หัวฆ้อนกระแต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวฆ้อนกระแต
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
สกุล: Premna
สปีชีส์: P.  herbacea
ชื่อทวินาม
Premna herbacea
L.

หัวฆ้อนกระแต ชื่อวิทยาศาสตร์: Premna herbacea Roxb. เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae ชื่ออื่นๆคือ หัวข้าวเย็นใต้ ยาข้าวเย็น (อุบลราชธานี) ละครโคก (ภาคตะวันออก)เป็นไม้พุ่ม กิ่งมีขนสั้น สีขาวอมน้ำตาลหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนมีขนสั้นสีขาวอมน้ำตาลกระจายทั่วแผ่นใบ ด้านบนมีต่อมขนาดเล็กสีเหลือง และขนสั้นขึ้นบริเวณเส้นใบ ก้านใบ สั้นมาก ช่อดอก แบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง รูปถ้วย หลอดกลีบดอก แฉกกลีบเลี้ยง มี 5 แฉก ขนาดใกล้เคียงกัน รูปไข่ ปลายมน ขอบเรียบมีขนสั้น ผิวด้านนอกมีขนสั้นและต่อมสีเหลืองขนาดเล็ก ด้านในมีต่อมสีเหลืองขนาดเล็กกลีบดอก สีเหลืองอ่อน แฉกกลีบดอก มี 4 แฉก รูปกึ่งปากเปิด ผิวด้านนอกมีขนสั้นทั่วไป ด้านในเกือบเกลี้ยง หรือมีขนสั้นขนาดเล็ก เกสรเพศผู้ มี 4 อัน ขนาดใกล้เคียงกัน ติดบนกลีบดอกสลับกับแฉกกลีบดอกที่ระดับเดียวกัน รูปไข่แกมรี แตกตามยาว เกสรเพศเมีย มีรังไข่รูปกลม มีรอยเว้าตื้น ผิวเกลี้ยง ผลย่อย รูปไข่ [1]

หัวฆ้อนกระแตเป็นพืชสมุนไพร ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ หรือเข้ายาแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ชาวไทยอีสานใช้ ราก ผสมกับสมุนไพรอื่นต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง รักษากามโรค ราก ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษาแผลเรื้อรัง ทางภาคกลางของไทย ใช้รากต้มผสมกับสมุนไพรอื่น ใช้รักษามะเร็งเช่นกัน[2]

อ้างอิง[แก้]