ข้ามไปเนื้อหา

อนุสาวรีย์วีรชน

พิกัด: 39°54′11″N 116°23′30″E / 39.90306°N 116.39167°E / 39.90306; 116.39167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสาวรีย์วีรชน
人民英雄纪念碑
เหรินหมินอิงสฺยงจี้เนี่ยนเปย์
อนุสาวรีย์วีรชน
แผนที่
พิกัด39°54′11″N 116°23′30″E / 39.90306°N 116.39167°E / 39.90306; 116.39167
ที่ตั้งทิศใต้ของจัตุรัสเทียนอันเหมิน, ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้ออกแบบเหลียง ซือเฉิง (梁思成), หลิน ฮุ่ยหยิน (林徽因)
วัสดุหินอ่อน, หินแกรนิต
ความสูง38 เมตร
เริ่มก่อสร้างสิงหาคม ค.ศ. 1952
สร้างเสร็จพฤษภาคม ค.ศ. 1958
อุทิศแด่ทหารผ่านศึกในสงครามจีน ค.ศ. 1842–1949

อนุสาวรีย์วีรชน (จีน: 人民英雄纪念碑; พินอิน: Rénmín Yīngxióng Jìniànbēi) เป็นเสาโอเบลิสก์สูง 10 ชั้นที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติของจีน เพื่ออุทิศให้กับผู้พลีชีพในการต่อสู้เพื่อการปฏิวัติในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง สร้างขึ้นตามมติของการประชุมเต็มคณะครั้งแรกของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน ลงนามรับรองเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1952 จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1958 สถาปนิกของอนุสาวรีย์คือ เหลียง ซือเฉิง (梁思成) โดยมีองค์ประกอบบางส่วนที่ออกแบบโดย หลิน ฮุ่ยหยิน (林徽因) ภรรยาของเขา วิศวกรโยธา เฉิน จื้อเต๋อ (陈志德) มีส่วนสำคัญในการทำให้การออกแบบสำเร็จในขั้นสุดท้าย[1]

อนุสาวรีย์วีรชนยังทำหน้าที่เป็นจัดกิจกรรมการไว้ทุกข์ขนาดใหญ่ซึ่งต่อมากลายเป็นการประท้วงและความไม่สงบ เช่น การเสียชีวิตของอดีตนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล (ซึ่งต่อมาเป็น กรณีเทียนอันเหมินในปี 1976 ) และ หู เหยาปัง (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ซึ่งอ้างว่าเป็นขบวนการต่อต้านรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในขณะนั้น)

การออกแบบและก่อสร้าง

[แก้]

อนุสาวรีย์มีความสูง 37.94 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร มีน้ำหนักมากกว่า 10,000 ตัน ทำจากหินอ่อนและหินแกรนิตประมาณ 17,000 ชิ้นจากชิงเต่า มณฑลซานตง รวมทั้งจากเขตฝางซานที่อยู่ใกล้เคียง

บนฐานของอนุสาวรีย์เป็นภาพนูนต่ำขนาดใหญ่ที่แสดงตอนสำคัญๆ แปดตอนของการปฏิวัติ ซึ่งสามารถอ่านตามลำดับเวลาตามเข็มนาฬิกาจากทิศตะวันออก:

  1. การทำลายฝิ่นที่หูเหมิน (ค.ศ. 1839) ในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง
  2. การจลาจลที่จินเทียน ส่วนหนึ่งของการกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว (ค.ศ. 1851)
  3. การก่อการกำเริบที่อู่ชาง ส่วนหนึ่งของการปฏิวัติซินไฮ่ (ค.ศ. 1911)
  4. ขบวนการ 4 พฤษภาคม (ค.ศ. 1919)
  5. ขบวนการ 30 พฤษภาคม (ค.ศ. 1925)
  6. การลุกฮือที่หนานชาง (ค.ศ. 1927)
  7. สงครามต่อต้านญี่ปุ่น (ค.ศ. 1931-1945)
  8. การต่อสู้ข้ามแม่น้ำแยงซี ในช่วงสงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1949)
ข้อความจารึกด้วยลายมือของเหมา เจ๋อตง"ความรุ่งโรจน์ชั่วนิรันดร์แด่วีรชน"

ที่ด้านหน้าของอนุสาวรีย์มีข้อความจารึกด้วยลายมือของประธานเหมาเจ๋อตง ซึ่งอ่านว่า "ความรุ่งโรจน์ชั่วนิรันดร์แด่วีรชน" (จีน: 人民英雄永垂不朽; พินอิน: Rénmín yīngxióng yǒngchuí bùxiǔ)

คำจารึกทองคำ

ด้านหลังของอนุสาวรีย์มีคำจารึกโดยเหมาเจ๋อตุง ความว่า

ความรุ่งโรจน์อันเป็นอมตะแก่วีรชนผู้สละชีวิตในสงครามปลดแอกประชาชนและการปฏิวัติในช่วงสามปีที่ผ่านมา!
เกียรติอันเป็นอมตะแด่วีรชนผู้สละชีวิตในสงครามปลดแอกประชาชนและการปฏิวัติในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา!
ความรุ่งโรจน์อันเป็นอมตะของวีรชน นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1840 ที่ได้สละชีวิตในการต่อสู้หลายครั้งเพื่อต่อต้านศัตรูทั้งในและต่างประเทศ เพื่อต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติและของ เสรีภาพของประชาชน!

กรอบเวลาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1840 มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีนที่เริ่มต้นจากสงครามฝิ่น ดังนั้นจึงกำหนดกรอบช่วงเวลาของทศวรรษที่ 1840 ถึง 1940 ว่าเป็นศตวรรษที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมและปฏิวัติ

การจัดกิจกรรมรำลึก

[แก้]
อนุสาวรีย์วีนชนตอนกลางคืน

การจัดกิจกรรมรำลึกที่อนุสาวรีย์วีรชนอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงานบริหารเหตุการณ์สำคัญของคณะกรรมการบริหารพื้นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน กฎที่เข้มงวดนำถูกนำไปใช้ในการดำเนินการในบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์ นับตั้งแต่การประท้วงในปี 2532 (ซึ่งอนุสาวรีย์เป็นจุดรวมพลของผู้ประท้วง) รัฐบาลได้สั่งห้ามไม่ให้ปีนอนุสาวรีย์เกินกำแพงป้องกันโดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้า เช่นเดียวกับการถ่ายภาพและการถ่ายวิดีโอ ปัจจุบันผู้ประสงค์จะวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ต้องแจ้งคณะกรรมการล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพันธมิตรทางประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น ประเทศในยุคหลังโซเวียต เพื่อวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์เมื่อมาเยือนปักกิ่ง บางหน่วยงานในประเทศ เช่น ตำรวจและทหาร บางครั้งจะวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Monument to the People's Heroes". news.sohu.com (ภาษาจีน). 2009-08-07. สืบค้นเมื่อ 2021-07-28.