเลอร์ (ซึ่งต่อมาไม่นาน ก็ประสบอุบัติเหตุ)และสุดท้าย ชาวคอนสตานที่ชื่อ  ลูคัส  อาฮอร์นเป็นผู้สร้างเสร็จที่บ่อทรายเก่าเมืองลูเซิร์น   วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1821 ซึ่งครบรอบ 29ปีพอดีหลังจากเหตุการณ์ลุกฮือที่พระราชวังวังทุยเลอเรียน  ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์อย่างเป็นทางการ

มีการสลักคติพจน์ภาษาละตินไว้เหนือรูปสลักสิงโตว่า Helvetiorum Fidei ac Virtuti ซึ่งมีความหมายว่า ศรัทธาแลเกียรติคุณของสวิส

นอกจากนี้มีการสลักรายชื่อของทหารที่เสียชีวิต 26 นาย และรายชื่อทหาร 16 นายที่ได้รับการช่วยเหลือหรือรอดชีวิต  จำนวนการเสียชีวิตของทหารรักษาการสวิสในแต่ละเหตุการณ์ มีทหารเสียชีวิตประมาณ 760 นายและรอดชีวิต 350 นาย

งานสลักที่เป็นงานเลียนแบบอนุสาวรีย์สิงโต   ซึ่งในตอนนั้นศิลปินได้อ้างว่าเป็นผลงานของตนเองที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร  ก็คืออนุสาวรีย์สิงโตสมาพันธรัฐอเมริกา ที่สุสานโอ๊คแลนด์เมืองแอตแลนตา   รัฐจอร์เจีย

บรรณานุกรม[แก้]

  • Andreas Bürgi: Eine touristische Bilderfabrik. Kommerz, Vergnügen und Belehrung am Luzerner Löwenplatz, 1850–1914. Chronos Verlag, Zürich 2016, ISBN 978-3-0340-1296-6.
  • Michael Riedler: Idyllisches Luzern. Reuss, Luzern 1987, ISBN 3-907596-01-3.
  • Wolfgang Friedrich von Mülinen: . 1. Auflage. Salzwasser, Paderborn 2012, ISBN 978-3-86382-868-4, S. 65–67 etc. (eingeschränkte Vorschau in der Google-Buchsuche).

อ้างอิง[แก้]

  1. Luzern Tourismus AG: Der sterbende Löwe von Luzern. Abgerufen am 2. August 2014.
  2. Hochspringen↑ Vitus Wey, Martin Hüppi: Das Löwendenkmal in Luzern. Abgerufen am 25. Februar 2014 (PDF).
  3. Hochspringen↑ Dieter Ulrich: Schweizerisches Institut für Kunstwissenschaft (SIK): Eggenschwiler, Urs Pankraz. Abgerufen am 19. November 2014.