หาดยูทาห์
หาดยูทาห์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี | |||||||
ทหารสหรัฐกำลังยกพลขึ้นบกที่หาดยูทาห์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
Germany | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Raymond O. Barton | Karl-Wilhelm von Schlieben | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
Beach Air drops |
| ||||||
กำลัง | |||||||
12,320[3] | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
Unknown |
ยูทาห์ เป็นที่รู้จักกันดีคือ หาดยูทาห์ เป็นรหัสนามสำหรับหนึ่งในห้าส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ารุกฝรั่งเศสภายใต้การยึดครองของเยอรมันในการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 (ดีเดย์) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สุดทางด้านตะวันตกของทั้งห้าส่วนรหัสนามของการยกพลขึ้นบกชายหาดนอร์ม็องดี ยูทาห์อยู่บนคาบสมุทรโคเทนติน ทางตะวันตกของปากทางแม่น้ำ Douve และ Vire การยกพลสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกที่ยูทาห์ได้ทำหน้าที่โดยกองกำลังทหารแห่งกองทัพสหรัฐ ด้วยการขนส่งทางทะเล การระดมยิงปินใหญ่ของกองเรือที่ดำเนินการโดยกองทัพเรือสหรัฐและหน่วยป้องกันชายฝั่ง เช่นเดียวกับส่วนหนึ่งจากกองทัพเรืออังกฤษ ดัตช์ และฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นๆ
วัตถุประสงค์ที่ยูทาห์เป็นการรักษาหัวหาดบนคาบสมุทรโคเทนติน ที่ตั้งเป็นท่าเรือที่สำคัญในแชร์บัวก์ การจู่โจมสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ส่วนใหญ่โดยกองพลทหารราบที่ 4 แห่งสหรัฐและกองพันรถถังที่ 7 ได้รับการสนับสนุนโดยการโดดร่มลงสู่พื้นโดยกองพลทหารโดดร่มที่ 82 และ ที่ 101 ความมุ่งหมายที่จะปิดล้อมคาบสมุทรโคเทนตินอย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้เยอรมันมาเสริมกำลังที่แชร์บัวก์ และเข้ายึดท่าเรือให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ยูทาห์พร้อมกับสวอร์ดบนปีกตะวันออก ได้ถูกเพิ่มเข้าไปในแผนการรุกรานในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1943 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นสองเท่าของการรุกรานและความจำเป็นที่ต้องล่าช้านานเป็นเดือนเพื่อเพิ่มเรือยกพลขึ้นบกและคนที่สามารถจะรวบรวมได้ในอังกฤษ กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าโจมตียูทาห์ต้องเผชิญกับสองกองพันของกรมทหารแกรนาเดียร์ที่ 919 ส่วนหนึ่งของกองพลทหารราบสตาติกที่ 709 ในขณะที่การปรับปรุงป้อมปราการได้รับการอนุมัติโดยภายใต้การนำโดยจอมพล แอร์วิน รอมเมิล ได้เริ่มต้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943 กองกำลังทหารที่ได้รับมอบหมายให้ทำการปกป้องพื้นที่บริเวณนั้นส่วนใหญ่เป็นทหารเกณฑ์ที่ไม่ใช่ชาวเยอรมัน
ดีเดย์ที่ยูทาห์ เริ่มต้นที่เวลา 1 นาฬิกา 30 นาที เมื่อช่วงแรกของหน่วยทหารโดดร่มได้เดินทางถึง ภารกิจด้วยการรักษาทางแยกที่สำคัญที่ Sainte-Mère-Église และการควบคุมเส้นทางหลวงผ่านทุ่งนาที่ถูกน้ำท่วมหลังยูทาห์เพื่อให้ทหารราบสามารถเข้ารุกในประเทศได้ ในขณะที่เป้าหมายของทหารโดดร่มบางส่วนจะได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทหารพลโดดร่มหลายนายได้ออกจากพื้นที่ดรอปและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในวันแรก บนชายหาดนั้น ทหารราบและรถถังได้ลงจอดในสี่ระลอก เริ่มต้นที่เวลา 6 นาฬิกา 30 นาที และรักษาความปลอดภัยในพื้นที่อย่างรวดเร็วโดยมีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด ในขณะเดียวกัน ทหารช่างวิศวกรได้ดำเนินการเคลียร์พื้นที่ของสิ่งกีดขวางและทุ่นระเบิด และยังคงมีการเสริมกำลังเพิ่มเติมอีก เมื่อใกล้ถึงดีเดย์ กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ที่ได้วางแผนเอาไว้และเหล่าทหารของฝ่ายป้องกันเยอรมันยังคงอยู่ แต่หัวหาดปลอดภัย
กองพลทหารราบที่ 4 ได้ลงจอดด้วยจำนวนทหาร 21,000นายบนยูทาห์ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนเพียง นาย พลทหารโดดร่มที่ได้เดินทางมาถึงด้วยร่มชูชีพและเครื่องร่อนจำนวนที่เพิ่มขึ้นอีก 2พันกว่านาย นาย ด้วยผู้เสียชีวิตจำนวน 2,500 นาย ประมาณ 700 นายได้สูญหายในหน่วยช่างวิศวกร กองพันรถถังที่ 70 และเรือขนส่งได้ถูกจมลงโดยศัตรู ความสูญเสียของเยอรมันนั้นยังไม่ทราบ แชร์บัวก์ถูกยึดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน แต่คราวนี้เยอรมันได้ทำลายท่าเรือ ซึ่งไม่ได้นำกลับมาเข้าสู่ปฏิบัติการเต็มรูปแบบจนถึงเดือนกันยายน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Whitmarsh 2009, p. 51.
- ↑ Balkoski 2005, p. 325.
- ↑ Ford & Zaloga 2009, p. 118.
- ↑ Ford & Zaloga 2009, p. 165.
- ↑ Balkoski 2005, p. 331.
- ↑ Balkoski 2005, p. 330-331.