อนิเมะไซโมเอะทัวร์นาเมนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนิเมะไซโมเอะทัวร์นาเมนต์ (ญี่ปุ่น: アニメ最萌トーナメントโรมาจิAnime Saimoe Tōnamento) หรือ ไซโมเอะ เป็นการแข่งขันโหวตตัวละครการ์ตูนในอนิเมะที่มีความโมเอะมากที่สุด โดยเป็นการโหวตแบบออนไลน์ จัดโดยเว็บบอร์ด 2channel จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545

กติกาการแข่งขัน[แก้]

อนิเมะไซโมเอะทัวร์นาเมนต์เป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกเพื่อค้นหาตัวละครที่โมเอะที่สุดในจำนวนผู้เข้าแข่งขันหลายพันตัวละครจากอนิเมะที่ออกฉายในช่วงรอบปีที่ผ่านมา กฎและกติกาในแต่ละปีจะคล้ายคลึงกัน แต่กติกาย่อยจะปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในแต่ละปี สำหรับการแข่งขันประจำปี พ.ศ. 2551 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน และจะไปจบในวันที่ 2 พฤศจิกายนนั้น จะดำเนินการไปดังต่อไปนี้[1]

  1. รอบเสนอชื่อ: ผู้ใช้ในเว็บบอร์ด 2channel จะเสนอตัวละครที่จะเข้าแข่งขันในแต่ละปี โดยตัวละครที่จะเข้าแข่งได้จะต้องปรากฏตัวในอนิเมะ โอวีเอ หรือภาพยนตร์แอนิเมชันที่ออกฉายตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 จนถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยแบ่งการเสนอชื่อเป็นกลุ่ม ๆ ตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องในภาษาญี่ปุ่น
  2. รอบคัดเลือก: ตัวละครที่ถูกเสนอชื่อทั้งหมดที่ผ่านการตรวจสอบแล้วประมาณ 3,000 ตัว[2] จะถูกแบ่งออกเป็น 20 กลุ่ม และเปิดให้ลงคะแนนในแต่ละกลุ่มในเวลา 1 วันต่อเนื่องกันไป ซึ่งผู้ลงคะแนนจะสามารถลงคะแนนให้กับตัวละครในกลุ่มนั้นได้ 9 ตัวละคร เมื่อสิ้นสุดการลงคะแนน 9 ตัวละครที่มีคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก ส่วนลำดับที่ 10 ถึง 30 ในแต่ละกลุ่มจะเข้าสู่รอบแก้ตัว[3]
  3. รอบแก้ตัว: ตัวละคร 420 (21 x 20) ตัว จากรอบคัดเลือกจะถูกจัดแบ่งกลุ่มใหม่เป็น 12 กลุ่ม เปิดให้ลงคะแนนในแต่ละกลุ่มในเวลา 1 วันต่อเนื่องกันไป ซึ่งผู้ลงคะแนนจะสามารถลงคะแนนให้กับตัวละครในแต่ละกลุ่มได้ 9 ตัวละคร เมื่อสิ้นสุดการลงคะแนน 9 ตัวละครที่มีคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก[3]
  4. รอบแพ้คัดออก: ตัวละคร 288 ตัวที่ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกจะถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 36 ตัวละคร และเข้าสู่รอบแพ้คัดออกซึ่งในสองรอบแรกจะเป็นการแข่งขันแบบสามเส้า (ใน 3 ตัวละครจะมีเพียงตัวละครเดียวที่จะได้เข้ารอบ) ผู้ลงคะแนนจะสามารถลงคะแนนให้กับตัวละครได้เพียงตัวเดียวในแต่ละการแข่งขัน ในแต่ละวันจะเปิดให้ผู้ลงคะแนนได้ลงคะแนนในสามการแข่งขันในแต่ละกลุ่ม ส่วนในรอบที่สามและสี่จะเป็นการแข่งขันแบบตัวต่อตัว (ใน 2 ตัวละครจะมีเพียงตัวละครเดียวที่จะได้เข้ารอบ) ผู้ชนะของรอบที่สี่จะถือเป็นแชมป์กลุ่ม และได้เข้าสู่รอบแปดคนสุดท้าย
  5. รอบแปดคนสุดท้าย: ตัวละคร 8 ตัว ที่เป็นแชมป์กลุ่มจะถูกประกบสายใหม่ในแบบแพ้คัดออกตัวต่อตัว ผู้ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ผู้ชนะเลิศในปีนั้น ๆ

ในกรณีที่เสมอกัน ทุกตัวละครที่ได้ผลเสมอกันในตำแหน่งที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้ารอบไปทั้งหมด จึงอาจจะมีตัวละครที่เข้ารอบแพ้คัดออกมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ ในบางกลุ่มในรอบแรกจึงอาจจะเป็นการแข่งขันแบบสี่เส้า (ใน 4 ตัวละครจะมีเพียงตัวละครเดียวที่จะได้เข้ารอบ) เพื่อรองรับตัวละครที่ถูกเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษนี้

แม้ว่ากระบวนการลงคะแนนจะเป็นกระบวนการหลักของไซโมเอะ แต่ว่าทางผู้จัดการแข่งขันพยายามที่จะให้ผู้ลงคะแนนให้อะไรมากกว่าการลงคะแนนเสียง เช่นการพยายามบรรยายความรู้สึกโมเอะของตัวเองต่อตัวละครที่ลงคะแนนไปด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือภาพ วิดีโอ นิยาย หรือสื่ออื่น ๆ ที่ช่วยบรรยายความโมเอะออกมาได้[4]

ผลการแข่งขัน[แก้]

ผลตัวละครที่เข้ารอบ 8 คนสุดท้ายในการแข่งขันแต่ละปี โดยในวงเล็บคือชื่อการ์ตูน

ปี ค.ศ. ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3 - 4 อันดับ 5 - 8
2002[5] คิโนโมโตะ ซากุระ (ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์) คาซุกะ อายูมุ (โรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อ)
  • ฮานาโอกะ อิซามิ (Soar High! Isami)
  • โคซุกิ มิยุ (สื่อรักจากต่างดาว)
  • ชิอินะ สึบาสะ (Figure 17)
  • อุเอะมัตสึ โคโบชิ (Pita-Ten)
2003[6] ฮาราดะ ริคุ (ดี.เอ็น.แองเจิ้ล) ฮาระ โมโตโกะ (Gunparade March)
  • คิคุ #8 (Wandaba Style)
  • ฮอนโจว มิคาเซะ (สตราทอสโฟร์)
  • นาเอะกิโนะ โซระ (Kaleido Star)
  • ชิโนะซุกะ อาราชิ (Gad Guard)
2004[7] โรสแมรี่ แอปเปิลฟิลด์ (Ashita no Nadja) นัดจา แอปเปิลฟิลด์ (Ashita no Nadja)
  • ลูน่า (habited Planet Survive!)
  • มิซุกิ ไมอะ (Daphne in the Brilliant Blue)
2005[8] ทาคามาจิ นาโนฮะ (สาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ) โซเซเซกิ (โรเซน เมเดน)
2006[9] ซุยเซเซกิ (โรเซ่น ไมเด้น ทรอเมนด์) เฟท เทสทารอสซ่า (สาวน้อย จอมเวทย์ นาโนฮะ เอส์)
2007[10] ฟุรุเดะ ริกะ (แว่วเสียงเรไร) ซันเซนอิง นางิ (ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน)
2008[11] ฮิอิรากิ คางามิ (ลัคกี้ สตาร์) ฮิอิรากิ สึคาสะ (ลัคกี้ สตาร์)
2009 ไอซากะ ไทกะ (โทระโดระ! ยายเสือใสกับนายหน้าโหด) ฮิราซาว่า ยูอิ (เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว)
2010 นากาโนะ อาซึสะ (เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว) ซันเซนอิง นางิ (ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ซีซั่น 2)
2011

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Anime Saimoe Tournament 2008 official site" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 26 ส.ค. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Preliminary round I results" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 6 ส.ค. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-10. สืบค้นเมื่อ 26 ส.ค. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Anime Saimoe Tournament 2008 official site" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2 ก.พ. 2551. (ญี่ปุ่น: 最萌は単なる投票行為ではありません 萌え文や支援などの交流を通して(*´Д`)はぁーんして下さいโรมาจิSaimoe is not just a poll. Please enjoy yourself by exchanging moe phrases and supporting material) {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Saimoe 2002". 2ch. 2002-09-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-17. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Saimoe 2003". 2ch. 2003-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-21. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "Saimoe 2004". 2ch. 2004-09-26. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "Saimoe 2005". 2ch. 2005-11-13. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Saimoe 2006". 2ch. 2006-10-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-20. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Saimoe 2007". 2ch. 11 ส.ค. 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 11 ส.ค. 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Saimoe 2008". 2ch. 12 ก.ค. 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-18. สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]