หาน เฟย์ จื่อ
หาน เฟย์ | |
---|---|
เกิด | ไม่ทราบ, ราว 280 ปีก่อนคริสตกาล รัฐหาน, ราชวงศ์โจว |
เสียชีวิต | 233 ปีก่อนคริสตกาล รัฐฉิน |
สาเหตุเสียชีวิต | ถูกบังคับให้ดื่มยาพิษตาย |
ผลงานเด่น | หาน เฟย์ จื่อ |
ยุค | ปรัชญาโบราณ |
แนวทาง | ปรัชญาจีน |
สำนัก | ฝ่าเจีย |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
เป็นอิทธิพลต่อ |
หาน เฟย์ (จีนตัวย่อ: 韩非; จีนตัวเต็ม: 韓非; พินอิน: Hán Fēi; ราว 280–233 ปีก่อนคริสตกาล) ยังเป็นที่รู้จักว่า หาน เฟย์ จื่อ (จีนตัวย่อ: 韩非子; จีนตัวเต็ม: 韓非子; พินอิน: Hán Fēi Zǐ) เป็นปรัชญาเมธีและรัฐบุรุษชาวจีน[2] จากสำนักฝ่าเจียในยุคจั้นกั๋ว และยังเป็นผู้ปกครองรัฐหาน[3] ถือเป็นบุคคลสำคัญที่เหมือนเสมือนสื่อแทนสำนักฝ่าเจีย สืบเนื่องจากงานประพันธ์ที่ใช้ชื่อเดียวกับตนเองว่า หาน เฟย์ จื่อ[4] ซึ่งเน้นยำถึงการนำกลวิธีของผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้ามาประยุกต์ใช้[5]
ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์จีน ระบุว่า ฉินฉื่อหฺวังตี้แห่งราชวงศ์ฉินทรงทำสงครามกับรัฐหานเพื่อจะได้ตัวหาน เฟย์ แต่สุดท้ายแล้วมีผู้ทูลให้ทรงจำคุกเขาเสีย เป็นเหตุให้เขาฆ่าตัวตาย[6] เมื่อสิ้นรัฐฉินแล้ว สำนักฝ่าเจียก็กลายเป็นที่หยามเหยียดของราชวงศ์ฮั่นที่เข้าสืบอำนาจต่อ แต่แม้สำนักฝ่าเจียจะไม่เป็นที่ยอมรับตลอดมาในประวัติศาสตร์จีน ทฤษฎีทางการเมืองของหาน เฟย์ และของสำนักนี้ก็ยังมีอิทธิพลสูงในทุก ๆ ราชวงศ์ถัดนั้นมา[5]
แนวคิดของหาน เฟย์ นั้น ประกอบด้วยการมุ่งเน้นกฎหมาย ซึ่งนำหลักการมาจากแนวคิดของชาง ยาง และการมุ่งเน้นกลไกการปกครอง ซึ่งนำหลักการมาจากแนวคิดของเชิน ปู้ไห่ โดยย้ำว่า ผู้ปกครองจะควบคุมรัฐได้อย่างมั่นคงก็ด้วยการศึกษาให้แตกฉานในกลวิธีของผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า ซึ่งหมายถึง การใช้กำลังอำนาจ กลวิธี และกฎหมายของเขาเหล่านั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Leader Taps into Chinese Classics in Seeking to Cement Power". The New York Times. 12 October 2014.
- ↑ 2018 Henrique Schneider. p.1. An Introduction to Hanfei's Political Philosophy: The Way of the Ruler.
- ↑ Watson, Burton (2003). Han Feizi – Basic Writings. Columbia University Press. p. 2. ISBN 9780231521321. OCLC 796815905.
- ↑ "Han Feizi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-08. สืบค้นเมื่อ 2015-07-25.
- ↑ 5.0 5.1 Hàn Phi Tử, Vietnamese translation by Phan Ngọc, Nhà xuất bản Văn học, HCMC 2011
- ↑ "The Biography of Han Fei Tzŭ By Ssŭ-ma Ch'ien" chapter of The Complete Works of Han Fei Tzu, translated by W.K. Liao, 1939, reprinted by Arthur Probsthain, 1959.