อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
หัวข้อของชีวประวัตินี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไปหรือบทความบุคคล (มีนาคม 2562) |
อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) ปริญญาโท (ภาษาบาลี) และปริญญาเอก (ภาษาไทย) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อนันต์ มีความรู้ ความสนใจพิเศษในภาษาตะวันออกหลายภาษา เช่น ภาษาบาลี, สันสกฤต, ภาษาจีน, ภาษาเขมร, ภาษามลายู โดยเฉพาะในส่วนที่สัมพันธ์กับภาษาไทย และมีความสนใจศึกษาถึงวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น ชาวอินเดีย, ชาวไท มีผลงานด้านวิชาการที่เป็นการอธิบายศัพท์และสำนวนภาษาต่าง ๆ ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2547
ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2551 ดร.อนันต์เป็นหนึ่งในคณาจารย์ที่คัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ไม่นาน ดร.อนันต์เป็นผู้นำนักวิชาการหลายคนเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่บ้านสี่เสาเทเวศน์ เพื่อเยี่ยมคารวะให้กำลังใจและขอคำปรึกษาในการแก้ไขวิกฤตปัญหาบ้านเมือง
ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ดร.อนันต์ขึ้นเวทีปราศรัยในฐานะเป็นวิทยากรรับเชิญของ "รายการรู้ทันประเทศไทย" ของ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง วิเคราะห์คำพูด คำศัพท์ และการใช้ภาษาของนักการเมืองฝ่ายที่สนับสนุน ทักษิณ หลายคน เช่น จักรภพ เพ็ญแข, สมัคร สุนทรเวช หรือแม้แต่ตัว ทักษิณ ชินวัตร เอง หลายต่อหลายครั้ง
อ้างอิง[แก้]
- "ป๋าเปรม" เปิดเบ้านสี่เสาฯ รับ 20 นักวิชาการ คุยชั่วโมงครึ่ง
- หนังสือรู้ทันภาษา รู้ทันการเมือง โดย สำนักพิมพ์ฃอคิดด้วยฅน (พ.ศ. 2547) ISBN 974-92552-6-7
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นักภาษาชำแหละ“โฟนอินแม้ว”ตรรกะสุดเพี้ยน-โกหกอ้อนสาวก
- “เจิมศักดิ์” รู้สันดาน “หมัก” ป้ายสีกลบเกลื่อน กม.สลายพันธมิตรฯ
- ถอดรหัส “เพ็ญ” ใช้เทคนิคคำพูดกระทบสถาบัน - จงใจข่ม “ป๋า” เชิดชู “แม้ว”
- บุคคลที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ from มีนาคม 2562
- บุคคลทั้งหมดที่ไม่ได้อธิบายความสำคัญ
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายจีน